วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาตัฟสีรฺ สูเราะฮฺ อัล-มุดดัษษิร




อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุดัษษิร และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดแปดตอน เป็นบทเรียนที่อัลลอฮฺได้สอนและฝึกฝนวิธีการเผยแพร่สัจธรรมแก่มวลมนุษย์ให้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เนื้อหาที่นำเสนอในสูเราะฮฺจะเน้นประเด็นการเตือนสำทับให้ศรัทธาในวันอาคิเราะฮฺและเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น และได้เล่าถึงผลตอบแทนอันชั่วร้ายของบรรดาผู้ที่ต่อต้านสัจธรรมและดื้อด้านต่อท่านนบี อีกทั้งได้เยาะเย้ยล้อเลียนการสั่งสอนของท่าน

คลิกฟังและดาวน์โหลดไฟล์เสียงจากเว็บอิสลามเฮ้าส์ ที่นี่.
https://islamhouse.com/th/audios/2816646/


สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 1

- ความสัมพันธ์ระหว่างสูเราะฮฺอัล-มุดัษษิรและอัล-มุซัมมิล ในการอธิบายของอิมามอัส-สะอฺดีย์

- อธิบายความหมายของคำว่าอินซารฺ

- เป้าประสงค์ของการอินซารฺและการดะอฺวะฮฺทั้งด้วยคำพูดหรือการกระทำ คือการเปลี่ยนสภาพที่ชั่วร้ายให้เป็นสภาพที่ดี

- หน้าที่การสนับสนุนความดีห้ามปรามความชั่วเป็นหน้าที่มุสลิมทุกคน แม้กระทั่งการเปลี่ยนด้วยหัวใจ

- พื้นฐานหน้าที่ของผู้ที่ทำงานในการอินซารฺตามที่อัลลอฮฺใช้สอนในสูเราะฮฺอัล-มุดัษษิร

- ความสวยงามของคำสอนอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานดะอฺวะฮฺ

- รูปลักษณ์ภายนอกก็มีความสำคัญต่อการทำงานไม่แพ้ปัจจัยภายใน




ตอนที่ 2

- อายะฮฺที่ 1 ถึง 7 เป็นกลุ่มอายะฮฺที่เป็นการฝึกฝนคุณลักษณะพื้นฐานของดาอีย์

- ทัศนคติของดาอีย์ต้องปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้สามารถเท่าทันที่จะรับมือการเผชิญหน้าอุปสรรคต่างๆ 

- ดาอีย์ไม่ควรเป็นหนี้บุญคุณคนอื่น เพื่อไม่ให้เกิดความอึดอัดและลำบากใจเวลาทำงานดะอฺวะฮฺ

- การอดทนด้วยอัลลอฮฺ และ เพื่ออัลลอฮฺ อธิบายรายละเอียดว่าด้วยการอดทนต่อสัญญาของอัลลอฮฺ

- เรื่องราวของเชคบินบาซกับเชคอับดุลลอฮฺ อัต-ตุรกีย์ 




ตอนที่ 3

- อัลกุรอาน คือตัวบำบัดความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายและไร้ค่าของชีวิต ท่ามกลางสังคมที่คนส่วนใหญ่ชอบอยู่ในโลกโซเชียล

- อัลกุรอานคือเพื่อนสนิท เป็นตัวบำบัดจิตใจของเราได้ตลอดเวลา

- เนื้อหาในการอินซารฺ คือการพูดถึงวันอาคิเราะฮฺ

- ความยุ่งยากในวันอาคิเราะฮฺ โดยเฉพาะบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา

- ผู้ศรัทธาจะได้รับความง่ายดาย ซึ่งสวนทางกับคนที่ไม่ศรัทธา

- ยกตัวอย่างสภาพความยุ่งยากในวันอาคิเราะฮฺ

- กล่าวถึงอัล-วะลีด บิน อัล-มุฆีเราะฮฺ คู่กรณีที่เป็นตัวบุคคลสำคัญซึ่งอัลลอฮฺเอามาอธิบายเรื่องราวของเขาในสูเราะฮฺนี้

- การตอบโต้ของอัลลอฮฺต่อกรณีการแข็งขืนดื้อด้านของอัล-วะลีด

- นี่คือตัวอย่างการอินซารในรูปแบบหนึ่ง จากหลายๆ วิธีการนำเสนอในอัลกุรอาน




ตอนที่ 4

- ความหลากหลายของตำราตัฟสีรที่ควรแก่การทบทวนและพยายามศึกษาให้มากที่สุด 

- กล่าวถึงการที่อัลลอฮฺประกาศจะทรงจัดการกับอัล-วะลีด ด้วยพระองค์เอง 

- ในเมื่อพระองค์เป็นผู้ให้อัล-วะลีดบังเกิดและมีทรัพย์สมบัติมากมาย พระองค์ก็ย่อมสามารถที่จะทำลายทุกอย่างเหล่านั้นได้ไม่ยาก

- เหตุใดคนอาหรับจึงชอบลูกชายและไม่ชอบลูกสาว

- ลักษณะการลงโทษที่อัลลอฮฺเตรียมไว้เฉพาะสำหรับคนที่โอหังเยี่ยงอัล-วะลีด

- เหตุการณ์ตัวอย่างที่กล่าวถึงความดื้อรั้นของอัล-วะลีด และสาเหตุที่อัลลอฮฺได้ลงโทษเขาอย่างสาสมกับพฤติกรรมของเขา

- เรื่องราวระหว่างอบู ญะฮัล กับ อัล-วะลีด 

- คำพูดของอัล-วะลีดต่อความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน 

- เหตุการณ์ที่อัล-วะลีดมีอาการเครียด เพื่อสรรหาคำพูดมากุเรื่องกล่าวหาอัลกุรอานและท่านนบีมุหัมมัด

- การกล่าวหาของพวกมุชริกีนว่าอัลกุรอานเป็นสิหิรฺ/หรือไสยศาสตร์ เป็นอาชญากรรมที่ใหญ่หลวงมาก

- คุณลักษณะของนรกสะก็อรฺที่จะใช้ลงโทษคนดื้อรั้นอย่างอัล-วะลีด




ตอนที่ 5

- เกริ่นนำเกี่ยวกับความประเสริฐของ 10 วันแรกเดือนซุลหิจญะฮฺ

- กล่าวถึงสภาพของบรรดาหุจญาตที่กำลังวุกูฟ ณ ทุ่งอะเราะฟาตที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน

- พูดถึงความดื้อรั้นของพวกมุชริกีนและการเยาะเย้ยด้วยการเอาเรื่องจำนวนมลาอิกะฮฺที่เฝ้านรกมาเป็นเรื่องขบขัน

- อายะฮฺที่ 31 เป็นการทดสอบหรือฟิตนะฮฺแก่พวกมุชริกีน

- มลาอิกะฮฺที่เฝ้านรกทั้ง 19 ท่านไม่ได้เป็นบุคคลเยี่ยงมนุษย์ 

- จะรู้จักความน่ากลัวและความใหญ่หลวงหนักหนาของนรกสะก็อร ต้องรู้จักข้อเท็จจริงของมะลาอิกะฮฺที่เฝ้ามัน

- คุณลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะลาอิกะฮฺและนรก

- ถ้าพวกกาฟิรรู้จักมะลาอิกะฮฺและนรกจริงๆ จะไม่พูดเยาะเย้ยดังกล่าว

- อายะฮฺนี้เป็นฟิตนะฮฺแก่กาฟิรฺ เพิ่มความมั่นใจแก่ชาวคัมภีร์ เพิ่มความศรัทธาแก่มุอ์มิน

- การพูดถึงนรกหรือประเด็นอากีดะฮฺจะต้องไม่ใช่แค่พูดถึงแค่ภายนอก 

แต่ต้องซึมซับบทเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและลึกซึ้งในศรัทธาด้วยการผูกโยงกับอาคิเราะฮฺให้มากที่สุด

- สรุปจุดหมายในการเรียนคือต้องการให้เราได้รับซิกรอ/บทเรียน และยิ่งกลัวอัลลอฮฺมากขึ้น




ตอนที่ 6

- การขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺรับจากทำงานของเราถึงแม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม 

- การขอให้อัลลอฮฺรับอะมัลของเรา ส่วนไหนที่แหว่งๆ หรือบกพร่อง ก็ขอให้อัลลอฮฺอภัยให้

- แง่คิดบางประการหลังจากเสร็จสิ้นพิธีหัจญ์และช่วงเวลาสิ้นปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช

- สรุปเรื่องมะลาอิกะฮฺผู้เฝ้านรกจากอายะฮฺฟิตยะฮฺก่อนหน้านี้

- การสาบานของอัลลอฮฺด้วยมัคลูกต่างๆ บางประการเพื่อลบล้างความคิดชั่วร้ายและมุมมองผิดๆ ของบรรดากาฟิรที่เยาะเย้ยและทำเล่นๆ กับนรก

- ความยิ่งใหญ่ของนรกมีไว้เพื่อเตือนมนุษย์ 

- หัวใจของมนุษย์ไม่มีอายุ หมายถึงอาจจะมีระดับเดียวกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ มันอาจจะมีแต่หัวใจที่อ่อนโยนกับแข็งกระด้างเท่านั้น

- ความหมายของการไปข้างหน้า และการถอยหลัง ที่อายะฮฺอัลกุรอานกล่าวถึง 

- อธิบายความเข้าใจเรื่องความต้องการของอัลลอฮฺกับความต้องการของมนุษย์

- ทุกชีวิตถูกจองจำด้วยอะมัลหรือมีหนี้ติดตัวที่จะต้องปลด ด้วยการศรัทธาและทำความดี

- เราจะปัดความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเองไม่ได้ 

- การปลดหนี้ที่หมายถึงเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ดูเป็นเรื่องหนักในความรู้สึกของคนที่ไม่ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

- อายะฮฺที่บอกว่ามนุษย์ติดหนี้กับอัลลอฮฺ มีนัยแห่งการเตือนสำทับมนุษย์ไว้ด้วย




ตอนที่ 7

- การนั่งชุมนุมและการพูดคุยกันเองระหว่างชาวสวรรค์ และระหว่างชาวนรก รวมถึงการสนทนาระหว่างชาวสรรค์กับชาวนรก

- สาเหตุที่ทำให้บุคคลต้องเข้านรกประการแรก คือ การละทิ้งการละหมาด

- อิทธิพลของการละหมาด ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างคนที่รักษาการละหมาดและผู้ที่ไม่รักษาการละหมาด

- การละหมาดคือวิธีการเอาชนะปัญหา และทางรอดสำหรับความทุกข์ยากในโลกดุนยา

- เหตุใดที่ผู้ที่ละทิ้งละหมาดจึงสมควรได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺ

- การละทิ้งละหมาดคืออาชญากรรมประการหนึ่งในทัศนะของอัลกุรอาน

- สาเหตุอีกประการหนึ่งทีทำให้บุคคลต้องรับการลงโทษในนรก ก็คือ การละเลยในการช่วยเหลือคนยากจน

- ละหมาดเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิทธิของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งต่างก็มีความสำคัญ

- ผู้ให้ต้องคิดว่าตัวเองมีความจำเป็นในการทำเศาะดะเกาะฮฺ มากกว่าคนที่มาขอรับมองว่าตัวเองจำเป็นต้องขอเศาะดะเกาะฮฺ

- ผู้ในเศาะดะเกาะฮฺควรต้องขอบคุณอัลลอฮฺถ้ามีคนมาขอเศาะดะเกาะฮฺกับเขา (พลิกมุมมอง นาที 24) 

- คนใกล้ตายอยากที่จะขอบริจาค มากกว่าที่จะทำอย่างอื่น เพราะอะไร?

- สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ตกนรก คือการอยู่ร่วมกันพวกที่ชอบทำเลว ทั้งในด้านคำพูดหรือการกระทำ

- ความมั่นใจจะเกิดขึ้นด้วยการอ่านอัลกุรอาน คำถามคือมีความกล้าไหมที่จะเรียนอัลกุรอาน 

- เหตุใดมนุษย์จึงไม่กล้าที่จะเรียนอัลกุรอาน




ตอนที่ 8

- ชาวนรกยอมรับถึงความผิดของตัวเองยามที่ต้องโทษในนรก

- อธิบายเงื่อนไขของการชะฟาอะฮฺในวันกิยามะฮฺ

- คนกาฟิรจะไม่มีวันจะได้รับชะฟาอะฮฺให้ออกจากนรกโดยเด็ดขาด

- บทกวีของอิมามชาฟิอีย์เกี่ยวกับการชะฟาอะฮฺ

- อัลกุรอานตั้งคำถามว่าเหตุใดบรรดากาฟิรจึงวิ่งหนีออกห่างจากความจริง

- การเปรียบเทียบสภาพของคนที่วิ่งหนีออกจากความจริง เหมือนสภาพของม้าลายที่วิ่งหนีจากสิงโตหรือนักล่า

- ข้ออ้างต่างๆ ของผู้ที่ไม่ยอมศรัทธาต่ออัลกุรอาน

- อัลกุรอานสามารถที่จะให้ประโยชน์กับผู้ศรัทธาได้ทุกคนแม้กระทั่งกับคนพิการ แต่บางคนกลับไม่ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอานเพราะไม่ได้ศรัทธา

- การศรัทธาคือกุญแจที่จะทำให้บุคคลได้เห็นคุณค่าอันมากมายในอัลกุรอาน

- เราเป็นผู้เลือกเองว่าเราจะเปลี่ยนแปลงกับอัลกุรอานหรือไม่ต้องการ

- ความแตกต่างระหว่างแนวคิดเกาะดะรียะฮฺและญะบะรียะฮฺ

- การเข้าใจตามอัลกุรอานจะทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ซับซ้อน

- ทำไมเมื่อพยายามแล้วจึงต้องขอดุอาอ์ หรือต้องทำด้วยพร้อมๆ กับการขอดุอาอ์

- อะไรคือความหมายจริงของคำว่ากลัวอัลลอฮฺหรือตักวาต่ออัลลอฮฺ