วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บุคลิกและลักษณะนิสัยอันสูงส่งของท่านนบีมุหัมมัด


สูเราะฮฺ อัล-เกาะลัม อายะฮฺที่ 4-6  ณ มัสยิดลีวาอุ้ลอิสลาม (ซอยบางชีเหล้า) จังหวัดภูเก็ต
 
- เหตุการณ์ที่ดูหมิ่นท่านนบี มีมาตั้งแต่ช่วงที่ท่านเริ่มเผยแพร่อิสลาม และจะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ

- กำหนดของอัลลอฮฺมีสองแบบ คือ เกาะดัรฺ เกานีย์ และ เกาะดัรฺ ชัรอีย์ พร้อมอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเภทนี้

- เหตุการณ์ต่าง ๆ และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตถือว่าเป็น เกาะดัรฺ เกานีย์ ในการตอบสนองหรือเผชิญหน้ากับมัน เราจำเป็นต้องใช้ เกาะดัรฺ ชัรอีย์

- บางครั้ง มุสลิมเองมักจะใช้อารมณ์ มาสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มากกว่าการกลับไปศึกษาการตอบสนอง ตอบโต้ ต่อกรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติในอิสลาม

-ศัตรูผู้ไม่หวังดีและเป็นปฏิปักษ์กับสัจธรรม ปรารถนาที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺด้วยปากของพวกเขา แต่อัลลอฮฺจะทรงเป็นผู้ทำให้รัศมีของพระองค์สมบูรณ์ แม้ว่าพวกปฏิเสธศรัทธาจะเกลียดชังก็ตาม

- คุลุก(เอกพจน์) หรือ อัคลาก(พหูพจน์) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังทางจิตวิญญาณ ผู้ใดมีมันอยู่ในครอบครอง ก็จะให้การทำความดีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างง่ายดายสำหรับเขา

- มารยาทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนต้องมีมารยาทที่ดี คนที่มีอีมานที่ดีที่สุดคือผู้ที่มีมารยาทที่ดีที่สุด

- มีคนถามท่านหญิงอาอีชะฮฺ ว่า "อะไรคือคุณลักษณะนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงจึงถามกลับว่า "ท่านอ่านกุรอานหรือเปล่า" เขาตอบว่า "ใช่" ท่านหญิงจึงตอบอีกว่า "บุคลิกลักษณะของท่านนบีก็คืออัลกุรอานนั่นแหละ"

- มารยาทหรือคุณลักษณะนิสัยของท่านนบีคือ อัลกุรอาน หมายถึง ทุกอย่างที่ อัลลอฮสั่งใช้ในอัลกุรอาน ท่านสามารถกระทำได้เลยโดยเสมือนว่าเป็นบุคลิกโดยปริยายของท่าน

- อย่าอ้างว่าเรารักนบี แต่ไม่อ่านกุรอาน

- ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีมารยาทที่ดีทีสุด ดังนั้นมุสลิมทุกคนก็ควรมีมารยาทดีดั่งเช่นท่าน โดยศึกษาจากอัลกุรอาน

- ท่านนบีได้รับการตัรบียะห์จากอัลลอฮฺด้วยอัลกุรอาน และท่านนบีก็ตัรบิยะฮฺเศาะหาบะฮฺด้วยอัลกุรอาน

- การวางตัวของท่านนบีที่มีต่อศัตรู เช่น เด็กยิวที่เป็นคนรับใช้ในบ้านท่านนบี ที่ถึงช่วงเวลาสุดท้ายของเขา ท่านนบีไปเยี่ยมเยียนและดะอฺวะฮฺให้เขารับอิสลาม

- การเผยแพร่ในสิ่งที่เป็นตัวตนและบุคลิกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า


ดาวน์โหลดไฟล์เสียงได้จาก https://soundcloud.com/abu-fairooz/the-prophet-muhammad-s-charecter

--------------------------
Credit : สรุปเนื้อหาโดย Facebook:  Kumobarick Ibnu Kuhussein และ Muhammadridwan BinJesoh

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุลก์ ตอนที่ 4

Credit: desktopwallpapers4.me

เนื้อหาตอนที่ 4 จากตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุลก์ ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ ดังนี้ :
  • การทำความเข้าใจกับอัลกุรอานซึ่งเป็นวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน 
  • อัลลอฮฺสร้างชีวิตมาเพื่อให้เป็นการทดสอบ เราไม่ได้เกิดมาด้วยความต้องการของตัวเอง จึงไม่ควรใช้ชีวิตตามใจตัวเอง แต่ควรจะต้องใช้ชีวิตให้ดีที่สุดตามที่อัลลอฮฺประสงค์
  • อธิบายเกณฑ์การทำอะมัลว่าควรทำให้ดีหรือควรทำให้เยอะ อันไหนดีกว่ากัน 
  • เงื่อนไขสองประการสำคัญในการทำอะมัลให้ดี
  • อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-อะซีซ และ อัล-เฆาะฟูร และความสัมพันธ์ระหว่างพระนามนี้กับความหวังและความกลัว และสภาพที่สมดุลในการใช้ชีวิตของการเป็นมนุษย์
  • “คนที่ไม่เตาบัตตัวเอง บางครั้งพระองค์ก็ยังทรงอภัย แล้วนับประสาอะไรกับคนที่เตาบัต” 
  • “ถ้ามนุษย์ไม่มีความกลัว ก็จะทำบาปไม่เว้นแต่ละวัน แต่ถ้ามนุษย์ไม่มีความหวัง ก็จะไม่มีกำลังใจที่จะทำความดี สองอย่างนี้มันต้องไปด้วยกัน”
  • อัลลอฮฺสอนมนุษย์ให้รู้จักชีวิตโดยไม่แยกสอน แต่จะบูรณาการ อาทิ สอนทั้งอะกีดะฮฺและสอนเกี่ยวกับธรรมชาติการสร้างสรรค์ของพระองค์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งมีภาคปฏิบัติที่เรียกร้องให้ลงมือทำด้วย
  • การเรียนแบบแยกสอนอาจจะทำให้ประสิทธิผลในการใช้ชีวิตบกพร่องไม่สมดุลและไม่ครอบคลุม
  • การเรียนตัฟซีรคือการเรียนที่สามารถบูรณาการได้ทุกแขนง ซึ่งเป็นวิถีการเรียนรู้ของบรรดาอุละมาอ์ในสมัยก่อน
  • การเรียนควรมีจุดประสงค์เพื่อการปฏิบัติจริง มิใช่หมกมุ่นเรียนรู้จนสุดโต่งโดยไม่หวังภาคปฏิบัติใดๆ
  • สาธยายประเด็นว่าด้วยชีวิตและความตาย เป็นความสวยงามในเชิงนามธรรมได้อย่างไร? 
  • ระหว่างความงามแบบนามธรรมและความงามแบบรูปธรรม ที่กล่าวถึงในต้นสูเราะฮฺ อัล-มุลก์
  • ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่เคยปฏิวัติความโง่เขลาของมนุษย์ในยุคการใช้ชีวิตแบบชาวทะเลทราย
  • พระนาม “อัร-เราะห์มาน” กับนัยบางประการที่อัลลอฮฺต้องการสื่อในการสร้างมัคลูกของพระองค์
  • ความเมตตาที่ซุกซ่อนอยู่ในทุกอณูแห่งการเสกสรรค์ของอัลลอฮฺ
  • ความสำคัญและความสัมพันธ์ในการ “คิด” และ “รำลึก” กล่าวคือ ใช้ความคิดในการพิจารณามัคลูกของอัลลอฮฺ และผูกโยงการคิดไปยังการรำลึกถึงพระองค์ ต้องเอาสิ่งที่เราดูกลับไปหาอัลลอฮฺ 
  • สูตรของการ “ซิกิรต่ออัลลอฮฺ และ ฟิกิรต่อมัคลูคของพระองค์” 
  • ผลจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและคิดพิจารณาการสร้างของพระองค์
  • ความสวยงามที่อยู่ใกล้ตัวเราโดยไม่ต้องลงทุน คือสิ่งที่อัลลอฮฺเรียกร้องให้มนุษย์ดูซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้เกิดผลต่อการศรัทธาที่เพิ่มมากขึ้น
  • การสะท้อนความหมายระหว่าง “อายาตเกาลียะฮฺ” จากคัมภีร์อัลกุรอาน และ “อายาตเกานียะฮฺ” จากการสร้างสรรค์มัคลูก
  • “คนที่เป็นมนุษย์แล้วไม่ยอมอ่านอัลกุรอาน ก็คือคนที่ไม่ยอมรู้จักตัวเอง”
  • ในตอนท้ายได้พูดถึงทฤษฎี “กบต้มน้ำร้อน” (Boiling Frog) อธิบายการอยู่เฉยๆ ไม่ยอมเรียนรู้ชีวิตและรู้จักตัวเองจนทำให้เกิดความเสียหายในที่สุด
  • “เวลาที่เราดูคำพูดของอัลลอฮฺ ก็จะสะท้อนไปยังมัคลูคของพระองค์ เวลาที่เราดูมัคลูคของพระองค์มันก็จะสะท้อนให้เรากลับมาคิดถึงอัลกุรอานซึ่งเป็นคำพูดของอัลลอฮฺ มันคือความมหัศจรรย์ ความสวยงาม ความลงตัว ความสมดุล ที่คัมภีร์เล่มอื่นไม่สามารถทำได้”

คลิกฟังตอนที่ 4 ได้ที่นี่

หรือฟังตอนอื่นๆ ทั้งหมดได้ที่ 
http://IslamHouse.com/793377