วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮ์ อัฏ-เฏาะลาก - ซุฟอัม อุษมาน



ฟังทาง SoundCloud ที่นี่


ตอนที่ 1 
- ชวนคิดถึงเหตุผลที่ว่าอัลกุรอานต้องมีสูเราะฮฺหนึ่งที่ว่าด้วยการหย่าร้าง
- อิสลามสนับสนุนให้ผู้ปกครองจัดการแต่งงานลูกสาวลูกบ่าวของตน
- ตรงกันข้ามกับการแต่งงานคือการหย่าร้าง 
- การหย่าร้างเป็นหนึ่งในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความต้องการและความจำเป็นของมนุษย์
- ฟิฏเราะฮฺของมนุษย์ว่าด้วยการมีคู่
- บทบัญญัติว่าด้วยการหย่าร้างควบคู่กับการแต่งงาน เพื่อตอบสนองความเป็นจริงในการใช้ชีวิตของมนุษย์
- โดยดั้งเดิมแล้วการหย่าร้างเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺรังเกียจ แต่พระองค์ก็ทรงบัญญัติมันเพราะเวลาถึงคราวที่จำเป็นมนุษย์ต้องใช้มัน
- ชัยฏอนต้องการให้มนุษย์แตกแยก รวมทั้งการหย่าร้างระหว่างสามีภรรยา
- สาเหตุอะไรบ้างที่มนุษย์เกิดการหย่าร้างระหว่างสามีภรรยา
- หิกมะฮฺหรือเหตุผลที่อัลกุรอานบอกว่าอัลลอฮฺสร้างทั้งความรักและความเมตตาในตัวสามีภรรยา
- เมื่อความรักเหือดแห้ง ความเมตตายังคงต้องมีไว้
- สิทธิการหย่าเป็นของผู้ชาย เขาจึงต้องมีสติและควบคุมตัวเองให้อยู่
- อายะฮฺแรกของสูเราะฮฺสื่อถึงการต้องมีสติและไม่ผลีผลามที่จะหย่าร้างภรรยา
- การหย่าร้างต้องกระทำในช่วงเวลาที่ถูกต้อง 
- การหย่าร้างมีสองประเภท คือ เฏาะลากแบบสุนนะฮฺ และ เฏาะลากแบบบิดอะฮฺ
- ช่วงเวลาที่อนุญาตให้เฏาะลาก หรือเฏาะลากสุนนะฮฺ คือ 
- หนึ่ง การเฏาะลากตอนที่ภรรยาปราศจากประจำเดือนและสามียังไม่ได้ร่วมหลับนอนกับนางในช่วงนั้น
- สอง การเฏาะลากเมื่อทราบชัดเจนว่าภรรยาตั้งครรภ์ 
- เฏาะลากบิดอะฮฺ เป็นเฏาะลากที่ใช้ได้แต่เป็นพฤติกรรมที่หะรอม
- อัลลอฮฺห้ามการเฏาะลากพร่ำเพรื่อ
- คำสั่งตักวาต่ออัลลอฮฺเห็นชัดเจนมากในประเด็นเรื่องการหย่าร้าง
- พยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นก่อน และทำให้ช่องทางการหย่าร้างเป็นช่องทางที่เล็กมาก
- เหตุใดที่ห้ามเฏาะลากในช่วงที่ภรรยามีประจำเดือน
- การห้ามหย่าตอนผู้หญิงมีประจำเดือน เพื่อเป็นการให้เกียรติสูงสุดต่อสตรี 
- เมื่อหย่าแล้วก็ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงออกจากบ้านจนกว่าจะหมดอิดดะฮฺ
- อายะฮฺนี้จบท้ายด้วยการให้กำลังใจ หลังจากที่ได้อธิบายบทบัญญัติที่เข้มงวดเกี่ยวกับการหย่าก่อนหน้านี้
- นะศีหะฮฺปิดท้าย เป็นเกร็ดให้ชีวิตคู่อยู่กันอย่างราบรื่นตลอดไป 
- ความสัมพันธ์ระหว่างอะกีดะฮฺ ตักวา วะลาอ์บะรออ์ และการเฏาะลาก

ตอนที่ 2
- การหย่าร้างและภาพของความรุนแรงในมุมหนึ่งที่อิสลามพยายามจำกัดกรอบของมันให้แคบที่สุด
- รายละเอียดอายะฮฺที่พูดถึงการคืนดีก่อนที่จะหมดอิดดะฮฺในการหย่าร้าง
- หากจะคืนดีก็ต้องทำด้วยดี หรือหากจะหย่าร้างตัดขาดก็ต้องกระทำด้วยดี
- ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นถ้าทบทวนกันจริงๆ เนื่องจากเราไม่ได้ใช้บัญญัติของอัลลอฮฺ
- ประเด็นการให้มีพยานในการคืนดี การหย่า และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- หุกมของการให้มีพยานในการหย่าร้าง
- การมีหรือไม่มีพยานไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่จะถือว่าการหย่านั้นใช้ได้หรือไม่ เพราะทั้งสองกรณีถือว่าการหย่านั้นได้เกิดขึ้นแล้ว
- เหตุผลที่ต้องให้มีพยานในการคืนดีและการหย่า
- ความสัมพันธ์ของอีมานกับการสนองต่อคำสั่งของอัลลอฮฺและอื่นๆ ในชีวิตของผู้ศรัทธา
- การมีอีมานจะทำให้เราได้รับบทเรียนและรู้จักเรียงลำดับวิธีแก้ปัญหา
- ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอายะฮฺ 1000 ดีนาร์
- ตักวา คือตัวแปรต้นสำหรับทางออกทุกเรื่องในชีวิตของเรา
- ความสำคัญและความประเสริฐของอายะฮฺ "ผู้ใดที่ตักวาต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้เขามีทางออก"
- หะดีษว่าด้วยเคล็ดลับการหาทางออกให้กับปัญหาของชีวิต
- อัลลอฮฺทรงพอแล้วสำหรับเรา หมายถึงอะไร
- อัลลอฮฺกำหนดทุกอย่างไว้แล้วหมายถึงอะไร

ตอนที่ 3
- ต้อนรับ 10 วันแรกเดือนซุลหิจญะฮฺ
- สาเหตุที่ผู้คนปัจจุบันไม่เห็นความสำคัญของสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ
- การกุรบ่านหรือการอุฎหิยะฮฺ กับเรื่องราวของนบีอิบรอฮีม
- หัวใจของนบีอิบรอฮีม บทเรียนที่ประชาชาติอิสลามต้องทบทวน
- ครอบครัวของอิบรอฮีมทั้งพ่อแม่ลูก ในการเสียสละเพื่ออัลลอฮฺ
- อิดดะฮฺของหญิงถูกหย่าที่ไม่มีประจำเดือนแล้ว หญิงสาวที่ยังไม่มีประจำเดือน และหญิงที่ตั้งครรภ์
- คำสั่งตักวาที่คอยกำกับทั้งก่อนหย่า ระหว่างหย่างและหลังจากการหย่าร้างไปแล้ว
- หย่าร้างแบบตักวา ไม่ใช่หย่าร้างแบบฮาวานัฟซู
- คำสั่งและบทบัญญัติของอิสลามหลังจากมีการหย่าร้างกันแล้ว
- ห้ามสร้างความเดือนร้อนแก่ภรรยาที่ถูกหย่า ในระหว่างที่นางพำนักอยู่ในบ้านของเขา
- สามีต้องออกค่าใช้จ่ายให้กับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ที่เขาหย่า
- หากแม่ของเด็กต้องการให้นมลูกเอง สามีต้องออกค่าใช้จ่ายให้นางด้วย
- คำแนะนำของอัลลอฮฺแก่ครอบครัวที่หย่าร้างและมีภาระต้องเลี้ยงดูลูก แต่ไม่สามารถตกลงกันได้
- ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
- ถ้าผู้หญิงทำหน้าที่แม่อย่างเต็มที่นางจะดีกว่าผู้ชาย จะได้รับสิทธิความกตัญญูมากกว่าผู้ชายสองเท่า
- ในขณะที่ผู้ชายมีระดับที่ดีกว่าหนึ่งขั้น ถ้าเขาทำหน้าที่เลี้ยงดูและปกป้องดูแลครอบครัวอย่างดี
- อัลกุรอานกระตุ้นให้สามีออกค่าใช้จ่ายอย่างสมบูรณ์ตามที่เขามี และถ้าไม่มีก็ให้ออกตามความสามารถ
- ทัศนะของอิสลามว่าด้วยความยากและความง่าย
- บางครั้งอัลกุรอานก็บอกว่า พร้อมๆ กับความยากนั้นก็มีความง่ายอยู่
- และบางครั้งอัลกุรอานก็บอกว่าหลังจากความยากนั้นก็มีความง่ายตามมา
- สิ่งที่เราต้องทำก็คือ การออกแรงที่เป็นอัสบาบจากฝั่งเรา
- ในขณะที่อายะฮฺกำลังพูดถึงความตึงเครียดของปัญหาการหย่าร้าง อัลกุรอานก็ยังมีช่องให้กำลังใจแก่ผู้ศรัทธาทุกคน

ตอนที่ 4
- ตอนสุดท้ายของสูเราะฮฺมาเพื่อตอกย้ำให้เราเอาใจใส่ต่อบทบัญญัติและปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ
- ยกอุทาหรณ์ด้วยสภาพของประชาชาติก่อนหน้านี้ ที่ละเมิดคำสั่งของอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์
- การลงโทษของอัลลอฮฺนั้นหนักหน่วงยิ่ง ผู้ที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺจะมีแต่ความขาดทุน
- การขาดทุนที่น่ากลัวและชัดเจนที่สุดคือขาดทุนในอาคิเราะฮฺ
- เราลงทุนทุุกอย่างเพื่อครอบครัวแต่ถ้าหากมันไม่ได้ช่วยอะไรในอาคิเราะฮฺ จะมีอะไรที่ถือว่าขาดทุนมากกว่านี้อีก
- การลงโทษผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺจะไม่จบเฉพาะในดุนยาเท่านั้น
- ถ้าสมมุติว่าคนที่ดื้อด้านกับอัลลอฮฺต้องเจอทั้งบทลงโทษในดุนยาและอาคิเราะฮฺ เราก็ควรคิดได้แล้ว กลับตนสู่อัลลอฮฺได้แล้ว
- ระหว่างปัญญากับหัวใจมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
- อุลุลอัลบาบ ผู้มีปัญญาที่สามารถรับการศรัทธาต่ออัลลอฮฺได้
- เรื่องบางอย่างเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญา ไม่จำเป็นต้องทดลองเอง
- ตัวอย่างเรื่องราวต่างๆ ในอดีตย่อมต้องเป็นบทเรียนแก่ผู้มีปัญญา แต่เราเองที่ไม่ยอมใช้ปัญญา
- สนามแห่งการใช้ปัญญา คือ การใช้ปัญญาใคร่ครวญอัลกุรอาน
- ใช้ปัญญาบวกกับหัวใจ ในการเรียนอัลกุรอาน
- อัลกุรอานและเราะสูล อัลลอฮฺส่งมาเพื่อนำมนุษยชาติออกจากความมืดสู่แสงสว่าง
- ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ของชาวถ้ำ เรื่องราวต่างๆ ของชาวถ้ำในอิสลาม
- อัลกุรอานถูกประทานครั้งแรกในถ้ำ นูรของอัลลอฮฺลงมายังท่านนบีในถ้ำ
- ชีวิตที่ไม่มีศรัทธาต่ออัลลอฮฺอยู่ในความมืดมิดหลายชั้น ทั้้งในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ประชาชาติ
- นูร หรือแสงสว่างที่จะขจัดความมืดนั้นมีอันเดียวเท่านั้น คือนูรของอัลลอฮฺ
- ใครที่รับนูรของอัลลอฮฺและเป็นผู้ศรัทธาเขาจะได้เข้าสวรรค์
- ริสกีของอัลลอฮฺที่ดีที่สุดคือการตอบแทนในสวรรค์
- ริสกีความหมายของมันกว้างกว่าคำว่าเงิน แต่หมายถึงทุกอย่างที่มนุษย์ได้รับประโยชน์จากมัน
- จบอายะฮฺในสูเราะฮฺนี้ด้วยการอธิบายคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ
- เพราะอัลลอฮฺทรงเปี่ยมด้วยคุณลักษณะอันสมบูรณ์นี้เองเพราะจึงสร้างมัคลูกทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ และบัญญัติคำสั่งต่างๆ ที่สมบูรณ์เช่นกัน
- ที่ทรงสร้างชั้นฟ้ามา และทรงบัญญัติต่างๆ มา เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับอัลลอฮฺและยอมรับศรัทธาต่อพระองค์
- เพื่อให้เรารู้ว่าอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพและทรงรอบรู้ทุกอย่าง
- เหตุผลหรือหิกมะฮฺที่อายะฮฺนี้มากำกับหลังจากพูดถึงบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าร้าง
- เมื่อรู้จักอัลลอฮฺแล้ว ผ่านคุณลักษณะและพระนามต่างๆ ของพระองค์ จนนำไปสู่การมอบตนต่ออัลลอฮฺ นั่นแหละคือจุดประสงค์สุดท้ายที่อัลลอฮฺต้องการ
- แม้กระทั่งบทบัญญัติที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับการหย่าร้างยังเกี่ยวข้องกับการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ นับประสาอะไรกับเรื่องราวอื่นๆ ที่สำคัญกว่านี้ เรายิ่งจำเป็นต้องใช้คำสั่งของอัลลอฮฺ
- ถ้าถ้ำในใจของเรามีทางออกเป็นนูรของอัลลอฮฺ เราก็หวังว่าถ้ำของประชาชาติทุกวันนี้ก็ย่อมมีทางออกเป็นนูรของพระองค์เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น