วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน



อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 3 ตอน เป็นเรื่องราวว่าด้วยพฤติกรรมต่างๆ ของมุนาฟิก ที่เสแสร้งทำทีว่าเป็นผู้ศรัทธา แต่กลับซ่อนการปฏิเสธศรัทธาไว้ภายใน และคอยจ้องทำลายท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และชาวมุสลิม อัลลอฮฺได้ใช้บรรดาผู้ศรัทธาระแวดระวังพวกเขาและหลีกห่างพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าจะเป็นเยี่ยงเดียวกันกับพวกมุนาฟิก

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

**********

ตอนที่ 1
- ความหมายของมุนาฟิกูน
- ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องมุนาฟิก ? เพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นมุนาฟิกเสียเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นเหยื่อมุนาฟิก
- เหตุใดที่สูเราะฮฺมุนาฟิกูนจึงอยู่ท่ามกลางสูเราะฮฺในญุซที่ 28
- เรื่องราวประวัติศาสตร์ได้บอกเล่าวิธีการที่ท่านนบีได้ปฏิบัติต่อพวกมุนาฟิกูนอย่างละเอียด
- พวกมุนาฟิกเสแสร้งในการปฏิญาณและประกาศศรัทธาต่อท่านนบี
- อัลลอฮฺตอบโต้พฤติกรรมของพวกมุนาฟิกด้วยการประกาศว่าพระองค์รู้ดีว่าท่านนบีเป็นใคร ไม่จำเป็นต้องให้มุนาฟิกมารับรอง
- คำพูดที่ไม่ตรงกับใจย่อมไม่มีความหมายในทัศนะของอัลลอฮฺ
- พวกมุนาฟิกใช้การสาบานเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์และการบรรลุตามแผนของตน
- สภาพชีวิตของพวกมุนาฟิก ตัวตนที่แท้จริงซึ่งซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพลักษณ์ภายนอก

ตอนที่ 2
- ความแตกต่างของลักษณะมนุษย์ที่อัลลอฮฺสร้าง ไม่ใช่แค่แตกต่างกันเฉพาะภายนอก แต่ภายในก็มีความแตกต่างให้เห็นด้วย
- แนะนำการเรียนตัฟซีรแบบรวมเฉพาะหัวข้อ อัต-ตัฟซีร อัล-เมาฎูอีย์
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นอัล-วะลาอ์ วัล-บะรออ์ กับสูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน
- บรรดาเศาะหาบะฮฺมีความกลัวและเป็นห่วงว่าตนจะเป็นมุนาฟิก เนื่องจากความอันตรายของมัน
- เหตุใดมุนาฟิกจึงน่ากลัวกว่าคนที่แสดงตนว่าเป็นศัตรู
- คุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของมุนาฟิก คือการเป็นคนจอมโกหก และกลัวว่าจะมีโองการอัลกุรอานมาประจานความโกหกของตัวเอง
- นิสัยอีกประการของมุนาฟิก คือ การหยิ่งยะโส ไม่ยอมรับสัจธรรม
- ท่านนบีพยายามอย่างมากที่จะเปิดโอกาสให้พวกมุนาฟิกกลับตัว
- อัลลอฮฺปิดโอกาสการยกโทษให้แก่พวกมุนาฟิก แม้ว่าจะได้รับการขออิสติฆฟารจากท่านนบีก็ตาม
- อัลลอฮฺจะไม่ให้ฮิดายะฮฺคนที่ฟาสิก คือคนที่ไม่ประสงค์จะเป็นคนดีแต่แรก
- การผัดวันในการรับฟังสัจธรรมจนเวลาล่วงเลยไป เป็นเหตุให้หัวใจแข็งกระด้างและกลายสภาพเป็นฟาสิก
- พวกมุนาฟิกประกาศและยั่วยุให้ตัดความช่วยเหลือแก่ผู้ศรัทธา อัลลอฮฺจึงตอบโต้พวกเขาว่าริสกีทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ
- พวกมุนาฟิกยังประกาศที่จะขับไล่ท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺออกจากมะดีนะฮฺ
- เรื่องราวในสงครามบนีอัล-มุสเฏาะลิกอันยาวเหยียดที่เป็นเหตุของการที่พวกมุนาฟิกประกาศจะขับไล่ท่านนบี
- จุดยืนของลูกชายหัวหน้ามุนาฟิก ที่มาขอกับท่านนบีว่าจะเป็นผู้จัดการกับบิดาของตัวเองหากท่านนบีต้องการประหารเขา
- ท่านนบีห้ามไม่ให้ประหารมุนาฟิกด้วยเหตุผลเพื่อต้องการรักษาความสงบและไม่ต้องการให้เกิดปัจจัยความปั่นป่วนขึ้นมาระหว่างมุสลิม
- บทเรียนจากจุดยืนของท่านนบีในการคลุกคลีกับมุนาฟิก
- เราดีกว่าท่านนบีไหม คนที่ทะเลาะกับเราเลวกว่าหัวหน้ามุนาฟิกไหม ทำไมเราจึงปฏิบัติต่อคนที่เราทะเลาะด้วยแย่กว่าที่ท่านนบีปฏิบัติต่อมุนาฟิกเสียอีก
- แม้จะมีปัญหาภายในมากมาย แต่เราก็ต้องรักษาสภาพความปึกแผ่นของสังคมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้

ตอนที่ 3
- คุณลักษณะบางอย่างของมุนาฟิกที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์สิน
- คำสั่งแก่บรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้มีนิสัยเหมือนมุนาฟิก
- สองอย่างที่มนุษย์ละไม่ลง ทรัพย์สินและลูกหลาน
- อิสลามมีมุมมองอย่างไรกับการสะสมสมบัติและการมีลูกหลานเยอะ
- หากการหาริสกีและมีลูกหลานไม่ได้เป็นเหตุให้หลงลืมอัลลอฮฺ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
- การสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมาย(อาคิเราะฮฺ)และเครื่องมือ(ดุนยา)
- อย่ายุ่งอยู่กับเครื่องมือจนลืมเป้าหมาย
- ต้องให้บาลานซ์ระหว่างการดูแลตัวเองและครอบครัว กับการบริหารอาคิเราะฮฺ
- ระหว่างการบริหารดุนยาและบริหารอาคิเราะฮฺ
- ความท้าทายของมุสลิมคือการบริหารทั้งสองอย่าง บริหารดุนยาเพื่อไปอาคิเราะฮฺ
- ใครที่ปล่อยให้ดุนยาเป็นเหตุให้เขาละเลยอาคิเราะฮฺคือคนที่ขาดทุนในวันอาคิเราะฮฺ
- เมื่อห้ามเสร็จแล้ว ก็แนะนำหนทางที่จะช่วยให้รอดพ้นจากความขาดทุน
- อินฟาก การใช้จ่ายภาควาญิบและไม่วาญิบ
- เหตุใดที่คนใกล้ตายจึงขอที่จะบริจาคมากกว่าที่จะทำออย่างอื่น
- บริหารจัดการการบริจาคให้มีคุณภาพ
- มุอ์มินเองก็บอกว่าถ้ามีโอกาสก็จะอยากกลับมาบริจาคให้มากขึ้น
- ต้องบริจาคให้เป็นนิสัย จะช่วงมีหรือไม่มีก็เหมือนกัน
- บริจาคแค่สวนหนึ่งจากสิ่งที่ตนมี มิใช่บริจาคทั้งหมดที่มี
- ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามที่มีคำสอนครบรอบด้าน

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-ญุมุอะฮฺ



อธิบายสูเราะฮฺ อัล-ญุมุอะฮฺ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 4 ตอน มีนัยสำคัญระบุถึงหน้าที่ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในการสร้างประชาชาติของท่านด้วยอัลกุรอานอันเป็นพระคัมภีร์ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺเพื่อเป็นทางนำชีวิต และยกอุทาหรณ์คนที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตตามครรลองของพระคัมภีร์อย่างพวกยิว และปิดท้ายด้วยการประกาศให้ทราบว่าประชาชาติของท่านนบีมีความประเสริฐกว่าชาวคัมภีร์ก่อนหน้านี้ด้วยการที่พวกเขาได้รับการชี้ทางให้ใช้วันศุกร์เป็นวันสำคัญประจำสัปดาห์ของพวกเขา เป็นวันที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นหากพวกเขาต้องการสร้างตัวตนของประชาชาติให้มีประสิทธิภาพสมตามที่ท่านนบีได้พยายามมาตั้งแต่แรก

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

ดาวน์โหลดจากอิสลามเฮ้าส์ ที่นี่
https://islamhouse.com/th/audios/2827510/

ตอนที่ 1

- ดุอาอ์ของท่านนบีเพื่อขอให้หัวใจมั่นคงในศาสนา
- ต้องขอให้หัวใจยืนหยัดบนศาสนาของอัลลอฮฺ เพราะปัญหาการหลุดออกจากศาสนาเป็นเรื่องใหญ่สำหรับมุสลิม
- ช่องทางที่จะทำให้มุสลิมหลุดออกจากศาสนามีมากมายและน่ากลัว บางครั้งเราก็ไม่รู้สึกตัว
- การหลุดออกไปจากอิสลามเนื่องจากเราไม่รู้จักญาฮิลียะฮฺ
- หน้าที่ของชัยฏอนคือการดึงให้มนุษย์หันเหออกจากฟิฏเราะฮฺของอิสลาม
- เริ่มต้นสูเราะฮฺ เป็นการพูดถึงนิอฺมัตอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺประทานให้กับประชาชาติมุหัมมัด
- ความสำคัญบางประการของวันศุกร์
- การตัสบีห์ต่ออัลลอฮฺเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล ดำเนินมาเรื่อยจนถึงทุกวันนี้และตลอดไป
- ระหว่างการตัสบีห์และอิสติฆฟาร จะกล่าวอะไรให้มากกว่า
- การตัสบีห์เป็นการซิกิรที่เรียกพลังกลับคืนมา และไล่ชัยฏอน
- จะทำอย่างไรให้คุ้นเคยกับการซิกิรต่ออัลลอฮฺ ให้เรารวมอยู่ในอายะฮฺนี้
- การประทานศาสนทูตลงมา คือ เหตุใหญ่ที่เราต้องตัสบีห์ขอบคุณอัลลอฮฺ
- ประชาชาติ อุมมียีน หมายถึง ชาวอาหรับ 
- อุมมีย์ มาจากคำว่าลูกติดแม่
- การไม่รู้หนังสือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สังคมเต็มไปด้วยปัญหารุมเร้า
- หน้าที่ประการแรกของศาสนทูตคือการทำให้ผู้คนได้ยินพระดำรัสของอัลลอฮฺ
- แค่การได้ยินก็มีนัยและประโยชน์ในตัวมันเอง
- การตัซกิยะฮฺ หรือ การตัรบิยะฮฺ คือการทำให้หัวใจสะอาด ก่อนที่จะบรรจุความรู้ลงไปข้างใน
- ความสำคัญของการเรียนสุนนะฮฺ เรียนสุนนะฮฺเพื่อให้เข้าใจอัลกุรอานได้ถูกต้อง
- สังคมที่ไม่มีผู้รู้และการเรียนการสอน คือสังคมที่เสียงต่อการหลงทางในการดำเนินชีวิต


ตอนที่ 2
- นัยสำคัญของสูเราะฮฺญุมุอะฮฺ
- หน้าที่ของท่านนบีในการสร้างอุมมะฮฺ
- ลำพังการแต่งตั้งท่านนบีให้เป็นเราะสูลก็เป็นนิอฺมัตที่ยิ่งใหญ่มากแล้ว
- นิอฺมัตนี้เป็นเหตุเพียงพอที่จะให้เราต้องตัสบีห์ต่ออัลลอฮฺ
- การแต่งตั้งนบีจากชาวมักกะฮฺเป็นผลประการหนึ่งจากการขอดุอาอ์ของนบีอิบรอฮีม
- ท่านนบีไม่ได้มาเป็นเราะสูลแก่ชาวอาหรับเท่านั้น แต่ท่านถูกส่งมายังคนทั่วโลก
- การอ้างนิอฺมัตนี้ต่อพวกกุเรชเพื่อให้พวกเขาได้สำนึก ทว่าคนเหล่านั้นกลับไม่เห็นคุณค่า
- พวกกุเรชน่าจะดีใจเป็นพวกแรกที่ได้มีนบีในหมู่พวกเขา สุดท้ายพวกเขากลับเป็นพวกแรกที่ต่อต้านท่าน
- วิเคราะห์บทบาทของท่านนบีในการพลิกฟื้นชาวอาหรับให้มีเกียรติเหนือพวกยิวที่วางตัวเหนือพวกเขาในสมัยนั้น
- ถ้าไม่มีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นึกหรือว่าชาวอาหรับจะเจริญถึงขนาดนี้
- ทำไมเราะสูลคนสุดท้ายจึงต้องเป็นคนอาหรับ
- วิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพของอุมมะฮฺในสมัยนี้กับในสมัยท่านนบี
- ถ้าเราเอาชนะยิวในเรื่องดุนยาไม่ได้ ทำไมไม่พยายามที่จะเอาชนะในเรื่องศาสนา 
- แพ้ยิวในเรื่องดุนยา อย่าแพ้ยิวในเรื่องอาคิเราะฮฺ 
- ถ้าพวกเจ้ามีอัลกุรอานและเราะสูลมายังพวกเจ้าแล้ว แต่พวกเจ้าไม่เอา ระวังจะกลายเป็นเหมือนยิวพวกนี้
- อุทาหรณ์เรื่องลาแบกหนังสือ 
- เมื่อไรก็ตามที่เราไม่รับสัจธรรมโดยไม่มีข้ออ้างที่ยอมรับได้ อัลลอฮฺก็จะไม่ให้ฮิดายะฮฺเราอีก เพราะนี่เป็นการซอลิม
- ยิวไม่ได้ต้องการให้เราเป็นยิว เขาต้องการแค่ให้เราออกจากอิสลามแล้วไปเป็นอะไรก็ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราหลุดออกจากอิสลามเขาก็สามารถใช้เราทำอะไรก็ได้
- สองภาพที่อัลลอฮฺเตือนเรา ระหว่างการยอมรับสัจธรรมที่ท่านนบีนำมา ถ้าเราไม่ยอมรับเราก็จะถูกปัดไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งเหมือนพวกยิว
- เราไม่ได้โง่เขลาเบาปัญญามากไปกว่าคนในสม้ยญาฮิลียะฮฺ เหตุใดคนสมัยก่อนได้รับประโยชน์จากอัลกุรอานแต่เรากลับไม่ได้รับประโยชน์
- ประชาชาติมุสลิมทุกคนต้องเดินด้วยอัลกุรอานหากต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเช่นที่เคยเกิดมาแล้ว


ตอนที่ 3
- กราฟชีวิตทุกวันของเรามีความเสี่ยง เนื่องจากเราไม่รู้จุดจบและบั้นปลายของตัวเอง
- เราต้องรับผิดชอบดูแลตัวเองภายใต้ภาวะแห่งความเสี่ยง
- การอยู่กับอัลลอฮฺจะทำให้เรารู้จักวิธีการจัดการชีวิตในเวลาที่เกิดความเสี่ยง
- การซิกรฺคือกุญแจที่จะทำให้เราเจอหนทางแก้ไข
- ทำไมอัลกุรอานจึงมีชื่อว่า อัซ-ซิกรฺ 
- ต้องรู้จักรักษาหัวใจให้พ้นจากระดับความเสี่ยง ให้หัวใจอยู่ในโซนปลอดภัยบ้าง
- เกียรติยศของมุสลิมเกิดขึ้นมาได้ด้วยอิสลาม จึงต้องห่วงแหนเกียรติยศนี้
- หากมุสลิมไม่ห่วงแหนเกียรติยศนี้ ให้รู้ว่ามีศัตรูพวกหนึ่งที่กำลังรอคอยจะทำลายเกียรติของเราอยู่
- ถ้ามุสลิมไม่แยแสกับอิสลาม เขาก็จะกลายเป็นเหมือนอุทาหรณ์ที่อัลลอฮฺเปรียบเทียบพวกยิวในสูเราะฮฺนี้
- ศัตรูไม่ได้มีความเข้มแข็งเหนือประชาชาติมุสลิมหรอก แต่เราต่างหากที่อ่อนแอกว่าศัตรู
- คำสั่งให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท้าพวกยิวที่อ้างว่าตนอยู่บนความจริง 
- สิ่งที่อัลกุรอานท้าพวกยิวก็คือ หากตัวเองอยู่บนความจริงก็จงขอให้อัลลอฮฺรีบๆ เอาชีวิตกลับไปโดยเร็ว
- อย่าว่าแต่กล้าที่จะตาย คนเหล่านี้ไม่กล้าแม้แต่จะคิดถึงความตายด้วยซ้ำ
- อายะฮฺนี้เป็นมุอฺญิซะฮฺ เพราะจนถึงบัดนี้พวกยิวก็ยังมีนิสัยเยี่ยงนี้ไม่เปลี่ยน
- มนุษย์มักจะมีนิสัยต้องการมีชีวิตอยู่อย่างยาวนาน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้หวังจะกลับไปอีกครั้งในอาคิเราะฮฺ
- อิสลามมีบัญญัติห้ามไม่ให้มุสลิมโอดครวญอยากตาย
- บางคนอยากตายไม่ใช่เพราะอยากจะไปสวรรค์หรือมั่นใจว่าตัวเองจะได้เข้าสวรรค์ แต่ต้องการตายเพื่อหนีปัญหาในโลกนี้ต่างหาก
- ดุอาอ์สำหรับคนที่หมดหวังกับชีวิตและรู้สึกอยากตายให้พ้นๆ 
- เราไม่มีรู้ว่าจริงๆ ชีวิตหรือความตายที่ดีกว่าสำหรับเรา
- ถึงจะไม่รู้ว่าต้องตายเมื่อไร แต่เรารู้ตัวดีว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ จึงควรทำตัวให้เหมาะสมกับความเมตตาของอัลลอฮฺที่จะลงมาหาเรา
- ความเมตตาของอัลลอฮฺกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่เรากลับพลาดที่จะได้รับความเมตตาของพระองค์ เรื่องนี้ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัว
- ลองใช้ปัญญาของเราแยกแยะดูว่า คนแบบไหนที่อัลลอฮฺจะทรงเมตตาและคนแบบไหนที่อัลลอฮฺจะสาปแช่ง และทำตัวให้เป็นคนแบบที่เราต้องการ


ตอนที่ 4
- ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของวันศุกร์ จากตัฟซีรอิบนุกะษีร
- อธิบายบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการละหมาดวันศุกร์
- การอะซานสองครั้งในวันศุกร์
- การรีบไปมัสยิดในความหมายที่อุละมาอ์อธิบายไว้
- ให้ทำความสะอาดร่างกายก่อนไปละหมาดวันศุกร์
- บทบัญญัติการซื้อขายในขณะละหมาดวันศุกร์
- การแสวงหาริซกีหลังละหมาดวันศุกร์ 
- เกร็ดการทำมาค้าขายจากอายะฮฺในสูเราะฮฺอัล-ญุมุอะฮฺ
- เหตุการณ์ที่เศาะหาบะฮฺละทิ้งคุฏบะฮฺเพื่อไปหากองคาราวานสินค้า จนอัลลอฮฺต้องตักเตือน
- บทสรุปสุดท้ายอันสวยงามในสูเราะฮฺ อัล-ญุมุอะฮฺ
- ใช้วันศุกร์เป็นวันบริหารจัดการชีวิตและสังคมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 


วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัศ-ศ็อฟ




อธิบายสูเราะฮฺ อัศ-ศ็อฟ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 ตอน ว่าด้วยการแนะนำกับบรรดาผู้ศรัทธาให้พวกเขาทำตามที่พวกเขาพูด และไม่สมควรพูดในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจจะปฏิบัติจริง อีกทั้งได้ยกตัวอย่างจากประชาชาติในอดีตเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่พวกเขา สรุปท้ายด้วยคำสอนที่จะบอกว่าพวกเขาควรทำอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่
https://soundcloud.com/e-daiyah/sets/tafseer_surah_as_saff

ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse
https://islamhouse.com/th/audios/2827011/


ตอนที่ 1
- ลักษณะการไต่ระดับของเนื้อหาในการตัฟซีรตั้งแต่ญุซที่ 30 จนถึง ญุซ 28
- เป็นอีกหนึ่งสูเราะฮฺที่เริ่มต้นด้วยการตัสบีห์
- อัลลอฮฺตำหนิบรรดาผู้ที่พูดในสิ่งที่ไม่ได้ทำ และสิ่งที่ไม่ได้ต้องการจะทำแต่พูดไปก่อน
- สาเหตุของการประทานอายะฮฺ
- ผู้ศรัทธามีสิทธิที่จะทำผิด แต่ความผิดพลาดของผู้ศรัทธามิได้ทำให้เขาสิ้นสภาพการเป็นคนมีคุณธรรม หากความผิดนั้นไม่ถึงขั้นชิริก
- อายะฮฺดังกล่าวนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะผู้คนในขณะที่มันถูกประทานลงมาเท่านั้น แต่ครอบคลุมผู้คนทุกยุคสมัยหลังจากนั้นด้วย
- การพูดในสิ่งที่ไม่ได้ทำ การพูดอย่างหนึ่งทำอีกอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องใหญ่โตในทัศนะของอัลลอฮฺ
- อธิบายประเภทของคนที่ถูกตำหนิในอายะฮฺนี้ หนึ่งในนั้นคือคนที่ชอบให้คนอื่นชมตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรเลย
- ประเด็นสืบเนื่องเกี่ยวกับอายะฮฺนี้ ในเรื่องของการรู้แล้วไม่ทำ
- สามระดับของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น รู้แล้วไม่ทำ
- ระดับหนึ่ง รู้แล้วไม่ทำ ทำให้หลุดจากศาสนา
- ระดับสอง รู้แล้วไม่ทำ ทำให้ได้รับบาปแต่ไม่ถึงขั้นหลุดออกจากศาสนา
- ระดับสาม รู้แล้วไม่ทำ ไม่ได้เป็นบาป แต่คนที่ทำตามจะได้ผลบุญอย่างมาก การไม่ทำเป็นการละเลยต่อความดี
- การละเลยสุนนะฮฺอาจจะไม่ได้เป็นบาป แต่เป็นการลดค่าตัวเอง
- มุสลิมต้องพยายามปฏิบัติตามสุนนะฮฺให้ได้ตามที่ตนรู้ แม้เพียงจะทำแค่คร้ังเดียวก็ตาม
- คำพูดของสุฟยาน อัษ-เษารีย์


ตอนที่ 2
- นะศีหะฮฺทบทวนตัวเองเพื่อให้รู้จักสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและคนอื่น
- ตั้งความหวังไว้ให้ดี และทำตามสิ่งที่ตัวเองตั้งไว้ให้ดีที่สุด
- ถ้าทำคนเดียวไม่ไหว ก็ต้องช่วยกันทำหลายๆ คน
- เมื่ออัลลอฮฺบอกสิ่งที่พระองค์ไม่ชอบเสร็จแล้ว พระองค์ก็บอกว่าสิ่งใดที่พระองค์ชอบ
- ข้อสังเกตว่าด้วยคำว่าสงครามในอิสลาม และการใส่ไคล้จากผู้ที่พยายามป้ายสีว่าอิสลามคือศาสนาที่กระหายสงคราม
- การญิฮาดเป็นระดับอะมัลขั้นสูงที่สุดในอิสลาม ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย
- อัลลอฮฺจึงตำหนิคนที่พูดด้วยปากว่าต้องการญิฮาด สุดท้ายพอมีคำสั่งลงมาจริงๆ กลับทำไม่ไหว เพราะเป็นเรื่องที่หนักมาก
- อย่าพูดเล่นๆ กับเรื่องที่ต้องอาศัยใจที่มีความพร้อมในการลงมือทำ
- อัลลอฮฺชอบให้บ่าวของพระองค์ทำอิบาดะฮฺอย่างเป็นระเบียบ ดูแล้วน่าชื่นชม
- นักวิชาการบางคนกล่าวว่า ถ้าตั้งแถวละหมาดยังไม่ตรง อย่าไปหวังว่าจะออกไปรบศัตรูชนะ
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตั้งแถวละหมาดให้ตรง
- ระบบและวินัย คือสิ่งที่มุสลิมต้องทบทวนหนักมาก ทั้งๆ ที่อิสลามเน้นหนักเรื่องนี้มาก แต่ความเป็นจริงมุสลิมยังไม่สามารถทำได้เท่าที่อิสลามสั่ง
- การทำงานในองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องทำให้มีระบบระเบียบ เพราะเราต้องการสร้างคุณค่าให้กับคนอื่น
- อิสลามส่งเสริมให้ทำงานอย่างเป็นระเบียบประหนึ่งเป็นอาคารที่หล่อเป็นเนื้อเดียวกัน
- จะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมของเรา ทำงานแล้วให้เห็นเป็นภาพอันหนึ่งอันเดียวกันมากที่สุด
- คำพูดของท่านเกาะตาดะฮฺ ในการตัฟสีรอายะฮฺ
- อัลลอฮฺยกตัวอย่างของกลุ่มชนที่ไม่ทำตามสิ่งที่ตนพูด
- เรื่องราวของนบีมูซากับพรรคพวกของท่าน ที่กระด้างกระเดื่องกับท่านมาตลอด
- ผลตอบแทนของบรรดาบนีอิสรออีลที่เบี่ยงเบนออกจากสัจธรรม
- ดุอาอ์ขอไมให้หัวใจเบี่ยงเบนออกจากความจริง
- พึงระวังการเป็นคนฟาสิกที่ทำตัวไม่ต้องการฮิดายะฮฺจากอัลลอฮฺ


ตอนที่ 3
- ความแตกต่างระหว่างการเรียกของนบีมูซาและนบีอีซาต่อพรรคพวกของตัวเอง
- การพูดถึงท่านนบีมุหัมมัดในคัมภีร์ไบเบิ้ลโดยท่านนบีอีซา
- ชื่อต่างๆ ของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จากหะดีษของท่าน
- พวกยิวรู้จักท่านนบีมุหัมมัดอย่างดี เนื่องจากคุณลักษณะต่างๆ ของท่านถูกระบุไว้แล้วในคัมภีร์ของพวกเขา
- สุดท้ายพวกยิวหรือบนีอิสรออีลก็ไม่ได้ศรัทธา ทั้งต่อมูซา อีซา และมุหัมมัด
- การกล่าวอ้างเท็จต่ออัลลอฮฺถือเป็นอาชญากรรมอันใหญ่หลวง
- การกุเรื่องเท็จต่ออัลลอฮฺของบนีอิสรออีลมีจุดประสงค์เพื่อทำลายศาสนาของอัลลอฮฺ
- อัลลอฮฺรับประกันว่าจะปกป้องศาสนาของพระองค์และทำให้มันสมบูรณ์
- ต้องแยกระหว่างอิสลามกับมุสลิม ตัวอิสลามนั้นสมบูรณ์ แต่ใช่ว่ามุสลิมจะสมบูรณ์ตามอิสลามหากไม่ได้ปฏิบัติตาม
- มุสลิมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามอิสลาม ย่อมไม่ได้รับความดีงามและประโยชน์ใดๆ จากอิสลาม
- การละเลยที่จะปฏิบัติตามอิสลามคือสาเหตุที่ทำให้ศัตรูเข้ามามีอำนาจเหนือพวกเขา
- ทบทวนความสัมพันธ์ของเราต่ออิสลามมีมากน้อยแค่ไหน
- อัลลอฮฺผูกโยงเกียรติของเรากับอิสลาม อย่าได้ภูมิใจกับอิสลามโดยที่เราไม่ได้มีความสัมพันธ์กับมัน


ตอนที่ 4
- การตักเตือนคือหน้าที่หลักของอัลกุรอาน
- ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ก็คือ การตักเตือนอีกทางหนึ่งของอัลลอฮฺ
- ทั้งอัลกุรอานและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคืออายาต ที่อัลลอฮฺใช้เตือนมนุษย์
- อธิบายความน่ากลัวเวลาเกิดเหตุการณ์สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา
- อัลลอฮฺตั้งคำถามกระตุ้นผู้ศรัทธาให้หันมาทำความดีตามที่เคยเรียกร้อง
- อัลกุรอานใช้คำว่าค้าขาย ในการนำเสนอความดีที่กระตุ้นให้ผู้ศรัทธาทำ
- การรอดพ้นจากนรกถือว่าเป็นสิ่งที่แพงมาก ต้องแลกด้วยชีวิต
- อัลลอฮฺเปรียบเทียบการทำความดีให้รอดพ้นจากนรกประหนึ่งการค้าขาย ซึ่งมีต้นทุนเป็นการศรัทธาต่อพระองค์
- การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ก็เป็นเหมือนสินค้าที่ผู้ศรัทธาใช้ค้าขายกับอัลลอฮฺ
- การญิฮาดสามารถทำได้ทั้งด้วยทรัพย์สินและร่างกาย สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดว่าอันไหนที่มีความสำคัญมากกว่าในช่วงเวลานั้นๆ
- การญิฮาดไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาพูดเล่นได้ การปฏิบัติจริงไม่ได้ง่ายเหมือนที่พูดด้วยปาก
- บทเรียนจากสงครามอุหุด ที่สื่อให้เห็นว่าญิฮาดไม่ใช่การโหยหาด้วยปากเปล่า
- ผลตอบแทนอันใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่ตายชะฮีด
- การอภัยโทษคือปัจจัยหลักที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์
- การพูดถึงสวรรค์ก็เป็นอายาต ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการทำความดีได้เช่นเดียวกัน


ตอนที่ 5
- การเรียก "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา" ในสูเราะฮฺนี้จำนวนสามครั้ง
- สรุปสูเราะฮฺ อัศ-ศ็อฟ ด้วยการจับประเด็นการเรียกของอัลลอฮฺสามครั้งในสูเราะฮฺนี้
- ความหมายของการช่วยเหลืออัลลอฮฺ
- เรื่องราวของ อัลหะวารียูน คนสนิทของนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม
- ท่านนบีอีซาเรียกร้องให้คนช่วยท่านเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง
- เราไม่ได้ทำงานในองค์กรเพื่อองค์กร แต่เราทำงานในองค์กรเพื่ออุมมะฮฺ
- ไม่ใช่ทำงานเอาเป็นเอาตาย แต่ไปขัดกับผลประโยชน์ของอุมมะฮฺ
- นบีทุกคนจะมีคนสนิท และคนสนิทที่ดีที่สุดของนบีคือเศาะหาบะฮฺของมุหัมมัด
- การแตกของบนีอิสรออีลหลังจากที่ท่านนบีอีซาจากพวกเขาไปแล้ว
- ลักษณะของสาวกพระเยซูตามที่อัลกุรอานระบุ
- การอ้างเท็จต่ออัลลอฮฺถือเป็นอาชญากรรมที่ใหญ่หลวง
- ไม่ควรที่จะไปโต้เถียงกับผู้อื่นหากเราไม่ใช่คนที่มีความรู้เพียงพอ
- คำอธิบาย การช่วยเหลือของอัลลอฮฺต่อผู้ศรัทธาในหมู่บนีอิสรออีล
- สรุปข้อเรียกร้องและบทเรียนจากสูเราะฮฺอัศ-ศ็อฟ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ


อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 6 ตอน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นอัล-วะลาอ์ วัล-บะรออ์ หรือความรักและความเกลียด การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับศัตรูที่คอยทำร้ายอิสลาม รวมถึงขอบเขตที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ปฏิสัมพันธ์ ตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้เป็นบทบัญญัติซึ่งสามารถรักษาแก่นรากอันแข็งแกร่งแต่ก็มีความยืดหยุ่นผ่อนปรนอย่างสมดุล

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse



ตอนที่ 1 

- ชื่อสูเราะฮฺและที่มาที่ไปของสูเราะฮฺนี้ 
- สูเราะฮฺที่มีความเกี่ยวข้องกับการอพยพหรือการฮิจญ์เราะฮฺ 
- เนื้อหาสูเราะฮฺจะเน้นไปทางประเด็นอัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เหมือนกับสูเราะฮฺอื่นๆ ในญุซที่ 28
- เรื่องวะลาอ์และบะรออ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน ไม่ผลีผลาม 
- การเรียนหลักการต่างๆ เวลาไปใช้จริงต้องดูบริบทแวดล้อมประกอบในการกำหนดจุดยืนแต่ละกรณีอีกต่างหากด้วย
- ความสัมพันธ์ระหว่างสูเราะฮฺต่างๆ ในญุซที่ 28 เช่น สูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ กับ สูเราะฮฺ อัศ-ศ็อฟ และ สูเราะฮฺ อัล-ญุมุอะฮฺ
- อัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว จะเห็นได้จากเนื้อหาที่แตะเรื่องครอบครัวเกือบทุกสูเราะฮฺในญุซนี้ (นาที 22.00+)
- การเข้าใจอัลกุรอานแบบภาพรวมและผูกโยงความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางที่จำเป็นสำหรับการศึกษาคัมภีร์ของอัลลอฮฺ
- อายะฮฺแรกเป็นคำสั่งห้ามมิให้เอาศัตรูมาเป็นคนใกล้ชิด ศัตรูในที่นี้หมายถึงผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามอย่างแม่นมั่น
- เป็นไปไม่ได้แม้กระทั่งในทางตรรกะและปัญญาที่เราจะทำดีกับคนที่ต้องการทำลายอิสลาม บัญญัติห้ามข้อนี้จึงสอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างที่สุดแล้ว
- อัลลอฮฺยกตัวอย่างสาเหตุที่มุสลิมจะต้องไม่วะลาอ์ต่อบรรดาศัตรูของตน
- การรู้สาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้ จะทำให้เราเข้าใจประเด็นนี้ได้ดียิ่งขึ้น
- เรื่องราวของหาฏิบ บิน อบี บัลตะอะฮฺ หนึ่งในเศาะหาบะฮฺที่เข้าร่วมสงครามบะดัร คือต้นตอของการประทานอายะฮฺในต้นสูเราะฮฺนี้ 
- ความผิดพลาดที่ดูหนักหนาเข้าขั้นพฤติกรรมมุนาฟิกของหาฏิบ บิน อบี บัลตะอะฮฺ ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าท่านเป็นมุนาฟิกจริงๆ 
- เรื่องราวของหาฏิบเป็นบทเรียนที่เราจะต้องเอามาสำรวจตัวเอง เวลาที่เราผลีผลามไปตัดสินคนอื่น

ตอนที่ 2 
- ประเด็นอัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจที่ละเอียดอ่อนไม่รีบร้อน
- เท้าความเรื่องราวของหาฏิบ จากสาเหตุของการประทานอายะฮฺในตอนต้นสูเราะฮฺ
- ข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกิดขึ้นกับคนดี ไม่ได้หมายถึงว่ามันถึงขั้นทำลายตัวตนของเขา
- ต้องระวังศัตรูของอิสลาม ถึงแม้ว่าบางครั้งเราจำเป็นต้องร่วมมือกับเขาในบางเรื่อง
- อัลลอฮฺยกสาเหตุหลักๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาจะต้องไม่วะลาอ์ต่อศัตรู
- สำหรับผู้ศรัทธา อีมานมีค่าต่อตัวเขามากกว่าชีวิต ศัตรูของอิสลามจึงพยายามที่จะทำลายศรัทธาของพวกเขา
- คนที่ศรัทธาถ้าไม่ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจะมีชีวิตอยู่ทำไม
- การฆ่าให้ตายอาจจะดูโหดร้ายทารุณในสายตาของชาวโลก แต่การฆ่าให้ตายทั้งเป็นไม่มีใครสนใจ 
- เยาวชนมุสลิมกำลังถูกฆ่าทางอะกีดะฮฺ ถูกฆ่าทางอุดมการณ์ทางศาสนา
- อัลลอฮฺเรียกจิตสำนึกคนที่หวังผลในโลกดุนยาจากบรรดาศัตรู ให้สำนึกถึงวันอาคิเราะฮฺพวกเขาจะเป็นอย่างไร
- บางคนอาจจะยอมแลกสิ่งมีค่าในชีวิตกับความสบายของครอบครัว แต่ไม่ใช่สามารถให้ครอบครัวอยู่เหนืออะกีดะฮฺได้
- ข้อเท็จจริงที่สำคัญซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ เราจะถูกแยกออกจากคนที่รักในวันอาคิเราะฮฺอย่างแน่นอน
- ในดุนยาเราช่วยเหลือครอบครัวของเรา แต่ทำให้อัลลอฮฺโกรธเรา ถามว่าครอบครัวของเราจะมาช่วยเราในวันอาคิเราะฮฺไหม
- วิธีเดียวที่จะทำให้เราสามารถได้อยู่กับคนที่เรารักในวันอาคิเราะฮฺคือต่างฝ่ายต่างก็ต้องเป็นผู้ศรัทธา

ตอนที่ 3
- บอกเล่าเรื่องราวการไปเยี่ยมพี่น้องมุสลิมอีสาน
- ความรักความเกลียดเป็นสิ่งที่อยู่เป็นปกติในตัวมนุษย์ สำคัญที่ว่าจะรักอะไรให้ถูก จะเกลียดอะไรให้ถูก
- บทบัญญัติของอัลลอฮฺบางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจมนุษย์ นั่นไม่ใช่ประเด็น ให้เรียนรู้ทำความเข้าใจให้ดีก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์
- การเรียนรู้บทบัญญัติ กับการปฏิบัติใช้บทบัญญัติ มีปัจจัยที่เป็นบริบทแวดล้อมเกี่ยวข้องอีกหลายประการที่จำเป็นต้องคำนึงถึง
- เวลาที่ใจเรารู้สึกค้านกับบทบัญญัติต่างๆ ให้กลับไปดูมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ หลักฐานอื่นๆ ที่เชื่อมโยง การนำไปใช้ สาเหตุการประทาน ฯลฯ
- เรื่องราวของนบีอิบรอฮีมที่อัลลอฮฺยกเป็นตัวอย่างในประเด็นบะรออ์
- แยกประเด็นให้เข้าใจชัดเจน เช่น การบะรออ์ในด้านอะกีดะฮฺ ไม่ได้หมายถึงว่าต้องบะรออ์ในด้านอื่นๆ ถ้าหากไม่ได้ขัดกับประเด็นอะกีดะฮฺ
- บทบัญญัติของอิสลามมีหลักรากฐานที่หนักแน่นมั่นคงไม่สั่นคลอน แต่มีความยืดหยุ่นในสาขาปลีกย่อยที่จะไม่ทำลายรากฐานอันหนักแน่นมั่นคงของอิสลาม
- อันไหนที่ต้องตึงก็ต้องตึง อะไรที่ต้องหย่อนเราก็ต้องหย่อน
- อัลลอฮฺใช้ให้เอาตัวอย่างของอิบรอฮีมมาใช้ ยกเว้นในข้อที่อิบรอฮีมบอกว่าจะขออภัยโทษให้กับพ่อของตัวเองที่เป็นกาฟิร
- ดุอาอ์ที่อัลลอฮฺสอนเราเวลาที่เราประกาศบะรออ์กับศัตรูของอิสลาม เพื่อเป็นการดูแลหัวใจให้เข้มแข็งและอดทนฝ่าฟันต่อแรงกระเพื่อมที่จะเกิดขึ้น

ตอนที่ 4
- ความรักและความเกลียด บนมาตรฐานบทบัญญัติของอัลลอฮฺ ถือเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับความศรัทธาอย่างแนบแน่น
- ทั้งความรักและความเกลียด อาจจะนำไปสู่การกุฟรได้ด้วย
- แนะนำหนังสือของอิบนุลก็อยยิม ที่พูดถึงความรักซึ่งอาจจะเป็นโรคทางใจประการหนึ่ง
- เรากำลังเรียนเรื่องรักและเรื่องเกลียด ซึ่งเกี่ยวโยงทั้งด้านอะกีดะฮฺและบทบัญญัติไปพร้อมกัน
- ทบทวนย้อนหลังเรื่องราวของอิบรอฮีมกับพ่อของท่าน
- เปรียบเทียบสภาพในสมัยอดีต กับตัวอย่างต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ว่าด้วยเรื่องการตัดสัมพันธ์กับคนที่มีอะกีดะฮฺต่างกัน
- อัลลอฮฺได้กำหนดบทบัญญัติให้เกิดความผ่อนคลายแก่ผู้ศรัทธา ด้วยการอนุญาตให้ทำดีกับญาติที่ไม่ใช่มุสลิมได้
- ความรักที่แท้จริงคือการที่คนทั้งสองฝ่ายได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ดังนั้น ผู้ที่เป็นมุสลิมจึงควรต้องหวังให้ญาติที่ไม่ใช่มุสลิมได้ศรัทธาเหมือนเขาด้วย
- รักใครเกลียดใคร อย่ารักหรือเกลียดแบบสุดโต่ง (นาที27.30   -30.30)
- การเปลี่ยนความรักให้เป็นความเกลียด หรือเปลี่ยนความเกลียดให้เป็นความรัก เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสามารถให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
- เรื่องราวของอัสมาอ์ บินตุ อบีบักร์ กับแม่ของนาง ที่เป็นสาเหตุแห่งการประทานอายะฮฺซึ่งระบุบทบัญญัติอนุญาตให้ทำดีต่อญาติที่ไม่ใช่มุสลิม
- คำอธิบายของอัฏ-เฏาะบะรีย์ เกี่ยวกับอายะฮฺที่อนุญาตให้ทำดีต่อญาติที่ไม่ใช่มุสลิม
- คำสั่งห้ามไม่ให้ทำดีนั้น เป็นคำสั่งเฉพาะกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่เป็นศัตรูและทำร้ายเรา และเฉพาะพฤติกรรมกล่าวคือห้ามในเรื่องของการรักและช่วยเหลือเป็นฝ่ายเดียวกัน
- นอกจากกลุ่มและพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ก็นับว่าการทำดีกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องรู้สึกลำบากใจแต่ประการใด
- ต้องพยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและแยกแยะให้ได้ระหว่าง ประเด็นที่เราต้องตัดขาดและสิ่งที่เราสามารถทำดีต่อคนที่เราตัดขาดเขาด้วย
- โดยพื้นฐาน เราต้องไม่เหยาะแหยะในประเด็นที่ต้องเข้มงวด และต้องไม่แตกหักในประเด็นที่ผ่อนปรนได้ อย่าให้การปฏิบัติของเราสวนทางกับข้อนี้

ตอนที่ 5
- โองการที่เป็นสาเหตุแห่งการชื่อสูเราะฮฺอัล-มุมตะหะนะฮฺ
- บทบัญญัติอิสลามว่าด้วยการทดสอบผู้หญิงที่อพยพมาหาท่านนบีที่มะดีนะฮฺ
- หุก่มที่เป็นทางออกสำหรับสามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับอิสลาม
- เรื่องราวจากสนธิสัญญาหุดัยบิยะฮฺที่กำหนดว่าต้องคืนคนที่หลบหนีจากมักกะฮฺกลับไปยังพวกกุร็อยช์
- สาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้ จากการอธิบายของนักตัฟซีร
- เหตุผลที่ต้องมีการทดสอบผู้หญิงที่อพยพมาก่อนจะอนุญาตให้อยู่กับชาวมุสลิม
- ทำไมห้ามส่งผู้หญิงกลับไปยังพวกกุร็อยช์?
- ประเด็นเรื่องความรักระหว่างชายหญิงต่างศาสนา
- ความรักระหว่างมุสลิมเป็นความรักอมตะ
- บทบัญญัติว่าด้วยการคืนค่าสินสอดแก่สามีเดิมที่เป็นกาฟิร และการแต่งงานกับหญิงที่อพยพมา
- บทบัญญัติของอัลลอฮฺดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเสมอ ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบอย่างแน่นอน
- ถ้าหากฝ่ายกาฟิรไม่ยอมคืนค่าสินสอดแก่ชาวมุสลิม ก็ให้เอาค่าสินสอดนั้นคืนจากทรัพย์เชลยมาทดแทน
- คำสั่งตักวาปิดท้ายบทบัญญัติทางฟิกฮฺในประเด็นที่ละเอียดอ่อน 
- ตักวาในอายะฮฺนี้เป็นการกำชับให้มุสลิมรักษาสัญญา แม้กระทั่งกับคนที่ไม่รักษาสัญญา
- มุสลิมจะต้องไม่ซอลิม/อยุติธรรม เพราะความอธรรมจะเป็นความมืดมิดในวันอาคิเราะฮฺ

ตอนที่ 6 
- ข้อคิดว่าด้วยปีใหม่และวันใหม่
- สุนนะฮฺของท่านนบีในแต่ละวันได้ตอบโจทย์ชีวิตของเราอย่างสวยงามอยู่แล้ว
- ของเล็กๆ ที่ต้องทำทุกวัน บางครั้งรู้สึกหนักมากกว่าของใหญ่ที่ทำแค่ครั้งเดียว
- การอิสติกอมะฮฺเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ผลบุญของมันก็ยิ่งใหญ่เช่นกัน
- ปัญหาการอิสติกอมะฮฺเป็นปัญหาใหญ่ของเรา จึงจำเป็นต้องมีการตักเตือนหรือสะกิดเตือนตลอดเวลา
- ต้องมีเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดการอิสติกอมะฮฺ ต้องร่วมมือระหว่างกัน
- เป็นเรื่องน่ากลัวมากที่คนเราจะทำดีแค่ครั้งเดียว หรือแป๊บเดียว
- เมื่อไรหัวใจตายจงปลุกมันขึ้นมาอีกครั้งด้วยอะมัลฟัรฎู และเมื่อมันมีชีวิตจงดัดมันด้วยอะมัลสุนัต
- อายะฮฺที่อธิบายถึงบทบัญญัติการให้สัตยาบันของผู้หญิงที่ศรัทธากับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- มุบายะฮฺ หรือ บัยอะฮฺ มีรากศัพท์เดียวกันมาจากคำว่า บัยอฺ ที่หมายถึงการแลกเปลี่ยน
- ประเภทต่างๆ ของการบัยอะฮฺ
- เนื้อหาต่างๆ ในการให้สัญญา ที่เริ่มประการแรกด้วยการไม่ชิริกต่ออัลลอฮฺ
- เกร็ดบางอย่างจากเนื้อหาต่างๆ ในการบัยอะฮฺต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม 
- เนื้อหาในการบัยอะฮฺอาจจะแตกต่างกัน ตามแต่ละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- คำสั่งให้ท่านนบีขออภัยโทษต่ออุมมะฮฺของท่าน 
- อายะฮฺแรกและอายะฮฺสุดท้ายในสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ มีนัยอันเดียวกัน 
- ถ้ามุสลิมต้องการจะไปอาคิเราะฮฺ ก็จงอย่าพึ่งคนที่ไม่ต้องการจะไปอาคิเราะฮฺ 



วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-หัชร์





อธิบายสูเราะฮฺ อัล-หัชร์ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 10 ตอน นำเสนอส่วนหนึ่งจากเรื่องราวของยิวบนีนะฎีรที่ผิดสัญญากับชาวมุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺ สูเราะฮฺได้พูดถึงตัวอย่างความเป็นพี่น้องกันระหว่างชาวมุฮาญิรีนและอันศอร และแฉพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมุนาฟิกและพวกยิว สุดท้ายก็ได้ให้ข้อสรุปที่สำคัญในกระบวนการสร้างความแข็งแกร่งของผู้ศรัทธาผ่านการยึดมั่นในคำสอนของอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงกำหนดทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ทรงประสงค์


รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse

ตอนที่ 1
- บาปและบททดสอบในชีวิตของมุอ์มิน
- ไม่มีเหตุผลที่เราจะตำหนิการที่เราต้องเจอสิ่งไม่ดีในชีวิต
- ในตัวของมนุษย์เองมีคำเตือนให้เราทบทวนตัวเองและใช้สติเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น
- มุอ์มินจะไม่มีเรื่องที่ไม่ดีในชีวิตของเขา อะไรที่ไม่ดีมักจะเป็นคำเตือน ต้องรู้จักใช้ให้เป็น
- เมื่ออ่อนแอหรือสับสนให้ลองนึกถึงวิถีชีวิตในเราะมะฎอน ทั้งอัลก
- ที่มาของชื่อสูเราะฮฺ อัล-หัชร์
- เหตุใดชาวยิวจึงได้เข้ามาอาศัยอยู่ดินแดนอาหรับ
- การนำเสนอที่หลากหลายของสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ
- การเริ่มต้นสูเราะฮฺ ด้วยการตัสบีหฺ เหตุผลและประโยชน์ของการตัสบีหฺ 
- อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับประเด็นการตัสบีหฺ
- คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ 

ตอนที่ 2
- การความรู้มีหลายแบบตามความเหมาะสมของแต่ละวัย แต่เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- สมองของเราจะตายทุกวันอย่างน้อยวันละ 75000 เซลล์ จึงต้องใช้งานสมองด้วยการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- ยิ่งได้ออกไปเรียนรู้ จะยิ่งเข้าใจว่าเรามีอีกหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้
- คนเราอยู่ได้ด้วยกำลังใจ การเดินทางไปพบปะผู้คนทำให้กำลังใจของเราเพิ่มขึ้น
- คำพูดที่ดีเป็นเศาะดะเกาะฮฺ การให้กำลังใจก็ถือว่าเป็นเศาะดะเกาะฮฺ
- การตัจญ์ดีดอีมานและความรู้ 
- ทำไมเราต้องละหมาดห้าเวลา เพราะนั่นคือการตัจญ์ดีด
- อธิบายสาเหตุและเรื่องราวที่เป็นเบื้องหลังการประทานสูเราะฮฺอัลหัชร์
- เรื่องราวการสัญญาระหว่างมุนาฟิกกับยิวว่าจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- มุอ์มินได้รับชัยชนะเหนือยิวในขณะที่พวกเขาไม่คาดคิดมาก่อน
- อาวุธที่ทำให้มุอ์มินได้รับชัยชนะก็คือความกลัว เป็นทหารประเภทหนึ่งที่เรามองไม่เห็น
- เปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน (ประมาณนาทีที่ 25-32)
- ความกลัวที่ถูกโยนลงไปในหัวใจศัตรูคือหนึ่งในความพิเศษที่อัลลอฮฺประทานให้อุมมะฮฺนี้
- ใช้อัลกุรอานวิเคราะห์สภาพจริงเพื่อหาบทเรียนที่จะใช้ใจภาคปฏิบัติ 
- ถ้ามุสลิมอ่านอัลกุรอานและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เขาจะไม่มีวันหมดกำลังใจต่อหน้าสิ่งที่เขาเห็นเด็ดขาด
- สิ่งที่เราต้องถามก็คือ ตกลงตอนนี้ศัตรูกลัวเราหรือยัง เรามีอะไรที่ศัตรูน่าจะกลัวเรา
- เราทำตัวให้ศัตรูเยาะเย้ย มากกว่าที่จะกลัวเรา เราไม่มีอะไรที่น่ากลัวเลยสักนิดหนึ่ง ไม่มีบุคลิกแห่งความน่าเกรงขามเลยสักหน่อย
- เราเป็นโรคเฝ้ารอฮีโร่โดยไม่ได้คิดปรับปรุงตัวเอง
- เราอาจจะนึกว่าเราอ่อนแอไม่สามารถเอาชนะศัตรูที่เข้มแข็งกว่าเราได้ แต่อัลลอฮฺก็เคยทำให้ยิวพ่ายแพ้มาแล้วโดยที่เราไม่เคยคาดคิด
- บางครั้งมนุษย์คิดอย่างหนึ่ง แต่อัลลอฮฺต้องการอย่างอื่น พระองค์เตรียมเอาไว้อีกอย่างหนึ่ง (นาที 38)
- สิ่งที่เราคิดไม่ตรงกับที่อัลลอฮฺต้องการ สิ่งที่อัลลอฮฺต้องการไม่ใช่สิ่งที่เราคิด เพราะฉะนั้นต้องมีกำลังใจ ไม่ควรท้อแท้
- นิสัยประการหนึ่งของยิว คือ ถ้าตัวเองไม่ได้รับประโยชน์ ก็อย่าหวังว่าคนอื่นจะได้รับประโยชน์ 
- การขับไล่ครั้งแรก คืออะไร
- อัลกุรอานกระตุ้นและสอนเราให้พยายามดึงบทเรียนจากที่สิ่งเราเรียน (นาที 43)
- ให้ดึงสุนนะตุลลอฮฺออกมาจากประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยของเรา 
- เรียนอัลกุรอานเพื่อเรียนรู้แก่นข้อเท็จจริงที่อัลลอฮฺบอกเรา และเรียนประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์คำตอบสำหรับคำถามที่เกิดขึ้นในชีวิต


ตอนที่ 3 
- มีความสำคัญและมีความจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้จักยิว เป็นคำถามเดียวกับที่เราต้องถามว่าเราจำเป็นต้องรู้จักชัยฏอนขนาดไหน
- คนที่ไม่รู้จักชัยฏอนเขาจะเป็นอย่างไร และคนที่ไม่รู้จักยิวเขาจะเป็นอย่างไร
- พูดถึงหนังสือบางเล่มที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องยิว 
- อัลกุรอานกับการพูดถึงยิว
- จะทำอย่างไรเพื่อให้การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องยิวกลายเป็นองค์ความรู้ระยะยาว ไม่ใช่พูดด้วยอารมณ์
- ความกลัว คือ สาเหตุที่พวกยิวขอออกไปจากมะดีนะฮฺเอง
- นิสัยของพวกยิวที่มีความโอหังต่ออัลลอฮฺ
- ประวัติบางส่วนเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานของพวกยิวตั้งแต่อดีตกาล
- หิกมะฮฺหรือวิทยปัญญาที่อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้เกิดสงครามตะลุมบอนกันระหว่างมุสลิมกับยิวบนีนะฎีรฺ
- การเป็นปฏิปักษ์ของยิวกับอัลลอฮฺ รอซูล และมุสลิม เกิดมาจากความตั้งใจที่จะเป็นศัตรูจริงๆ ไม่ได้เกิดมาจากความไม่รู้
- คำสั่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกให้บรรดาเศาะหาบะฮฺตัดต้นอินทผลัม 
- พวกยิวนำประเด็นการตัดต้นอินผลัมมาเป็นข้ออ้างกล่าวหาบรรดามุสลิม
- อัลลอฮฺได้ตอบโต้การกล่าวอ้างดังกล่าวไว้ในสูเราะฮฺนี้แล้วว่าเพราะอะไรที่อนุมัติให้ทำการดังกล่าวได้ในสงครามนี้


ตอนที่ 4
- แนะนำการทำอะมัลในช่วงสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ
- ประเภทของทรัพย์เชลยที่ได้จากสงคราม
- ทรัพย์เชลยที่ได้จากสงครามบนีนะฎีรฺไม่ต้องแบ่งเหมือนกับทรัพย์เชลยในสงครามอื่น
- วิธีการแบ่งทรัพย์เชลยตามประเภทของมัน
- วิสัยทัศน์ของชะรีอะฮฺอิสลามไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกันคนจน
- ทรัพย์เชลยเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการกำจัดช่องว่างที่เหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน
- ตัวอย่างวิสัยทัศน์ของท่านอุมัรในการกำหนดนโยบายขจัดความยากจน
- เหตุใดที่ทรัพย์เชลยรอบนี้ท่านนบีจึงได้แบ่งให้กับชาวมุฮาญิรีนเท่านั้น
- สปิริตของชาวอันศอรในการดูแลชาวมุฮาญิรีน
- คำสั่งให้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงแม้จะไม่มีการอธิบายเหตุผลอะไรก็ตาม
- คำพูดของท่านอัส-สะอฺดีย์เกี่ยวกับการตามท่านนบี 


ตอนที่ 5
- สิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ กล่าวถึงความสำคัญและอะมัลต่างๆ ในช่วงนี้ 
- การแบ่งประเภทตักบีรแบบมุฏลักและมุก็อยยัด
- ความแตกต่างระหว่างอีดุลฟิฏรี กับ อีดุลอัฎฮา
- การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ
- อีดกับอิบาดะฮฺการกุรบานทั้งสี่วันในอีดุลอัฎฮา 
- ความพิเศษของชาวมุฮาญิรีน ซึ่งเป็นตัวอย่างของความเสียสละ
- คุณลักษณต่างๆ ของชาวมุฮาญิรีน ที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ
- การอพยพของชาวมุฮาญิรีน คือการอพยพเพื่อศาสนาของอัลลอฮฺ
- อายะฮฺที่พูดถึงสภาพวะลาอ์ระหว่างชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร
- ความรักที่แท้จริงคือผลพวงของความศรัทธา
- คุณลักษณะของชาวอันศอรที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ
- ความหมายและตัวอย่างของคำว่า อีษารฺ
- เรื่องราวของชาวอันศอรที่เป็นความพิเศษมากกว่าคนอื่น 
- เรื่องของอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ กับชายชาวอันศอรที่ท่านนบีบอกว่าเป็นชาวสวรรค์
- อายะฮฺเหล่านี้คืออายะฮฺที่แสดงถึงความพิเศษของบรรดาเศาะหาบะฮฺ
- ความละโมบในตัวมนุษย์เป็นสันดานที่จะต้องจัดการให้ดี
- ความแตกต่างระหว่างคำว่า ชุห์ และ บุคล์ 


ตอนที่ 6 
- ข้อคิดในการติดตามและเสพข่าวสารที่เผยแพร่ในโลกโซเชียล
- เสพข่าวอย่างไรด้วยสติ และแสดงออกอย่างไรให้เป็นประโยชน์
- ดุอาอ์สำคัญอย่างไร และเป็นรูปธรรมได้อย่างไร 
- แนะนำดุอาอ์เมื่อเจอกับความยุ่งยากในชีวิต
- นอกจากมุฮาญิรีนและอันศอรแล้ว บรรดาผู้ที่ติดตามและเอาอย่างคนสองกลุ่มนี้ก็ได้รับการชื่นชมจากอัลลอฮฺเช่นกัน
- ดุอาอ์ที่อัลลอฮฺพูดถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ ที่สอนให้ผู้ศรัทธามีความผูกพันระหว่างกัน
- อย่าขอดุอาอ์แบบขี้เหนียว
- ดุอาอ์ที่ดีที่สุดคือดุอาอ์ที่อัลลอฮฺสอนในอัลกุรอาน
- ดุอาอ์นี้ตัรบิยะฮฺให้เรารักพี่น้องและขจัดความรู้สึกเกลียดชังออกจากหัวใจ
- ผลของการศรัทธาจะต้องกลายมาเป็นอุคูวะฮฺ จากอุคูวะฮฺกลายเป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ
- ทำไมอัลลอฮฺจึงปฏฺิเสธความเกลียดชังในดุอาอ์ที่ผู้ศรัทธาต้องขอให้กับพี่น้อง
- จะมีอีมานได้จะต้องไม่มีความรู้สึกโกรธเกลียดต่อผู้ศรัทธาด้วยกัน
- คำอธิบายที่สวยงามของอัส-สะอฺดีย์
- คำพูดของอิมามมาลิก ในการอธิบายดุอาอ์นี้ เกี่ยวข้องกับชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺอย่างไร
- คำพูดของอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ ว่าด้วยการดูแลประชาชาติและให้ความทั่วถึงในการดูแลราษฎร
- สรุปบทเรียนจากดุอาอ์ในสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ   


ตอนที่ 7
- เรื่องราวการร่วมมือระหว่างมุนาฟิกกับชาวยิว
- อัลกุรอานใช้คำว่าพี่น้องระหว่างมุนาฟิกและชาวยิว
- ชาวมุนาฟิกได้ให้สัญญาที่จะช่วยเหลือพวกยิวบนีนะฎีร แต่อัลลอฮฺก็ประกาศชัดว่ามุนาฟิกเหล่านี้จะไม่มีทางช่วยเหลือพวกยิวอย่างแน่นอน
- มุนาฟิกและยิว จะกลัวมนุษย์ด้วยกันมากกว่ากลัวอัลลอฮฺ ในขณะที่ผู้ศรัทธานั้นจะเกรงกลัวอัลลอฮฺมากกว่า
- การศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ อัล-ฆ็อยบ์ คือคุณลักษณะสำคัญของผู้ศรัทธา 
- ความไม่เข้าใจทำให้มุนาฟิกไม่กลัวอัลลอฮฺ การกลัวอัลลอฮฺจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเตาฮีด
- ความจริงที่อัลลอฮฺได้เปิดเผยถึงความขยาดของพวกยิวที่ไม่กล้าต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว
- ความจริงอีกข้อหนึ่งก็คือ สภาพความแตกแยกภายในระหว่างยิวกันเอง ที่เราอาจจะไม่ทราบ แต่อัลลอฮฺได้เผยให้ทราบในอัลกุรอานแล้ว


ตอนที่ 8
- การเปรีบบเทียบสภาพของยิวและมุนาฟิกไว้สองกรณี
- หนึ่ง การเปรียบเทียบพวกยิวที่ไม่ได้รับอุทาหรณ์หรือบทเรียนจากเผ่าก็อยนุกออฺที่เคยโดยขับไล่มาก่อนหน้านี้แล้ว
- สอง การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของมุนาฟิกและชาวยิว เหมือนความสัมพันธ์ของชัยฏอนกับมนุษย์ในวันอาคิเราะฮฺ
- เรื่องเล่าในสมัยบนีอิสรออีลที่พูดถึงการหลอกล่อของชัยฏอนต่อนักบวช และสุดท้ายชัยฏอนก็ทรยศหักหลัง
- เป็นภาพเปรียบเทียบสภาพที่มุนาฟิกไปหลอกยิวนบีนะฎีรสุดท้ายก็หักหลัง ไม่ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ
- ในท้ายสูเราะฮฺ อัลลอฮฺได้นำเสนอแนวทางที่จะให้เราไม่เป็นเหมือนชัยฏอน ยิว และมุนาฟิก นั่นคือ คำสั่งให้ตักวาต่ออัลลอฮฺ
- คำสั่งในทุกคนพิจารณาและเตรียมตัวสำหรับการเดินทางไปยังวันอาคิเราะฮฺ
- เรียกร้องเชิญชวนให้ช่วยกันทบทวนตัวเองตามที่อัลลอฮฺได้กำชับในคำสั่งของพระองค์
- เทคโนโลยีเอื้ออำนวยให้เราได้หาเครื่องมือช่วยในการทบทวนตัวเอง มันไม่ได้ข้อบกพร่องของเทคโนโลยี แต่ข้อบกพร่องอยู่ที่จิตสำนึกของเราเอง


ตอนที่ 9 
- ถ้าเราเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง ถ้าเมื่อไรที่หัวใจห่างหายจากการซิกรุลลอฮฺ เขาจะโหยหาที่จะกลับไปหาการรำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่เสมอ
- แม้เราจะบกพร่องในหน้าที่หลายประการ แต่อัลกุรอานยังคงอยู่กับเรา ให้เราได้กลับมาทุกเมื่อเวลาที่หัวใจของเรารู้สึกเหือดแห้ง
- เรายังได้ขอบคุณอัลลอฮฺ แม้ในภาวะที่เราบกพร่องต่อพระองค์
- อายะฮฺที่พูดถึงการมุหาสะบะฮฺหรือการทบทวนตัวเอง อัลกุรอานเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาทบทวนตัวเอง
- เหตุใดที่มีตักวาขนาบหน้าหลังในคำสั่งให้มีการทบทวนตัวเอง
- ตักวาเป็นกุญแจแห่งความดี ที่บรรดานบีได้นำมาให้กับประชาชาติของพวกท่าน
- สิ่งที่มนุษย์ชอบส่วนใหญ่จะมีตักวาเข้ามากำกับอยู่เสมอ เพราะถ้าชอบมากเกินไปถ้าไม่มีตักวามาคุมจะทำให้เขาเลยเถิด
- มีคำสั่งทั้งสองด้าน สั่งให้ทบทวนตัวเอง และห้ามไม่ให้ลืมอัลลอฮฺ คนที่ไม่มีตักวาในหัวใจ
- การลืมอัลลอฮฺ หมายถึง การละทิ้งหน้าที่ที่พระองค์มีคำสั่งให้ปฏิบัติ ลืมสิทธิที่เราต้องทำต่ออัลลอฮฺ
- เวลาที่เราลืมอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทำให้เราลืมตัวเอง หมายถึง ลืมที่จะทำสิ่งที่ควรต้องทำเพื่อตัวเอง
- อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำเพื่อตัวเอง ? 
- ทุกอย่างที่เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺให้เราทำ ล้วนมีผลดีกลับมาที่ตัวเราเองทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เราลืมทำสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งให้ทำ จึงเกิดผลเสียต่อตัวเองทั้งนั้น
- อธิบายและยกตัวอย่างว่า การทำความดีจะส่งผลดีต่อผู้กระทำอย่างไร
- สูตรในชีวิตมุสลิม ลืมอัลลอฮฺเราเสียหาย เราทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ เรากลับได้รับผลดีถล่มทลาย
- เหมาะแล้วสำหรับคนที่ลืมอัลลอฮฺ จะได้รับชื่อว่าเป็นฟาสิก คนที่อยู่นอกขอบเขตจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ
- ลืมอัลลอฮฺจะออกไปเมตตาจากอัลลอฮฺอย่างไกลสุดกู่เลย
- ลืมอัลลอฮฺ ทำให้เราลืมจะทบทวนสิ่งที่ต้องเตรียมตัวไปพบกับอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ
- การรำลึกถึงอัลลอฮฺและคิดถึงตัวเอง สองคล้องกับแนวคิดทางจิตวิทยาปัจจุบันอย่างไร
- อยู่กับตัวเองได้ ในเมื่อเรารู้จักที่จะอยู่กับอัลลอฮฺ
- การไม่ได้ผูกตัวเองกับอัลลอฮฺ ชีวิตเราจะมีคุณค่าได้อย่างไร
- ความแตกต่างระหว่างชาวนรกกับชาวสวรรค์ ในทุกๆ ด้าน ทั้งในดุนยาและในวันอาคิเราะฮฺ
- เราลืมว่านรกกำลังร้องหาเราอยู่ เราลืมว่าในสวรรค์มีสิ่งที่เตรียมเอาไว้ให้เราอยู่ 
- สุดท้ายอัลกุรอานคือข้อสรุปรวบยอดของกระบวนการทบทวนตัวเองและไม่ลืมอัลลอฮฺ 
- อุทาหรณ์ว่าด้วยอิทธิพลของอัลกุรอานต่อหัวใจ เหมือนดังที่มันมีอิทธิพลต่อภูเขาที่แข็งกระด้างและสามารถแตกกระจุยได้
- หากหัวใจของเราไม่ได้อ่อนลงเพราะอัลกุรอาน ก็คงต้องเยียวยาในนรกแล้ว วัลอิยาซุบิลลาฮฺ
- ตำหนิมนุษย์ที่มีหัวใจแข็งกระด้าง และไม่ยอมอ่อนลง เมื่อเราอ่านอัลกุรอาน 
- ต้องหาคำตอบว่า ครั้งสุดท้ายที่เบ้าตาของเราแตกด้วยน้ำตาเกิดขึ้นเมื่อไร 


ตอนที่ 10 
- ตอนจบอันสวยงามของสูเราะฮฺอัล-หัชร์ 
- ขึ้นต้นด้วยการตัสบีห์ และจบด้วยการตัสบีห์
- สรุปเนื้อหาตั้งแต่เริ่มต้นในสูเราะฮฺอัล-หัชร์
- คำสั่งและการชีแนะให้ตัสบีห์ เป็นการสอนให้เรามองบวกต่ออัลลอฮฺ-
- หากท่านนบีและเศาะหาบะฮฺได้รับชัยชนะเพราะอาศัยอัลกุรอาน แล้วเหตุใดเราจึงจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะอัลกุรอานได้ด้วยเล่า
- เรื่องของเราหนักกว่าความทุกข์ของคนรุ่นเก่ากระนั้นหรือ
- เมื่อเรารู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอานแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้ความยิ่งใหญ่ของเจ้าของอัลกุรอานด้วย
- ท้ายสูเราะฮฺอัลหัชร์มีเตาฮีดอัสมาอ์วัศศิฟาตให้เราได้เรียนรู้อย่างเต็มอิ่ม
- แม้แต่คนทีทรยศต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็ยังทรงเมตตา หากไม่มีความเมตตาของพระองค์ คนชั่วก็คงไม่มีลมหายใจได้ทำชั่ว
- ความทุกข์ของเราจะมากขนาดไหน ความเมตตาของพระองค์ย่อมมากกว่านั้นแน่นอน
- อธิบายความหมายพระนามของอัลลอฮฺในท้ายสูเราะฮฺอัลหัชร์
- อัสสลาม คือพระนามของอัลลอฮฺ สันติภาพมาจากอัลลอฮฺ เราเป็นผู้รับฝากสันติภาพมาแจกจ่ายให้กับมนุษยชาติ 
- ความหวังและความกลัว ในพระนามของอัลลอฮฺ
- อัล-อัสมาอ์ อัล-หุสนา หมายถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺจะเป็นไปตามพระนามของพระองค์จริงๆ
- ต้นสูเราะฮฺและท้ายสูเราะฮฺ มีความเหมือนกันอย่างน่าอัศจรรย์















วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุญาดิละฮฺ


อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุญาดิละฮฺ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 11 ตอน นำเสนอประเด็นมารยาททางสังคมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงในแต่ละวัน ซึ่งบางประการนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับประเด็นความเชื่อ และภาวะการตอบรับและการเป็นปฏิปักษ์ต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺอย่างคาดไม่ถึง สูเราะฮฺนี้ยังได้พูดถึงพฤติกรรมบางส่วนของพวกยิวและมุนาฟิกอีกด้วย

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่
https://soundcloud.com/e-daiyah/sets/tafsir_almujadilah
ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse


ตอนที่ 1
- แนะนำยูเอสบีรวมไฟล์เสียงตัฟซีร
- ดุอาอ์ اللهم اهدني وسددني
- ดุอาอ์ที่ใช้เพื่อจัดการภารกิจต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต
- จีพีเอสของอัลลอฮฺไม่เหมือนจีพีเอสของมนุษย์ในโลกดุนยา
- ต้องรู้ความหมายของดุอาอ์ที่เราอ่านด้วย
- ที่มาของชื่อสูเราะฮฺ
- สูเราะฮฺที่อธิบายเรื่องสิทธิสตรีในอิสลาม
- ใครที่อ่านอัลกุรอานไม่จบเล่ม ไม่มีความชอบธรรมเพียงพอที่จะวิพากษ์วิจารณ์อิสลาม
- ไม่มีอิสระที่แท้จริงในโลกนี้ บางทีการอ้างความอิสระของตัวเองก็เป็นการล่วงละเมิดอิสระของคนอื่น
- การวิพากษ์วิจารณ์อิสลามโดยไม่ได้ศึกษาอัลกุรอานและไม่ยอมศึกษาอิสลามก่อน แสดงว่าไม่กล้าจริง
- ที่มาที่ไปของการประทานสูเราะฮฺนี้
- เรื่องซุบซิบนินทาที่ดูเป็นเรื่องเล็ก อาจจะเป็นเรื่องใหญ่โตที่มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิต
- มุญาดะละฮฺ คือการโต้เถียง ซึ่งเป็นพฤติกรรมมนุษย์มาแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบันที่ระบาดหนักยิ่งขึ้นไปอีกในโลกโซเชียล
- อิสลามก้าวล้ำในประเด็นการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ให้อยู่ในขอบเขตที่ควรเป็น

ตอนที่ 2
- บทเรียนจากอายะฮฺเดียวอายะฮฺแรกในสูเราะฮฺอัลมุญาดิละฮฺ
- อธิบายความหมายของคำว่ามุญาดะละฮฺ การโต้เถียงเพื่อเอาชนะอย่างไม่ยอมหยุด
- อัลกุรอานแยกระหว่างคำว่า มุญาดะละฮฺ (เถียง) กับ ตะหาวุร (สนทนา)
- ความเข้าใจโดยรวมเกี่ยวกับวิธีการดะอฺวะฮฺสามขั้นตอน
- อธิบายความหมาย หิกมะฮฺ ในการดะอฺวะฮฺ
- การอ่านคนและรู้จักแบ่งประเภทคนเพื่อนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสมกับคนแต่ละประเภท
- จิตวิทยาในการดะอฺวะฮฺ
- 15.00 -  20.50  (ความหมายของหิกมะฮฺ เมาอิเซาะฮฺหะสะนะฮฺ)
- เงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการมุญาดะละฮฺ
- ความฉลาดทางอารมณ์ในสังคมโลกโซเชียล
- อายะฮฺที่ยกเลิกหุก่มประเพณีซิฮาร
- การซิฮารเป็นบาป เป็นมุงกัรในทางวาจา เกี่ยวข้องกับการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ
- บางทีการเงียบก็อาจจะปลอดภัยกว่า
- อัลลอฮฺจะทรงอภัยบาปแก่ผู้ที่ขออภัยโทษจากบาปทางวาจาที่พวกเขากระทำ
- บางครั้งไม่ใช่แค่การอภัยโทษเท่านั้น แต่อัลลอฮฺอาจจะทดแทนร่องรอยของการอภัยโทษด้วยความดีงามให้อีกด้วยความเมตตาของพระองค์
- ความสำคัญของการอิสติฆฟารฺทุกวัน 38.26-40.44

ตอนที่ 3
- ประเด็นต่อเนื่องจากเรื่องของนางเคาละฮฺ ที่ให้บทเรียนเกี่ยวกับผู้หญิงที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
- ความโกรธและโมโห อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลั้งต่อคนใกล้ชิดโดยไม่ทันระวัง แล้วไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้อีก
- พึงระวังการอธรรม ที่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้องเรียนต่ออัลลอฮฺแล้วเราจะโดนลงโทษจากพระองค์
- อัลลอฮฺทรงช่วยเหลือนางเคาละฮฺที่ได้ร้องเรียนความทุกข์ของนางต่อพระองค์
- อายะฮฺที่มาให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการซิฮาร เป็นบทบัญญัติจากอัลลอฮฺเพื่อยกเลิกความเชื่อเดิมๆ ของญาฮิลียะฮฺที่ถือว่าซิฮารคือการหย่า
- การซิฮารต้องชดด้วยการปล่อยทาส ถือเป็นการลงโทษที่หนัก ซึ่งเกิดมาจากเพียงแค่พูดออกมาไม่กี่คำ ดังนั้นจึงพึงระวังคำพูดให้ดี
- หากไม่สามารถปล่อยทาสก็ต้องถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน
- และหากยังไม่สามารถกระทำได้ก็ต้องเลี้ยงอาหารคนยากจนหกสิบคน
- สรุปบทบัญญัติและมารยาทต่างที่ได้จากต้นสูเราะฮฺจนถึงอายะฮฺที่สี่ ซึ่งทรงคุณค่ามากมายแก่ประชาชาติอิสลาม
- การตอบรับดุอาอ์จากผู้ที่ขออย่างจริงใจและจริงจัง
- พูดถึงความประเสริฐของนางเคาละฮฺ ผู้เป็นสาเหตุที่ทำให้สูเราะฮฺนี้ถูกประทานลงมา จากเรื่องเล่าของท่านอุมัร
- เรื่องเล่าของเคาละฮฺและสามีของนาง เป็นตัวอย่างความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีแก่บ่าวของพระองค์อย่างน่ายินดียิ่ง
- การกลับตัวเป็นคนดีต้องไม่รอเวลาแก่ แต่ต้องพยายามทำตั้งแต่ตอนยังหนุ่มเลย
- แนะนำดุอาอ์สำหรับคนอายุ 40 ปี
- ท่ามกลางความตึงเครียมของหุก่มเกี่ยวกับซิฮาร ยังมีเรื่องน่ารักที่ทำให้เราสัมผัสถึงความเมตตาของอัลลอฮฺได้



ตอนที่ 4
- ทบทวนการเรียนอัลกุรอานเพื่อให้เข้าใจความหมาย
- แนะนำหนังสือตัฟซีรสามญุซอ์สุดท้ายและเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับมุสลิม
- รูปแบบของการวะกัฟความรู้
- อธิบายผลของการแข็งขืนและเป็นปฏิปักษ์กับอัลลอฮฺ
- อัลลอฮฺได้ประทานอัลกุรอานลงมาแล้วเพื่ออธิบายบทบัญญัติของพระองค์
- อัลลอฮฺจะไม่ลงโทษโดยไร้ความยุติธรรม ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามบัญญัติของพระองค์แล้ววันหนึ่งอัลลอฮฺจะลงโทษเรา ก็จะไม่มีข้ออ้างใดๆ สำหรับเราอีก
- วันอาคิเราะฮฺมนุษย์จะได้เห็นหลักฐานพฤติกรรมของตนเองทุกคน เพราะอัลลอฮฺจดบันทึกการงานของพวกเราไว้หมดแล้ว
- จะทำอย่างไรให้ทุกช่วงเวลาของเราอยู่ภายใต้ความเมตตาของอัลลอฮฺ
- อธิบายประเด็นการกระซิบกระซาบ ซึ่งไม่มีวันหลุดรอดจากการรับรู้ของอัลลอฮฺอย่างเด็ดขาด
- ภัยของการกระซิบกระซาบในบริบทของการบริหารจัดการสังคม

ตอนที่ 5
- อายะฮฺอัลกุรอานเกี่ยวกับบทบัญญัติของอิสลามว่าด้วยการซุบซิบ
- อัลกุรอานคือคัมภีร์ที่มีมหัศจรรย์และตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ของมนุษย์ได้ทุกยุคสมัยไม่เสื่อมคลาย
- การเป็นศัตรูกับอัลลอฮฺอย่างลับๆ ไม่มีทางรอดพ้นจากการรับรู้ของอัลลอฮฺ
- เมื่ออัลลอฮฺทรงรับรู้ทุกอย่างแม้จะลับแค่ไหน เราจะใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริงนี้อย่างไร
- เมื่อมีอะไรที่อยากจะร้องเรียน ให้พูดกับอัลลอฮฺแม้จะพูดแค่เบาๆ คนเดียว พระองค์ก็ทรงรับทราบ
- อย่าเป็นคนที่ไม่รู้จักชีวิต แม้กระทั่งการขอจากอัลลอฮฺในเวลาที่เราต้องการความช่วยเหลือของพระองค์
- เรื่องราวของมุนาฟิกและยิวที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวมุสลิมด้วยการซุบซิบ
- การทักทายของพวกมุนาฟิกที่ไม่ยอมใช้สลามกับท่านนบี ในขณะที่พวกยิวนั้นจะพูดเร็วๆ เสแสร้งกลบเกลื่อนด้วยความตั้งใจจะสาปแช่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- ธรรมเนียมการให้สลามที่ถูกต้องและที่ควรต้องระวัง
- เรื่องราวที่ชาวยิวเข้ามาให้สลามด้วยการสาปแช่ง และตัวอย่างวิธีการตอบกลับของท่านนบีในกรณีแบบนี้
- มุสลิมจะต้องไม่แสดงออกด้วยพฤติกรรมแบบสถุน การตอบโต้กับคนที่แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต้องไม่แสดงความต่ำทรามกลับไป
- อธิบายพฤติกรรมชั่วช้าของพวกยิวเวลาที่เข้าหาและออกจากการพบปะกับท่านนบี


ตอนที่ 6
- บทนำเกี่ยวกับการมองอิสลามให้เห็นในภาพรวม มิใช่มองเพียงบางจุดแล้วเข้าใจว่ามันคือทุกอย่างของอิสลาม
- มุสลิมอาจจะรู้อิสลามในบางเรื่องและไม่ยอมศึกษาอิสลามในเรื่องอื่นๆ จึงทำให้เข้าใจอิสลามได้ไม่ครอบคลุม
- อัลกุรอานว่าด้วยเรื่องความสำคัญของการพูดและการใช้ลิ้น ในยุคที่มนุษย์อยู่ในโลกแห่งการสื่อสารไม่ยอมหยุด
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จรอดพ้นสามประการที่ถูกระบุในหะดีษ
- บทเรียนจากคำสั่งให้มีตักวาในการใช้ลิ้น
- การกระซิบกระซาบนั้นมาจากชัยฏอน
- เป้าหมายของศัตรูที่ต้องการสร้างความอ่อนแอผ่านช่องทางความเศร้า
- ความเศร้านั้นเป็นโรค แต่มันจะไม่มีอิทธิพลต่อผู้ศรัทธา
- โครซึมเศร้าถือเป็นปัญหาใหญ่ในโลกสมัยใหม่ ซึ่งอัลกุรอานก็พูดประเด็นนี้ไว้ด้วยอย่างน่าอัศจรรย์
- แนะนำหนังสือ เคล็ดลับวิธีเพื่อสร้างความสุขให้ชีวิต


ตอนที่ 7
- อายะฮฺอัลกุรอานว่าด้วยมารยาทในการนั่งชุมนุม
- มารยาทคือสิ่งที่ทำให้ผู้คนมีความงดงาม อิสลามจึงให้ความสำคัญกับมารยาท
- แนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องกับมารยาทของท่านนบี
- หลายคนที่เคยรับอิสลามเพราะมารยาทของมุสลิม
- ที่มาที่ไปของอายะฮฺที่กล่าวถึงมารยาทในการชุมนุมจากเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี
- ภาพของการเรียนการสอนอิสลามที่สวยงามในบางยุคสมัย และบางที่บางแห่งในยุคปัจจุบัน
- ทบทวนมารยาทต่างๆ ที่อัลกุรอานสอนเราอย่างละเอียด
- ห้ามคนที่มาหลังสั่งให้คนที่นั่งอยู่แล้วลุกจากที่นั่งของเขา แต่ถ้าคนที่นั่งอยู่แล้วลุกขึ้นมาเองก็ไม่เป็นไร
- คนที่แบ่งที่นั่งให้กับคนอื่นไม่ต้องเสียใจ เพราะเขาจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺเป็นรางวัลทดแทน
- การมีการศึกษาเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาตัวบุคคลและสังคม


ตอนที่ 8
- มารยาทในการเข้าหาเพื่อคุยกับท่านนบีเป็นการส่วนตัว
- การบริจาคทานก่อนที่จะเข้าหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นการชำระหัวใจให้บริสุทธิ์
- สาเหตุแห่งการประทานอายะฮฺที่เป็นคำสั่งให้จ่ายทานก่อนเข้าหาท่านนบี
- ผลจากการออกคำสั่งให้จ่ายทานก่อนเข้าหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- เป้าหมายสูงสุดของคำสั่งนี้คือเพื่อสอนมารยาทในการให้เกียรติบุคคลที่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับเกียรติ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- เมื่อพลาดโอกาสทำดีประการหนึ่งก็อย่าพลาดโอกาสที่จะทำความดีที่เหลือ
- อายะฮฺแรกอัลลอฮฺตำหนิ แต่อายะฮฺต่อมาเป็นการให้กำลังใจให้ผู้ศรัทธาได้ทำความดีต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน
- การบังคับตัวเองจนเกินขีดจำกัด ทำให้การอิบาดะฮฺไม่มีความสุข
- หิกมะฮฺวิธีการสอนของอัลลอฮฺแก่บรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพฤติกรรมหนึ่งที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วคำสั่งที่เคยเป็นการบังคับก็ได้รับการยกเลิกเพราะบรรลุเป้าหมายแล้ว
- คำอธิบายของบรรดาอุละมาอ์เกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งนี้

ตอนที่ 9
- การเตรียมตัวรับเดือนเราะมะฎอน
- พูดถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมุนาฟิกีนและพวกยิว
- ประจานคุณลักษณะนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกมุนาฟิก
- พฤติกรรมที่ชั่วร้ายอย่างหนึ่งของมุนาฟิกก็คือการแพร่งพรายความลับแก่ศัตรูของอัลลอฮฺ
- สถานะของมุนาฟิกในสายตาของพวกยิวและบรรดาผู้ศรัทธา
- ตักเตือนให้เห็นถึงความน่ากลัวของโรคนิฟาก ต้องระวังจากการตกเป็นมุนาฟิก
- การลงโทษพวกมุนาฟิกในนรกจะเป็นการลงโทษที่อยู่ในนรกชั้นต่ำที่สุด
- การสาบานเท็จของพวกมุนาฟิก และอันตรายที่เป็นผลกระทบร้ายแรงต่อชาวมุสลิม
- ต้องรู้จักคุณลักษณะของมุนาฟิกทั้งภาพภายนอกและความคิดที่เป็นนิสัยของปัจจัยภายใน
- การเรียนรู้คุณลักษณะของมุนาฟิก เพื่อป้องกันตัวเองจากการเป็นมุนาฟิกเอง และป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกมุนาฟิก


ตอนที่ 10
- การเตรียมตัวในเดือนชะอฺบานเพื่อเข้าสู่สถานีแห่งเดือนเราะมะฎอน
- การเตรียมหัวใจสำคัญยิ่งกว่าเตรียมร่างกายด้วยซ้ำ
- ประวัติเกี่ยวกับเดือนชะอฺบานในสมัยอาหรับก่อนและหลังอิสลาม
- หิกมะฮฺบางประการที่อิสลามสั่งให้เอาใจใส่กับเดือนชะอฺบาน
- พวกมุนาฟิกใช้การสาบานเท็จเป็นโล่ป้องกันตัวเอง แต่ส่งผลในการขัดขวางอิสลามไม่ให้เข้าถึงผู้อื่น
- การจำแนกระหว่างการวิเคราะห์พฤิตกรรมมุนาฟิกกับการตัดสินบุคคลว่าเป็นมุนาฟิก
- อันตรายของนิฟากที่มีผลยาวนานจนกระทั่งวันอาคิเราะฮฺ
- มนุษย์จะฟื้นในวันอาคิเราะฮฺด้วยนิสัยเดิมและความยึดติดเดิมที่เคยเป็นโลกดุนยา
- นิฟากที่คลุกเคล้าอยู่ในจิตวิญญาณ คืออะไร มีผลอย่างไรต่อมนุษย์
- ทำไมพวกมุนาฟิกจึงโกหกต่อหน้าอัลลอฮฺ เพราะนึกว่าพระองค์จะไม่ลงโทษเหมือนที่พวกเขาเคยได้รับการยกเว้นในดุนยา
- บทบาทของชัยฏอนในการยุแยงมุนาฟิก

ตอนที่ 11
- สะกิดเรื่องการเตรียมตัวต้อนรับเราะมะฎอน โดยเฉพาะการเตรียมหัวใจ รวมถึงการเตรียมด้านอื่นๆ เช่น ร่างกาย งบประมาณ เป็นต้น
- สรุปเนื้อหาตอนท้ายสูเราะฮฺ ว่าด้วยสัญญาของอัลลอฮฺแก่ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับพระองค์ และผู้ที่เป็นผู้ช่วยเหลือพระองค์
- กำลังใจของคนที่ทำงานเพื่อสันติภาพต้องมีมากกว่าความมุ่งมาดของฝ่ายที่จ้องจะทำลาย
- เรากลัวว่าคนดีจะไม่อดทน จะทำอย่างไรให้ความอดทนของเรามีอยู่ตลอดเวลา
- พวกมุนาฟิกคือพวกที่คอยบั่นทอนกำลังใจผู้ศรัทธา
- ชัยชนะที่อัลกุรอานได้พูดถึงคือชัยชนะด้วยหลักฐาน และชัยชนะในสมรภูมิ
- เมื่อศัตรูของอัลลอฮฺแพ้หลักฐานก็จะใช้วิธีสกปรกแทน
- อายะฮฺสุดท้ายเป็นบรรทัดฐานโดยรวมเกี่ยวกับประเด็นวะลาอ์และบะรออ์
- ตัวอย่างคนในครอบครัวที่พ่อลูกมีความไม่ตรงกันด้านความศรัทธา เช่น นบีอิบรอฮีม นบีนูห์ เป็นต้น
- เรื่องราวของลูกชายหัวหน้ามุนาฟิก ที่ขออนุญาตสังหารพ่อของตัวเองถ้าหากเป็นความประสงค์ของท่านนบี
- ท่านนบีไม่ได้สั่งให้สังหารหัวหน้ามุนาฟิก แต่ท่านใช้ความนุ่มนวลอ่อนโยนในการเผชิญหน้ากับศัตรูตัวฉกาจผู้นี้
- องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลามและซีเราะฮฺนะบะวียะฮฺ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการอธิบายหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ
- เรื่องวะลาอ์และบะรออ์เป็นเรื่องของหัวใจเป็นสำคัญ
- ตัวอย่างของท่านนบี ในการแสดงออกต่อประเด็นวะลาอ์และบะรออ์