วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัน-นัจญ์มฺ






ฟังทาง SoundCloud ที่นี่



ตอนที่ 1 - 2019-8-15- เป็นสูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาหลังจากสูเราะฮ์อัลอิคลาส
- เป็นสูเราะฮ์แรกที่มีคำสั่งให้ก้มกราบ และเป็นสูเราะฮ์แรกที่มีคำสั่งใช้ให้ท่านนบีอ่านเสียงดังต่อหน้าพวกกุเรช ณ มัสยิดอัลหะรอม
- การตั้งโจทย์ของนบีอิบรอฮีม ว่าใครคือพระเจ้าของเขา จากการสังเกตท้องฟ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน
- เราจะรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
- ความสำคัญระหว่างมนุษย์กับดวงดาวในสมัยก่อน
- อิสลามคือศาสนาแห่งวะห์ยู คือ คัมภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮ์ของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- การกล่าวร้ายของพวกมุชริกีนต่อท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านเป็นคนหลงผิดและหลงทาง
- หะดีษที่กล่าวถึงการพูดความจริงของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แม้กระทั่งในการหยอกล้อ
- อัลกุรอานที่มาถึงเราทุกวันนี้ เป็นนิอฺมัตที่ใหญ่หลวงยิ่ง เพราะอะไร?


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Firman



ตอนที่ 2 - 2019-8-22- อัลลอฮ์ตอบโต้มุชริกีนที่ปฏิเสธท่านนบีและวะห์ยู โดยให้เห็นว่าการประทานวะห์ยูนั้นเป็นเรื่องใหญ่ มิใช่เรื่องเล่นๆ
- อัลกุรอานเป็นวะห์ยูทั้งคำพูดและความหมาย
- หะดีษเป็นวะห์ยูเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่ความหมายที่ได้รับการดลใจจากอัลลอฮ์
- อะฮ์ลุซซุนนะฮฺ คือ กลุ่มชนที่ยอมรับหลักฐานที่เป็นอัลกุรอานและหะดีษ
- กระบวนการรับหลักฐานทั้งสองต่างกัน อัลกุรอานนั้นมีความถูกต้องในตัวของมันเอง แต่อัลหะดีษจะต้องมีการตรวจสอบ
- มุสลิมต้องใช้วะห์ยูในการดำรงชีวิต
- หนังสือที่ควรมีติดตามบ้านคือ อัลกุรอานแปลไทย เศาะฮีห์อัล-บุคอรี และเศาะฮีห์มุสลิม
- รากฐานของความรู้ที่สำคัญนั้นคือ วะห์ยู หรือ ความรู้ที่มาจากอัลลอฮ์
- ญีบรีล คือ หัวหน้าของบรรดามะลาอิกะฮฺ ผู้ทรงพลัง แข็งแกร่ง ทรงอำนวจ ซึ่งได้รับหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ คือ สอนท่านนบีด้วยการนำวะห์ยูจากอัลลอฮ์ให้ท่าน
- คุณลักษณะของญีบรีล บางส่วนคือ มีมารยาทที่สง่างาม คุณลักษณะที่สมบูรณ์ มีปีก 600 ปีก บางหะดีษบอกว่าเวลาขยับปีจะมีอัญมณีเพชรพลอยร่วงออกมา
- ช่วงที่ท่านนบีเสียชีวิต มีเศาะหาบะฮฺหญิงท่านหนึ่งร้องไห้ เนื่องจากเสียใจที่หลังจากนี้จะไม่มีวะห์ยูอีกต่อไป จะไม่มีญีบรีลลงมาอีก
- เหตุผลที่อัลลอฮ์เลือกญีบรีลรับหน้าทีในการนำวะห์ยูให้กับท่านนบี คือ เป็นหลักประกันว่าวะห์ยูของพระองค์จะได้รับการดูแลอย่างดี
- อัร-รูห์ อัล-อามีน วิญญาณผู้ซื่อสัตย์ ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ และแข็งแกร่งสามารถที่จะปกป้องวะห์ยูได้ เป็นฉายาของญิบรีล
- ญีบรีล เคยแสดงตัวตนที่แท้จริงให้ท่านนบีเห็น 2 ครั้ง ครั้งแรก ท่านนบีขอให้ท่านญีบรีลเผยร่าง ญีบรีลก็เลยยืนบนอวกาศ (บนท้องฟ้า) ด้านทิศตะวันออก ท่านนบีก็เห็นร่างของญีบรีลใหญ่มหึมา เต็มท้องฟ้า
- ญีบรีลสอนท่านนบีตัวต่อตัว ในระยะประชิดตัว เหมือนระยะห่างระหว่างปลายทั้งสองของคันธนู
- อธิบายลักษณะของผู้สอนนั้นคือญีบรีล
- ท่านนบีเห็นญีบรีลในร่างจริงอีกครั้ง ณ สถานที่ๆ เรียกว่า สิดเราะตุล มุนตะฮา (สุดเขตที่มัคลูกจะสามารถเข้าไปได้ เป็นเขตของอัลลอฮ์)
- สิดเราะตุล มุนตะฮา ถูกปกคลุมไปด้วยสิ่งที่ไม่สามารถพรรณาได้
- ท่านนบีมีมารยาทในการเข้าเฝ้าอัลลอฮ์ ท่านไม่ละสายตาไปดูอย่างอื่นถึงแม้ว่าสิ่งรอบตัวจะมีความน่าสนใจมากขนาดไหนก็ตาม


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Mus-ab




ตอนที่ 3 (อายะห์ที่ 19-26) - 2019-8-29- บรรดามุชริกีนได้ปฏิเสธวะห์ยูจากอัลลอฮ์ แถมยังโต้เถียง และใส่ร้ายท่านนบีต่างๆ นานา อัลลอฮ์ตะอาลาจึงตั้งคำถามเพื่อที่จะหักล้าง และตำหนิประณามพวกเขา
- อัล-ลาต คือรูปปั้นที่บรรดามุชริกีนกราบไหว้บูชา ซึ่งมีความหมายทางภาษาและทางความเชื่อว่า "อัลลอฮ์"
- เช่นเดียวกันกับรูปปั้นตัวอื่นๆ อย่าง อัล-อุซซา และมะนาต พวกเขาตั้งชื่อเพื่อที่จะเทียบเคียงกับอัลลอฮ์
- ความคิดที่ผิดเพี้ยนของบรรดามุชริกีน พยายายามทำทุกอย่างให้เหมือนกับที่อัลลอฮ์ให้มา
- บรรดามุชริกีนเชื่อว่า มะลัก (มลาอิกะฮ์) เป็นเพศหญิง และยังชื่อว่าพวกเขาเป็นลูกสาวของอัลลอฮ์ ทั้งที่ตัวมุชิริกีนเองเกลียดการมีลูกสาว
- สิ่งที่ท่านนบีได้นำเสนอให้กับชาวมุชริกีนนั้น ล้วนมีหลักฐานมาสนับสนุนที่เป็นวะห์ยูจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น
- สิ่งที่บรรดามุชริกีนได้คิดและปฏิบัตินั้น ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่เป็นวะห์ยูจากอัลลอฮ์ แต่เกิดจากการคาดเดา สงสัย และอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนทั้งนั้น
- พวกเขาโต้เถียงท่านนบี ใช้ชีวิตอยู่กับความมืดมนและอารมณ์ใฝ่ต่ำ อยู่กับพระเจ้าจอมปลอมมาทั้งชีวิต โดยไม่มีแหล่งที่มาที่เป็นหลักฐานที่ชัดแจ้ง แต่เมื่อท่านนบีนำแสงสว่าง นำวะห์ยูจากอัลลอฮ์มา พวกเขากลับปฏิเสธ
- บรรดามุชริกีนสร้างรูปปั้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮ์ หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือในวันอาคิเราะฮฺ ทั้งๆ ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ให้ประโยชน์อะไรกับพวกเขาเลย
- ผู้ที่จะให้ในสิ่งที่พวกเจ้าหวัง ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หาใช่รูปปั้นที่พวกเจ้าสร้างกราบไหว้บูชา แต่เป็นอัลลอฮ์ พระผู้ทรงสร้างและผู้ควบคุมทุกสิ่งอย่างทั้งโลกนี้และโลกหน้า
- มะลาอิกะฮ์บนท้องฟ้าที่อัลลอฮ์ทรงสร้างมีจำนวนมากกว่ารูปปั้นที่พวกเขากราบไหว้บูชา ยังไม่มีความสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่มนุษย์ นับประสาอะไรกับรูปปั้นไม่กี่รูปที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
- บรรดามุชริกีนได้ตั้งภาคีกับอัลลอฮ์ กล่าวหาใส่ร้ายท่านนบีไว้มากมาย แต่ก็ยังหวังว่าจะได้รับสิ่งดีๆ หวังว่าจะได้รับความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการหวังแบบลมๆ แล้งๆ ที่เป็นไปไม่ได้
- มุสลิมผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ เมื่อต้องการในสิ่งที่ตนเองคาดหวังจากอัลลอฮ์ ต้องปฏิบัติตัวให้เหมาะกับสิ่งที่ตัวเองคาดหวัง หาใช่หวังลมๆ แล้งๆ เหมือนกับบรรดามุชริกีน


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Ausman Abdullah




ตอนที่ 4 - 2019-9-5
- การถือศีลอดสุนัตในเดือนมุหัรร็อม(วันอาชูรออ์)ควรถือศีลอดให้ได้ 3 วัน คือ วันที่ 9,10,และ 11
- หรือถือศีลอดให้ได้ 2 วัน คือ วันที่ 9 กับวันที่10, หรือวันที่ 10 กับ วันที่ 11 แต่ไม่ควรพลาดวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม
- การถือศีลอดวันอาชูรออ์เป็นแบบอย่างของท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮ์
- วันอาชูรออ์ คือ วันที่ท่านนบีมูซานำชาวบนีอิสรออีลหนีจนปลอดภัยจากการไล่ล่าของฟิรเอาน์
- การถือศีลอด คือ การขอบคุณอัลลอฮ์
- ทุกอย่างในโลกนี้และบรรดามะลาอิกะฮ์ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ใดได้เลยหากอัลลอฮ์ไม่อนุญาต
- อัล-ลาตเป็นรูปปั้นประจำชาวฏออิฟ อัล-อุซซาประจำชาวกุเรช และมะนาตประจำชาวยัษริบ
- ผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือ ชะฟาอะฮ์ นั้น พระองค์ต้องพอพระทัยเขา
- พวกมุชริกีนคาดเดาว่าบรรดามะลาอิกะฮ์เป็นเพศหญิง
- เรื่องราวที่มาจากการคาดเดาไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเรื่องจริงได้เลย
- อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮ์
- เราต้องหาความจริงให้เจอและต้องบอกให้ได้ว่าความจริงนั้นนำมาจากไหน
- อัซ-ซ็อน คือ การคาดเดา
- พฤติกรรมของผู้ที่บูชาเจว็ดเป็นพฤติกรรมของการคาดเดา
- อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบีอย่าได้น้อยใจกับพวกที่บูชาเจว็ด จงทำงานของท่านต่อไป อย่าใส่ใจหากพวกเขาไม่ศรัทธา
- ท่านนบีมุหัมมัดเป็นผู้ที่มีความเมตตา
- พวกปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาต้องการความรู้เฉพาะโลกนี้เท่านั้น
- ความรู้ที่สามารถที่จะนำเราไปในโลกหลังความตายได้นั้น คือความรู้จากคัมภีร์อัลกุรอาน
- ดุอาอ์ของท่านนบี อย่าให้โลกนี้เป็นเรื่องใหญ่กว่าภารกิจอื่นๆ ในชีวิตเรา
- อัลลอฮ์เป็นผู้ปกครองทุกอย่างบนโลกใบนี้
- เมื่อเราขอจากพระองค์เราก็ต้องรู้จักขอบคุณพระองค์
- ผู้ที่ปฎิบัติดีพระองค์ก็จะตอบแทนในสิ่งที่เขาทำ และคนที่ปฎิบัติชั่วพระองค์ก็จะตอบแทนในสิ่งที่เขาทำเช่นกัน
- คนดี คือ คนที่ห่างไกลจากบาปใหญ่และสิ่งลามกทั้งหลาย และไม่จำเป็นว่าต้องบริสุทธิ์จากความผิดพลาดเล็กน้อย
- อัลลอฮ์ทรงรู้จักเราดียิ่งกว่าตัวเราเอง ดังนั้น อย่าประกาศอย่างโอหังว่าตัวเองนั้นเป็นผู้ที่บริสุทธิ์แล้ว


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Shamil



ตอนที่ 5 - 2019-9-12
- การเรียนอัลกุรอาน สิ่งสำคัญคือการหาบทเรียนที่ซุกซ่อนอยู่ในอายะฮ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็ณกฎเกณ์ หรือ คติ หรือเครื่องมือที่เราจำใช้ดำรงชีวิตอยู่อย่างเข้าใจมากขึ้น
- ความสุขของผู้เรียนอัลกุรอาน คือ การที่เขาอ่าน ทำความเข้าใจ แล้วเจอความลับที่สามารถยึดมาใช้ในชีวิตจริงของเขา
- วะห์ยูของอัลลอฮจะทำให้เราเจอบั้นปลายที่ดี บั้นปลายนั้นคือชีวิตหลังความตาย
- ไม่มีหนังสือเล่มใดที่กล่าวถึงเรื่องราวหลังความตาย
- ความรู้ของมนุษย์นั้นมีจำกัด ต้องพึ่งวะห์ยู เพื่อให้เข้าใจถึงชีวิตหลังความตาย
- อายะฮ์ 31 อายะฮ์กลุ่มนี้ กล่าวถึงผู้ใช้ชีวิตด้วยวะห์ยูที่มีความชัดเจนจากอัลลอฮ มีแหล่งอ้างอิงที่มาที่ไป กับคนอีกกลุ่มที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการคาดเดา และตามอารมณ์
- อัลลอฮฺสั่งใช้ให้ท่านนบีไม่ต้องไปใส่ใจกับกลุ่มคนดื้อดึงกลุ่มนี้ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปให้ดี
- สำหรับผู้ที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ ดำเนินรอยตามท่านนบี อัลลอฮจะตอบแทนเขาด้วยสิ่งที่ดี
- ผู้ที่เข้าสวรรค์ คือ ผู้ที่ละทิ้งบาปใหญ่ และโสมม(อัลฟาวาหิช) เว้นแต่มีความผิดพลาดเล็กน้อย(บาปเล็ก)
- บาปอัลฟาวาหิช คือ บาปที่สติปัญญาเข้าถึงได้ รู้ได้ว่าเป็นบาป ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานหรือวะห์ยูระบุไว้ เช่น การลักขโมย การผิดประเวณี การฆ่าคนอื่น
- บาปใหญ่ (กาบาอิร อัลอิซมฺ) คือ บาปที่สติปัญญาอาจจะไม่เข้าถึง ต้องมีวะห์ยูระบุ เช่น การละหมาดนอกเวลาของมัน การละหมาดไม่มีน้ำละหมาด
- ไม่ควรด่าว่า หรือวิจารณ์ผู้ที่อาจจะกำลังทำผิด เนื่องจากเขาอาจจะพลาดพลั้ง
- การเข้าสวรรค์ของมนุษย์ไม่ได้เข้าเพียงเพราะความดีของเขา แต่เป็นเพราะความเมตตาอันกว้างขวางของอัลลอฮฺที่ทรงอนุญาตให้ได้เข้าสวรรค์
- ไม่มีนุษย์คนใดที่ปราศจากความผิดบาป
- อัลลอฮฺทรงรู้ว่ามนุษย์นั้นอ่อนแอ เพราะฉะนั้นอัลลอฮฺจึงยกเว้นให้มนุษย์เป็นคนดีได้ ถึงแม้จะมีบาปเล็กก็ตาม
- เมื่ออัลลอฮฺให้อภัยเราได้ ทำไมเราจึงให้อภัยความผิดพี่น้องของเราไม่ได้
- โรคคนดีที่ต้องระวัง คือ โรคที่รู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น
- เราไม่สามารถรู้ได้ว่าความดีไหน ที่อัลลอฮุตะอาลา รับ
- ท่านนบีเปรียบการชมผู้อื่น เสมือนการบั่นคอคนๆ นั้น
- ท่านนบีกล่าวว่า หากจำเป็นที่ต้องชมผู้อื่น ให้พูดว่า ฉันคิดว่า..เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ และอัลลอฮฺทรงรู้ดีว่าเขาผู้นั้นเป็นอย่างไร
- ผู้ที่ถูกชม ท่านนบีแนะนำการป้องการมารร้ายมากระซิบกระซาบ ไม่ให้เกิดการตะกับบุร คือ ให้อ่านดุอาอ์

اللهم لا تؤاخذني بما يقولون .. واغفر لي ما لا يعلمون .. واجعلني خيرا مما يظنون

- บทสรุปอายะฮฺเหล่านี้สอนให้เรามองผู้อื่น และมองตนเองอย่างไร และอย่าได้ทะนงตนในความดีของตนเอง เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะนำไปอวดดีกับผู้อื่นได้ อัลลอฮุตะอาลาเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่รู้ดีว่าใครยำเกรงว่าดีกว่า

*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Mus-ab


ตอนที่ 6 - 2019-9-19
- ทุกครั้งที่เรามาศึกษาอัลกุรอาน หัวใจของเราจะได้รับการแสกนด้วยอัลกุรอานด้วย
- การศึกษาอัลกุรอานเป็นทั้งการเสริมด้านจิตวิญญาณและการเสริมปัญญาด้วยความรู้
- สภาพบั้นปลายระหว่างสองแนวทางการดำเนินชีวิต ฝั่งหนึ่งใช้วะห์ยู อีกฝ่ายหนึ่งใช่การคาดเดาของฮาวานัฟซู
- กลุ่มอายะฮ์ที่เป็นการตักเตือนตรงๆ กับคนที่ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ในบรรดาพวกมุชริกีน
- อธิบายสาเหตุของการประทานอายะฮ์ เกี่ยวกับอัลวะลีด บิน อัลมุฆีเราะฮ์
- พวกมุชริกีนกล้าล้อเลียนถากถางต่อคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และทำเป็นเล่นๆ
- อัลลอฮ์ทรงตอบโต้พฤติกรรมของอัลวะลีดที่หันหลังให้กับอิสลาม เพราะคำพูดของคนที่มาหว่านล้อมเขาว่าจะยอมรับบาปแทนเขา โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องศรัทธาต่ออัลลอฮ์
- ประเด็นเรื่องการรับผิดแทนคนอื่น เป็นสิ่งที่อัลกุรอานปฏิเสธว่าไม่สามารถเป็นไปได้โดยเด็ดขาด
- อัลกุรอานตั้งคำถามเหตุใดพวกมุชริกีนไม่ลองถามชาวคัมภีร์ซึ่งพวกเขาเคยขอคำปรึกษามาหลายเรื่อง แต่เหตุใดเรื่องนี้จึงไม่ไปขอหารือจากพวกเขาบ้าง
- รายละเอียดของการแบกรับบาปและการโอนบาป ได้หรือไม่ได้อย่างไรส่วนไหนบ้าง
- ในขณะที่การแบ่งส่วนบุญก็มีประเด็นที่ได้หรือไม่ได้ตามรายละเอียดที่บรรดาอุละมาอ์อธิบายไว้
- กฎทั่วๆ ไป คือ ไม่สามารถแบ่งบาปหรือบุญของเราให้คนอื่นได้
- มีการถกเถียงกันในทัศนะของอุละมาอ์เกี่ยวกับอายะฮ์ที่บอกว่าผู้อื่นไม่สามารถรับแบ่งบุญของคนอื่น
- ตัวอย่างของการได้บุญมาแบบเปล่าๆ โดยที่เราไม่ได้ลงมือทำเอง
- ทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ว่าด้วยการยกผลบุญการอ่านอัลกุรอานให้คนตาย
- เศาะดะเกาะฮ์ให้คนตายถึงผู้ตายแน่นอน เป็นทัศนะที่เห็นตรงกันระหว่างอุละมาอ์
- ข้อเสนอแนะให้มีการจัดการเศาะดะเกาะฮ์สำหรับบุพการี ให้เป็นกิจกรรมในครอบครัว
- สามประการที่จะมีผลบุญไม่ขาดสายแม้ว่าเราจะตายไปแล้วก็ตาม
- กฎทั่วไปก็คือ ผลบุญของใครก็เป็นของเขา ไม่สามารถแบ่งให้คนอื่นได้ เว้นแต่อะมัลบางประการที่มีระบุในหะดีษว่าส่งผลให้คนอื่นได้ด้วย
- ตัวอย่างของการงานที่สามารถส่งผลประโยชน์ให้กับบุคคลอื่น ตามที่ระบุให้หะดีษ
- พวกเราทุกคนจะได้เห็นผลบุญของเราเองในวันกิยามะฮ์

ตอนที่ 7 - 2019-9-26  อายะฮ์ที่ 40 เป็นต้นไป
- เรื่องราวอื่นเพิ่มเติมในคัมภีร์ของมูซากับอิบรอฮีมที่พวกมุชริกีนควรจะตั้งคำถาม
- ในวันอาคิเราะฮ์มนุษย์จะได้เห็นความดีที่เขาทำตอนที่อยู่ในดุนยา เพื่อเป็นการให้เกียรติเขา
- ทุกคนต้องกลับไปหาอัลลอฮ์ ถ้าหากมนุษย์คิดเรื่องนี้ได้เขาอาจจะเยียวยาปัญหาในดุนยาได้
- หากอาคิเราะฮ์เป็นเรื่องที่ไกลเกินไป ก็ให้มนุษย์มองตัวเขาเองก่อนเพราะใกล้ตัวเขาที่สุด
- การหัวเราะและการร้องไห้ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เกิดได้อย่างไร เคยคิดไหม?
- อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ล้วนสอนเราได้หมด ให้เราผูกพันกับอัลลอฮ์
- การที่อัลลอฮ์สร้างทุกอย่างให้เป็นคู่ ก็เป็นบทเรียนแก่มนุษย์
- ตัวอย่างความมหัศจรรย์ที่อัลลอฮ์สร้างมาให้กับเรา ซึ่งล้วนไม่ใช่ความบังเอิญแน่นอน
- อัลลอฮ์คือผู้ทรงกำหนดความร่ำรวยและความมั่งมีแก่มนุษย์
- อัลลอฮ์คือผู้ทรงช่วยเหลือให้มนุษย์สามารถเก็บทรัพย์สินของตนเองไว้ได้
- อัลกุรอานสามารถให้กำลังใจกับเราได้โดยตรงและโดยอ้อม เป็นความมหัศจรรย์ที่รู้ใจมนุษย์ทุกอย่าง
- อัลกุรอานเป็นวิชาชีวิต พัฒนาชีวิตอย่างไรให้เป็นผู้สำเร็จในอาคิเราะฮ์
- จากเรื่องอาคิเราะฮ์ กลับมาพูดถึงเรื่องร่างกายและอารมณ์ของมนุษย์ จากนั้นก็ย้ายไปพูดเรื่องจักรวาล
- ดาวชิอฺรอ กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ซีรีอุส ถูกพูดถึงเพื่อบอกว่าดาวพวกนี้ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิใดๆ เหมือนที่พวกมุชริกีนเข้าใจ
- บทสรุปสุดท้าย วิชาชีวิตเราต้องพึงวะห์ยูเท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วมนุษย์ก็อาจจะยึดสิ่งต่างๆ เป็นที่พึ่งตามใจตัวเอง

ตอนที่ 8 - 2019-10-3
- (ในคลิปผู้บรรยายพูดผิดว่าเป็นสูเราะฮ์ อัล-เกาะมัร ที่ถูกต้องคือสูเราะฮ์ อัน-นัจญ์มฺ)
- วิธีการเรียกร้องของอัลกุรอาน อันดับแรกให้เอาบทเรียนจากอาคิเราะฮ์ ต่อมาให้ถอดบทเรียนจากเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
- ต่อให้เอาบทเรียนจากจักรวาล และในที่สุดก็พูดถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชนที่เคยที่ถูกทำลาย
- อ๊าดพวกแรก กับ อ๊าดพวกที่สอง คือใคร?
- เหตุใดที่พวกของนบีนูห์จึงอธรรมยิ่งกว่า
- พวกที่ถูกพลิกเมือง คือพวกไหน?
- การทำลายประชาชาติที่อธรรมเป็นนิอฺมัตของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
- ด้วยนิอฺมัตอันใดอีกที่พวกเจ้ายังสงสัยกันอยู่
- ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ล้วนถูกระบุในอัลกุรอานทั้งสิ้น และเป็นคำเตือนจากอัลลอฮ์
- ระบบการเตือนมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร
- เรื่องดุนยายังมีคำเตือน ดังนั้นอาคิเราะฮ์ก็ต้องมีระบบเตือนด้วยเช่นกัน
- หากแหกคำเตือนในดุนยายังพังขนาดนี แล้วหากแหกคำเตือนของอาคิเราะฮ์จะหายนะขนาดไหน
- สูเราะฮ์นี้กำลังเน้นการปฏิบัติตามวะห์ยู เพราะวะห์ยูคือระบบเตือนเกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ที่ถูกต้องและดีที่สุด
- พวกมุชริกีนมองวะห์ยูเป็นเรื่องแปลกประหลาด และยังหัวเราะเยาะต่อวะห์ยู
- การร้องไห้มีความสำคัญอย่างไรสำหรับชีวิตผู้ศรัทธา
- ให้เราได้รับบทเรียนจากวะห์ยูของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านท่านนบี