วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาตัฟสีรฺ สูเราะฮฺ อัล-มุดดัษษิร




อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุดัษษิร และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดแปดตอน เป็นบทเรียนที่อัลลอฮฺได้สอนและฝึกฝนวิธีการเผยแพร่สัจธรรมแก่มวลมนุษย์ให้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เนื้อหาที่นำเสนอในสูเราะฮฺจะเน้นประเด็นการเตือนสำทับให้ศรัทธาในวันอาคิเราะฮฺและเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น และได้เล่าถึงผลตอบแทนอันชั่วร้ายของบรรดาผู้ที่ต่อต้านสัจธรรมและดื้อด้านต่อท่านนบี อีกทั้งได้เยาะเย้ยล้อเลียนการสั่งสอนของท่าน

คลิกฟังและดาวน์โหลดไฟล์เสียงจากเว็บอิสลามเฮ้าส์ ที่นี่.
https://islamhouse.com/th/audios/2816646/


สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 1

- ความสัมพันธ์ระหว่างสูเราะฮฺอัล-มุดัษษิรและอัล-มุซัมมิล ในการอธิบายของอิมามอัส-สะอฺดีย์

- อธิบายความหมายของคำว่าอินซารฺ

- เป้าประสงค์ของการอินซารฺและการดะอฺวะฮฺทั้งด้วยคำพูดหรือการกระทำ คือการเปลี่ยนสภาพที่ชั่วร้ายให้เป็นสภาพที่ดี

- หน้าที่การสนับสนุนความดีห้ามปรามความชั่วเป็นหน้าที่มุสลิมทุกคน แม้กระทั่งการเปลี่ยนด้วยหัวใจ

- พื้นฐานหน้าที่ของผู้ที่ทำงานในการอินซารฺตามที่อัลลอฮฺใช้สอนในสูเราะฮฺอัล-มุดัษษิร

- ความสวยงามของคำสอนอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานดะอฺวะฮฺ

- รูปลักษณ์ภายนอกก็มีความสำคัญต่อการทำงานไม่แพ้ปัจจัยภายใน




ตอนที่ 2

- อายะฮฺที่ 1 ถึง 7 เป็นกลุ่มอายะฮฺที่เป็นการฝึกฝนคุณลักษณะพื้นฐานของดาอีย์

- ทัศนคติของดาอีย์ต้องปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้สามารถเท่าทันที่จะรับมือการเผชิญหน้าอุปสรรคต่างๆ 

- ดาอีย์ไม่ควรเป็นหนี้บุญคุณคนอื่น เพื่อไม่ให้เกิดความอึดอัดและลำบากใจเวลาทำงานดะอฺวะฮฺ

- การอดทนด้วยอัลลอฮฺ และ เพื่ออัลลอฮฺ อธิบายรายละเอียดว่าด้วยการอดทนต่อสัญญาของอัลลอฮฺ

- เรื่องราวของเชคบินบาซกับเชคอับดุลลอฮฺ อัต-ตุรกีย์ 




ตอนที่ 3

- อัลกุรอาน คือตัวบำบัดความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายและไร้ค่าของชีวิต ท่ามกลางสังคมที่คนส่วนใหญ่ชอบอยู่ในโลกโซเชียล

- อัลกุรอานคือเพื่อนสนิท เป็นตัวบำบัดจิตใจของเราได้ตลอดเวลา

- เนื้อหาในการอินซารฺ คือการพูดถึงวันอาคิเราะฮฺ

- ความยุ่งยากในวันอาคิเราะฮฺ โดยเฉพาะบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา

- ผู้ศรัทธาจะได้รับความง่ายดาย ซึ่งสวนทางกับคนที่ไม่ศรัทธา

- ยกตัวอย่างสภาพความยุ่งยากในวันอาคิเราะฮฺ

- กล่าวถึงอัล-วะลีด บิน อัล-มุฆีเราะฮฺ คู่กรณีที่เป็นตัวบุคคลสำคัญซึ่งอัลลอฮฺเอามาอธิบายเรื่องราวของเขาในสูเราะฮฺนี้

- การตอบโต้ของอัลลอฮฺต่อกรณีการแข็งขืนดื้อด้านของอัล-วะลีด

- นี่คือตัวอย่างการอินซารในรูปแบบหนึ่ง จากหลายๆ วิธีการนำเสนอในอัลกุรอาน




ตอนที่ 4

- ความหลากหลายของตำราตัฟสีรที่ควรแก่การทบทวนและพยายามศึกษาให้มากที่สุด 

- กล่าวถึงการที่อัลลอฮฺประกาศจะทรงจัดการกับอัล-วะลีด ด้วยพระองค์เอง 

- ในเมื่อพระองค์เป็นผู้ให้อัล-วะลีดบังเกิดและมีทรัพย์สมบัติมากมาย พระองค์ก็ย่อมสามารถที่จะทำลายทุกอย่างเหล่านั้นได้ไม่ยาก

- เหตุใดคนอาหรับจึงชอบลูกชายและไม่ชอบลูกสาว

- ลักษณะการลงโทษที่อัลลอฮฺเตรียมไว้เฉพาะสำหรับคนที่โอหังเยี่ยงอัล-วะลีด

- เหตุการณ์ตัวอย่างที่กล่าวถึงความดื้อรั้นของอัล-วะลีด และสาเหตุที่อัลลอฮฺได้ลงโทษเขาอย่างสาสมกับพฤติกรรมของเขา

- เรื่องราวระหว่างอบู ญะฮัล กับ อัล-วะลีด 

- คำพูดของอัล-วะลีดต่อความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน 

- เหตุการณ์ที่อัล-วะลีดมีอาการเครียด เพื่อสรรหาคำพูดมากุเรื่องกล่าวหาอัลกุรอานและท่านนบีมุหัมมัด

- การกล่าวหาของพวกมุชริกีนว่าอัลกุรอานเป็นสิหิรฺ/หรือไสยศาสตร์ เป็นอาชญากรรมที่ใหญ่หลวงมาก

- คุณลักษณะของนรกสะก็อรฺที่จะใช้ลงโทษคนดื้อรั้นอย่างอัล-วะลีด




ตอนที่ 5

- เกริ่นนำเกี่ยวกับความประเสริฐของ 10 วันแรกเดือนซุลหิจญะฮฺ

- กล่าวถึงสภาพของบรรดาหุจญาตที่กำลังวุกูฟ ณ ทุ่งอะเราะฟาตที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน

- พูดถึงความดื้อรั้นของพวกมุชริกีนและการเยาะเย้ยด้วยการเอาเรื่องจำนวนมลาอิกะฮฺที่เฝ้านรกมาเป็นเรื่องขบขัน

- อายะฮฺที่ 31 เป็นการทดสอบหรือฟิตนะฮฺแก่พวกมุชริกีน

- มลาอิกะฮฺที่เฝ้านรกทั้ง 19 ท่านไม่ได้เป็นบุคคลเยี่ยงมนุษย์ 

- จะรู้จักความน่ากลัวและความใหญ่หลวงหนักหนาของนรกสะก็อร ต้องรู้จักข้อเท็จจริงของมะลาอิกะฮฺที่เฝ้ามัน

- คุณลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะลาอิกะฮฺและนรก

- ถ้าพวกกาฟิรรู้จักมะลาอิกะฮฺและนรกจริงๆ จะไม่พูดเยาะเย้ยดังกล่าว

- อายะฮฺนี้เป็นฟิตนะฮฺแก่กาฟิรฺ เพิ่มความมั่นใจแก่ชาวคัมภีร์ เพิ่มความศรัทธาแก่มุอ์มิน

- การพูดถึงนรกหรือประเด็นอากีดะฮฺจะต้องไม่ใช่แค่พูดถึงแค่ภายนอก 

แต่ต้องซึมซับบทเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและลึกซึ้งในศรัทธาด้วยการผูกโยงกับอาคิเราะฮฺให้มากที่สุด

- สรุปจุดหมายในการเรียนคือต้องการให้เราได้รับซิกรอ/บทเรียน และยิ่งกลัวอัลลอฮฺมากขึ้น




ตอนที่ 6

- การขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺรับจากทำงานของเราถึงแม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม 

- การขอให้อัลลอฮฺรับอะมัลของเรา ส่วนไหนที่แหว่งๆ หรือบกพร่อง ก็ขอให้อัลลอฮฺอภัยให้

- แง่คิดบางประการหลังจากเสร็จสิ้นพิธีหัจญ์และช่วงเวลาสิ้นปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช

- สรุปเรื่องมะลาอิกะฮฺผู้เฝ้านรกจากอายะฮฺฟิตยะฮฺก่อนหน้านี้

- การสาบานของอัลลอฮฺด้วยมัคลูกต่างๆ บางประการเพื่อลบล้างความคิดชั่วร้ายและมุมมองผิดๆ ของบรรดากาฟิรที่เยาะเย้ยและทำเล่นๆ กับนรก

- ความยิ่งใหญ่ของนรกมีไว้เพื่อเตือนมนุษย์ 

- หัวใจของมนุษย์ไม่มีอายุ หมายถึงอาจจะมีระดับเดียวกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ มันอาจจะมีแต่หัวใจที่อ่อนโยนกับแข็งกระด้างเท่านั้น

- ความหมายของการไปข้างหน้า และการถอยหลัง ที่อายะฮฺอัลกุรอานกล่าวถึง 

- อธิบายความเข้าใจเรื่องความต้องการของอัลลอฮฺกับความต้องการของมนุษย์

- ทุกชีวิตถูกจองจำด้วยอะมัลหรือมีหนี้ติดตัวที่จะต้องปลด ด้วยการศรัทธาและทำความดี

- เราจะปัดความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเองไม่ได้ 

- การปลดหนี้ที่หมายถึงเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ดูเป็นเรื่องหนักในความรู้สึกของคนที่ไม่ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

- อายะฮฺที่บอกว่ามนุษย์ติดหนี้กับอัลลอฮฺ มีนัยแห่งการเตือนสำทับมนุษย์ไว้ด้วย




ตอนที่ 7

- การนั่งชุมนุมและการพูดคุยกันเองระหว่างชาวสวรรค์ และระหว่างชาวนรก รวมถึงการสนทนาระหว่างชาวสรรค์กับชาวนรก

- สาเหตุที่ทำให้บุคคลต้องเข้านรกประการแรก คือ การละทิ้งการละหมาด

- อิทธิพลของการละหมาด ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างคนที่รักษาการละหมาดและผู้ที่ไม่รักษาการละหมาด

- การละหมาดคือวิธีการเอาชนะปัญหา และทางรอดสำหรับความทุกข์ยากในโลกดุนยา

- เหตุใดที่ผู้ที่ละทิ้งละหมาดจึงสมควรได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺ

- การละทิ้งละหมาดคืออาชญากรรมประการหนึ่งในทัศนะของอัลกุรอาน

- สาเหตุอีกประการหนึ่งทีทำให้บุคคลต้องรับการลงโทษในนรก ก็คือ การละเลยในการช่วยเหลือคนยากจน

- ละหมาดเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิทธิของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งต่างก็มีความสำคัญ

- ผู้ให้ต้องคิดว่าตัวเองมีความจำเป็นในการทำเศาะดะเกาะฮฺ มากกว่าคนที่มาขอรับมองว่าตัวเองจำเป็นต้องขอเศาะดะเกาะฮฺ

- ผู้ในเศาะดะเกาะฮฺควรต้องขอบคุณอัลลอฮฺถ้ามีคนมาขอเศาะดะเกาะฮฺกับเขา (พลิกมุมมอง นาที 24) 

- คนใกล้ตายอยากที่จะขอบริจาค มากกว่าที่จะทำอย่างอื่น เพราะอะไร?

- สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ตกนรก คือการอยู่ร่วมกันพวกที่ชอบทำเลว ทั้งในด้านคำพูดหรือการกระทำ

- ความมั่นใจจะเกิดขึ้นด้วยการอ่านอัลกุรอาน คำถามคือมีความกล้าไหมที่จะเรียนอัลกุรอาน 

- เหตุใดมนุษย์จึงไม่กล้าที่จะเรียนอัลกุรอาน




ตอนที่ 8

- ชาวนรกยอมรับถึงความผิดของตัวเองยามที่ต้องโทษในนรก

- อธิบายเงื่อนไขของการชะฟาอะฮฺในวันกิยามะฮฺ

- คนกาฟิรจะไม่มีวันจะได้รับชะฟาอะฮฺให้ออกจากนรกโดยเด็ดขาด

- บทกวีของอิมามชาฟิอีย์เกี่ยวกับการชะฟาอะฮฺ

- อัลกุรอานตั้งคำถามว่าเหตุใดบรรดากาฟิรจึงวิ่งหนีออกห่างจากความจริง

- การเปรียบเทียบสภาพของคนที่วิ่งหนีออกจากความจริง เหมือนสภาพของม้าลายที่วิ่งหนีจากสิงโตหรือนักล่า

- ข้ออ้างต่างๆ ของผู้ที่ไม่ยอมศรัทธาต่ออัลกุรอาน

- อัลกุรอานสามารถที่จะให้ประโยชน์กับผู้ศรัทธาได้ทุกคนแม้กระทั่งกับคนพิการ แต่บางคนกลับไม่ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอานเพราะไม่ได้ศรัทธา

- การศรัทธาคือกุญแจที่จะทำให้บุคคลได้เห็นคุณค่าอันมากมายในอัลกุรอาน

- เราเป็นผู้เลือกเองว่าเราจะเปลี่ยนแปลงกับอัลกุรอานหรือไม่ต้องการ

- ความแตกต่างระหว่างแนวคิดเกาะดะรียะฮฺและญะบะรียะฮฺ

- การเข้าใจตามอัลกุรอานจะทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ซับซ้อน

- ทำไมเมื่อพยายามแล้วจึงต้องขอดุอาอ์ หรือต้องทำด้วยพร้อมๆ กับการขอดุอาอ์

- อะไรคือความหมายจริงของคำว่ากลัวอัลลอฮฺหรือตักวาต่ออัลลอฮฺ



วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ว่าด้วยการอ่านอัลกุรอาน


บทความนี้แปลจาก : 
كتاب تلاوة القرآن من كتاب الأذكار للنووي
กิตาบว่าด้วยการอ่านอัลกุรอาน จากหนังสือ อัล-อัซการ ของอิมาม อัน-นะวะวีย์ 
ตัครีจญ์และตะอฺลีก โดย อัลดุลกอดิรฺ อัล-อัรนาอูฏ


-----------------------------



พึงทราบเถิดว่า การอ่านอัลกุรอานเป็นการซิกิร(กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ)ที่ประเสริฐที่สุด และสิ่งที่จำเป็นในการอ่านก็คืออ่านด้วยการตะดับบุร(ค่อยๆ อ่านอย่างตั้งใจเพื่อซึมซับความหมาย)

การอ่านอัลกุรอานนั้นมีมารยาทและจุดประสงค์ต่างๆ อยู่ด้วย แท้จริงมีการเรียบเรียงตำรับตำราว่าด้วยเรื่องดังกล่าวมากมายแล้ว เช่นตำราว่าด้วยมารยาทของนักอ่านและการอ่านอัลกุรอาน คุณลักษณะของการอ่านและสิ่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เป็นการควรที่ผู้ศึกษาอัลกุรอานจะไม่รู้ในเรื่องดังกล่าว ทว่าในหนังสือนี้ข้าพเจ้าต้องการจะชี้ให้เห็นถึงจุดหมายเหล่านั้นอย่างย่อๆ และข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายอย่างยืดยาวและชัดเจนแล้วในที่อื่น (อัน-นะวะวีย์ ได้เรียบเรียงหนังสือเฉพาะอีกเล่มว่าด้วยมารยาทของผู้ที่ต้องการศึกษาอัลกุรอานมีชื่อว่า อัต-ติบยาน ฟี อาดาบ หะมะละติล กุรอาน – ผู้แปล) ขออัลลอฮฺประทานเตาฟีก


ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นอ่านอัลกุรอานทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในยามเดินทางหรือยามพำนักกับที่พักอาศัย

บรรดากัลยาณชนรุ่นแรก (สะลัฟศอลิหฺ) นั้น มีความแตกต่างกันระหว่างพวกเขาในเรื่องจำนวนวันที่พวกเขา เคาะตัม อัลกุรอาน (หมายถึงอ่านอัลกุรอานจบเล่ม) บางท่านอ่านจบเล่มครั้งหนึ่งภายในสองเดือน บางท่านภายในเดือนเดียว บางท่านจบภายในสิบคืน บางท่านก็แปดคืน บางท่านเจ็ดคืน และนี่เป็นกิจวัตรของคนส่วนใหญ่ในหมู่สะลัฟ (หมายถึงจบเล่มภายในเจ็ดคืน) บางท่านจบเล่มภายในหกคืน บางท่านก็ห้าคืน บางท่านสี่คืน และหลายท่านที่อ่านจบภายในสามคืน ยังมีหลายท่านเช่นกันที่อ่านจบเล่มภายในหนึ่งวันหนึ่งคืนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีบางท่านที่อ่านสองจบภายในหนึ่งวันหนึ่งคืน บางท่านอ่านสามจบภายในหนึ่งวันหนึ่งคืน และบางท่านอ่านได้ถึงแปดจบภายในหนึ่งวันหนึ่งคืน คืออ่านกลางวันสี่จบและกลางคืนอีกสี่จบ ในบรรดาผู้ที่อ่านกลางวันสี่จบและกลางคืนสี่จบ คือ อิบนุ อัล-กาติบ อัศ-ศูฟีย์[1] ขออัลลอฮฺโปรดปรานท่าน และนี่คือจำนวนการอ่านที่มากที่สุดในแต่ละวันตามที่เราทราบมา

อะห์มัด อัด-เดาเราะกีย์ ได้รายงานด้วยสายรายงานของท่านเอง จากมันศูร บิน ซาดาน หนึ่งในตะบีอีนผู้เคร่งในอิบาดะฮฺ –ขออัลลอฮฺโปรดปรานพวกเขา- ว่าเขา(มันศูร บิน ซาดาน)ได้อ่านอัลกุรอานจบเล่มระหว่างเวลาซุฮร์กับอัศร์ และอ่านจบเล่มระหว่างเวลามัฆริบกับอิชาอ์ ในขณะที่ในเดือนเราะมะฎอนเขาจะอ่านจบเล่มสองครั้งและเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยระหว่างมัฆริบกับอิชาอ์ โดยที่จะละหมาดอิชาอ์ให้ล่าไปจนถึงหนึ่งส่วนสี่ของกลางคืนเสียหน่อยหนึ่ง

อิบนุ อบี ดาวูด ได้รายงายด้วยสายรายงานของท่านว่า ท่านมุญาฮิด เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้อ่านอัลกุรอานจบเล่มระหว่างเวลามัฆริบกับอิชาอ์ในเดือนเราะมะฎอน

ส่วนบรรดาผู้ที่อ่านอัลกุรอานจบเล่มในร็อกอัตละหมาดเพียงแค่หนึ่งร็อกอัตนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน อาทิเช่น อุษมาน บิน อัฟฟาน, ตะมีม อัด-ดารีย์ และ สะอีด บิน ญุบัยร์

ทัศนะที่คัดสรร ก็คือ สิ่งนี้แตกต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละคน ใครที่ใช้ความคิดใคร่ครวญอัลกุรอานแล้วสามารถถอดบทเรียนและเกร็ดต่างๆ ได้ เขาก็จงใช้เวลาเพียงแค่เท่าที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ต่อสิ่งที่ตนอ่าน เช่นเดียวกับบรรดาคนที่ต้องยุ่งอยู่กับการเผยแพร่ความรู้ หรือผู้ที่ต้องคอยรับหน้าที่พิพากษาคดีความระหว่างชาวมุสลิม หรือคนอื่นๆ ที่มีหน้าที่ตามความรับผิดชอบเกี่ยวกับศาสนาหรือประโยชน์สุขของประชาชนชาวมุสลิมทั่วไป ก็จงให้เวลาตามสมควร ที่ไม่เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่หรือเสียความสมบูรณ์ของภารกิจที่ทำอยู่ แต่ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้มีความรับผิดชอบดังที่กล่าวมา เขาก็จงอ่านให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยต้องไม่นำไปสู่ความเบื่อหน่ายหรืออ่านแบบรีบเร่งให้จบ




[1] อิบนุ อัล-อัลลาน กล่าวไว้ใน ชัรหุล อัซการ ว่า อิบนุ อัล-กาติบ นี้ เชคอัล-กุชัยรีย์ได้พูดถึงในหนังสือของท่าน ชื่อเต็มก็คือ หุสัยน์ บิน อะห์มัด มีกุนยะฮฺว่า อบู อะลี และได้จดบันทึกวันมรณภาพของท่านว่าเสียชีวิตหลังปีที่สามร้อยสี่สิบฮิจญ์เราะฮฺศักราช อัล-หาฟิซ (อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์) ได้กล่าวว่ารายงานนี้เล่าโดย อบู อับดิรเราะห์มาน อัส-สุละมีย์ ใน เฏาะบะกอต อัศ-ศูฟียะฮฺ จากอบู อุษมาน สะอีด อัล-มัฆริบีย์ จากนั้นก็กล่าวถึง อิบนุ อัล-กาติบ เช่นที่กล่าวมาข้างต้น


วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาตัฟสีรฺ สูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล



อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดสี่ตอน เนื้อหาเป็นการพูดถึงคำสั่งของอัลลอฮฺให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ประกอบอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ หรือการละหมาดกลางคืน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างตัวตนและจิตวิญญาณให้พร้อมแบกรับภารกิจในการทำงานอิสลามอันหนักหน่วง และมีความอดทนต่อการเผชิญหน้าความกดดันจากแรงต่อต้านของบรรดามุชริกีนมักกะฮฺ เป็นอีกหนึ่งสูเราะฮฺที่สะท้อนให้เห็นการทุ่มเทที่ท่านนบีได้ทำตัวอย่างเอาไว้แก่เราประชาชาติของท่านอย่างสวยงาม


ตอน 1 
- ความรู้สึกของเราต่อสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล
- สาเหตุและเหตุการณ์แห่งการประทานสูเราะฮฺที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างตัวตนของท่านนบีและเศาะหาบะฮฺ
- คนทำงานอิสลามมีคุณลักษณะอย่างไรต่อสูเราะฮฺนี้ ท่านนบีปฏิบัติอย่างไรกับสูเราะฮฺนี้ ท่านจึงเข้มแข็งในการเผชิญหน้ากับหน้าที่อันหนักหน่วงได้ (9.00)
- เหตุการณ์ในถ้ำหิรออ์ การพบญิบรีล และการปลอบโยน
- ความสัมพันธ์ระหว่างสูเราะฮฺอัล-มุซซัมมิลและสูเราะฮฺ อัล-มุดดัษษิร
- หลักสูตรการทบทวนตัวเองและสร้างตัวตนผ่านกิยามมุลลัยล์ตามที่เนื้อหาที่สูเราะฮฺได้กล่าวถึง
- กิยามเกี่ยวข้องกับการอ่านอัลกุรอานในเวลากลางคืน (30.00)
- การอ่านแบบตัรตีล และข้อควรจำสำหรับการละหมาดตะรอวีห์ในเดือนเราะมะฎอน
- สร้างหัวใจให้เข้มแข็ง เพื่อรับอะมานะฮฺอันหนักหน่วง
- ความหนักแน่นของอัลกุรอานในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
- อัลกุรอานถูกประทานลงมายังหัวใจ ดังนั้นหัวใจต้องบริสุทธิ์ก่อน บอกคนอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจใม่ใช่ความสาใจ
- ท่านนบีใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงหัวใจเศาะหาบะฮฺ เราเองก็เหมือนกัน


ตอน 2
- การละหมาดยามคำคืนจะมีผลที่หนักแน่นกว่าสำหรับหัวใจ หู ตา และลิ้น
- การละหมาดกลางคืนเพื่อฟื้นฟูหัวใจ  9:00-9.45
- วิเคราะห์ว่าเหตุใดต้องใช้เวลากลางคืนเพื่อละหมาดเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ เนื่องจากกลางวันยุ่งกับอย่างอื่นไม่ได้สัมพันธ์กับอัลลอฮฺอย่างเต็มที่ ... - 13.21
- คำสั่งให้รำลึกถึงอัลลอฮฺยามเช้าและยามเย็น
- ความหมายของการตะบัตตุล หรือการตัดขาดจากดุนยาเพื่อทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ หรือการรักษาสภาพในการทำอิบาดะฮฺตลอดเวลา
- 18.04 การฝึกหัวใจและลิ้นให้รำลึกต่ออัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับการฝึกออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ต้องทำทีละเล็กทีละน้อย
- เหตุผลของการใช้ตะวันออกและตะวันตกในการพูดถึงการกิยามุลลัยล์และการซิกิร
- การตะวักกัล เป็นแรงเสริมในทุกๆ อิบาดะฮฺ และเป็นองค์ประกอบร่วมกับการอดทน
- การปลีกตนออกจากพวกมุชริกีนโดยไม่ต้องสนใจต่อคำด่าทอของพวกเขา
- กำหนดจุดยืนทั้งในกรณีที่คลุกคลีกับคนอื่น และในกรณีที่จะปลีกตัวออกจากคนอื่น
- อัลลอฮฺสัญญาว่าจะทรงจัดการกับบรรดาผู้ที่ไม่ยอมรับสัจธรรมด้วยพระองค์เอง
- คำสั่งกี่คำสั่งในสูเราะฮฺ ทุกคำสั่งถูกเรียงไว้อย่างสวยงาม
กิยาม, ตัรตีล, ซิกิร, ตะบัตตุล, ตะวักกัล, ซอบัร, ฮิจญ์รฺ, การมอบให้อัลลอฮฺจัดการ


ตอน 3
- สูเราะฮฺ อัล-มุซัมมิล อาจจะใช้เป็นเสบียงสำหรับเดือนเราะมะฎอน เพราะเกี่ยวข้องกับอะมัลในช่วงเวลากลางคืน
- กลางคืนมีแง่มุมที่ดีกว่ากลางวัน ถ้าหากพูดถึงบริบทของการประทานอัลกุรอาน
- การเตรียมตัวและหัวใจในการต้อนรับเราะมะฎอนเดือนแห่งอัลกุรอาน
- ให้ดีใจในการต้อนรับอัลกุรอานและเดือนแห่งอัลกุรอาน
- การบริหารจัดการในการทำดีช่วงเดือนเราะมะฎอน
- การอ่านอัลกุรอานเป็นเหตุให้หัวใจเปี่ยมล้นด้วยความเอื้อเฟื้อ
- หัวใจสำคัญที่สุดในการทำงานแบบองค์กรและทำงานอิสลาม
- การจัดการของอัลลอฮฺในการลงโทษชาวนรกด้วยอาหารที่น่าขยะแขยงและน่ากลัว
- สภาพของวันกิยามะฮฺที่น่าสะพรึงกลัว
- อุทาหรณ์เรื่องราวของนบีมูซากับฟิรเอาน์ ที่ยกมาใช้กับท่านนบีมุหัมมัดและกลุ่มชนชาวมักกะฮฺ
- ทางที่ดีควรต้องดีใจกับการได้มีนบีมุหัมมัดเป็นเราะสูลท่านกลางพวกเขา
- ให้ระวังผลที่จะเกิดจากการขัดขวางท่านนบี
- ความน่าสะพรึงกลัวของวันกิยามะฮฺทำให้เกิดผมหงอกแม้กระทั่งเด็ก
- เหตุการณ์ที่อัลลอฮฺสั่งให้ท่านนบีอาดัมคัดแยกชาวนรกและชาวสวรรค์ จากชาวนรกทุกหนึ่งพันคนเป็นชาวสวรรค์เพียงแค่หนึ่งคนเท่านั้น
- สัญญาของอัลลอฮฺจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
- ทั้งหมดนี้เป็นการตักเตือนของอัลลอฮฺให้มนุษย์ได้เลือกว่าจะแสวงหาหนทางกลับไปสู่อัลลอฮฺอย่างไร
- ความประสงค์ของอัลลอฮฺในหลักความเชื่อของอิสลาม
- เรียนอัลกุรอานอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ต้องผ่านกระบวนการดูแลหัวใจให้ดี


ตอน 4 
- ความมุ่งมั่นของท่านนบีในการกิยามุลลัยล์จนกระทั่งเท้าบวม
- ความเมตตาของท่านนบี ต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺ กลัวว่าพวกเขาจะลำบากในการทำอิบาดะฮฺ
- อายะฮฺสุดท้ายจากสูเราะฮฺ อัล-มุซัมมิล ลดความตึงและเข้มงวดของคำสั่งกิยามุลลัยล์ลง
- อัลลอฮฺสาธยายเหตุผลที่อัลลอฮฺทรงลดระดับความเข้มงวดในการกิยามุลลัยล์ เพื่อเป็นความผ่อนปรนจากพระองค์
- ความสำคัญของการละหมาดห้าเวลา ที่แสดงตัวตนการเป็นมุสลิมต่ออัลลอฮฺ
- ความสัมพันธ์ระหว่างอิบาดะฮฺทางร่างกายและอิบาดะฮฺทางทรัพย์สิน
- ความหมายของซะกาตในสองแง่มุม คือ การเพิ่มพูน และ การซักฟอกให้สะอาด
- แง่คิดบางอย่างเกี่ยวกับการจ่ายซะกาต
- ความหมายการให้ยืมที่ดีแก่อัลลอฮฺ
- การบันทึกความดี ณ อัลลอฮฺ
- เทคนิคการจดจำสิ่งที่ดีและความไม่ดีที่ได้ปฏิบัติไว้
- ความดีที่มนุษย์ทำล้วนเป็นผลดีต่อตัวเอง ทั้งการกระทำและคำพูด
- ข้อควรระวังในการดูแลตัวเองและแสวงหาความดี โดยเฉพาะในโลกออนไลน์
- การจบสูเราะฮฺ ด้วยอิสติฆฟาร เป็นการจบที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุด
- การดูแลความสมดุลในการทำอิบาดะฮฺและดูแลร่างกายตัวเอง
- เทคนิคการจัดการตัวเองเพื่อให้สามารถลุกขึ้นมาละหมาดกลางคืนได้อย่างสะดวก


คลิกรับฟังและดาวน์โหลดได้ที่นี่
https://soundcloud.com/e-daiyah/sets/th_sufum_tafseer_surah_al_muzzammil

หรือฟังและดาวน์โหลดจากเว็บ อิสลามเฮ้าส์
https://islamhouse.com/th/audios/2808232/




วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ นูหฺ






อธิบายสูเราะฮฺ นูห์ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดหกตอน เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของท่านนบีนูห์ และการทำงานเผยแผ่คำสอนของอัลลอฮฺแก่พรรคพวกของท่านอย่างแข็งขันเป็นระยะเวลาถึง 950 ปี เรื่องราวของท่านถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับคนรุ่นหลังไม่ว่าจะเป็นบรรดานบีหรือผู้คนที่ทำงานอิสลามทั่วไป มีทั้งการอธิบายกระบวนการและวิธีการทำงานของท่าน ผลที่เกิดขึ้น และสภาพความดื้อรั้นของกลุ่มคนที่ชิริกต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อันยาวนานในอดีตแต่กลับสะท้อนให้เห็นภาพปัจจุบันอย่างชัดเจนเหลือเชื่อและน่าแปลกเป็นอย่างยิ่ง




เนื้อหาในตอนต่างๆ จากตัฟซีรสูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์ รวมทั้งหมด 6 ตอน 



ตอนที่ 1 
  • บทนำว่าด้วยจุดมุ่งหมายของสูเราะฮฺ เนื้อหาการดะอฺวะฮฺของบรรดานบีทุกคน ตักวาและฏออัต


ตอนที่ 2 
  • ว่าด้วยปีใหม่ ความเจริญและความตกต่ำของอิสลามในสมัยอันดาลุส
  • ความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์และอนาคต
  • อนาคตสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่อัลลอฮฺได้ขีดเอาไว้ และท่านนบีได้บอกในหะดีษเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนวันสิ้นโลก
  • การทำงานของนบีนูห์อย่างเข้มแข็ง ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ผลจากการทำงานของนบีนูห์ ซึ่งได้รับการต่อต้านและปฏิเสธอย่างหนัก
  • การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับงานดะอฺวะฮฺ ที่ยังไม่ได้เป็นองค์ความรู้ในบ้านเรา จึงยังไม่สุกงอมเหมือนคนอาหรับ

ตอนที่ 3 
  • ถอดบทเรียนการทำงานของนูห์ แบบมีจุดมุ่งหมาย และเปี่ยมด้วยอะมานะฮฺ
  • อะมานะฮฺการทำงานทั้งภายในและภายนอก ไม่ใช่ทำงานแบบผ่านๆ 
  • การคำนึงถึงคนที่จะรับสารการดะอฺวะฮฺของเรา
  • การอิสติฆฟาร เป็นประเด็นดะอวะฮฺของบรรดานบีทั้งหมด แสดงถึงความสำคัญของเรื่องนี้
  • ส่งเสริมให้อะมัลเกี่ยวกับอิสติฆฟาร ซึ่งจะผลต่อตัวเองได้อย่างชัดเจน
  • อัต-ตัรฆีบ และ อัต-ตัรฮีบ ในการดะอฺวะฮฺ
  • พูดถึงการสร้างมนุษย์ให้มนุษย์ตระหนักแก่ตัวเอง ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวันเฒ่า
  • สะกิดให้คิดถึงการสร้างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาราศาสตร์ในอัลกุรอาน
  • การรวมกันระหว่างฟิกรฺและซิกรฺ
  • กระบวนการดะอฺวะฮฺของนบีนูห์และนบีทุกคน การอ้างความชอบธรรมด้านอูลูฮียะฮฺด้วยการอิงไปยังรุบูบียะฮฺ


ตอนที่ 4 
  • ทุกอย่างมีลิมิต ยกเว้นการแสวงหาความรู้
  • แม้กระทั่งการเรียนรู้อิสลามก็ยังไม่หมด , ความรู้ที่ไม่รู้ไม่ได้ มีอะไรบ้าง ถ้ายังไม่รู้ต้องเรียน
  • อาจารย์ไม่สอนเราต้องหาเรียน บางทีคนสอนไม่ได้สอนเพราะเขาคิดว่าคนเรียนรู้แล้ว
  • อย่าคิดว่าการที่เรามาเรียนสัปดาห์ละครั้งแล้วจะมาอ้างไม่รู้เพราะอาจารย์ไม่สอน
  • มนุษย์มีต้นตอมาจากดิน และจะกลับไปสู่ดิน ทุกอย่างในโลกล้วนเกี่ยวข้องกับดิน
  • การเปรียบเทียบมนุษย์กับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ในวิชาตัรบิยะฮฺ
  • การสร้างแผ่นดินให้ราบเรียบเพื่อมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์
  • ทำไมคนในยุคเก่าจึงอายุยาวเป็นร้อยๆ ปี
  • นบีนูห์ดะอฺวะฮฺ 950 ปี ในขณะที่เราทำงานเท่าไร เปรียบเทียบสภาพการทำงานของเรากับการทำงานของนบีนูห์
  • ปฏิกิริยาของนักดะอฺวะฮฺตัวจริงที่ควรเป็นเมื่อเจอกับบททดสอบ
  • บททบทวนการดะอฺวะฮฺของนบีนูห์ที่ทำไมต้องยาวถึง 950 ปี
  • กลุ่มผู้ต่อต้านจากชนชั้้นเจ้านายในยุคสมัยนบีนูห์ ที่มีอิทธิพลในการสกัดกั้นดะอฺวะฮฺของนบีนูห์
  • แผนที่ร้ายที่สุด คือ การทำให้คนอื่นกลายเป็นกาฟิรและดื้อด้านอยู่ในสภาพดังกล่าว
  • หนึ่งในปัญหาการตะอัศศุบ เหตุเพราะมีคนยุอยู่เบื้องหลัง ปัญหาตะอัศศุบเป็นปัญหาใหญ่ที่นักดะอฺวะฮฺต้องเจอ
  • ภาพขัดแย้งระหว่างสมัยเทคโนโลยีและการเคารพรูปปั้นในปัจจุบัน


ตอนที่ 5 
  • ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบรรดานบี 
  • การเรียนรู้และรับฟังเรื่องเล่าด้วยการคัดกรองข้อมูลก่อน ทั้งเรื่องเล่าในอดีตและในยุคเทคโนโลยีเช่นปัจจุบันด้วย
  • เช็ค ชัวร์ แชร์
  • ที่มาที่ไปของรูปปั้นห้ารูปในสมัยนบีนูห์ และ ถูกใช้อีกครั้งในยุคญาฮิลียะฮฺก่อนการแต่งตั้งท่านนบีมุหัมมัด
  • ภัยของการเคารพกราบไหว้รูปปั้นและการแพร่ขยายของชิริก ทั้งในยุคก่อนและยุคปัจจุบัน
  • ชิริกไฮเทค
  • เหตุผลที่นบีนูห์ขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺเพิ่มความหลงทางแก่ผู้ปฏิเสธในสมัยท่าน


ตอนที่ 6 
  • การเคารพรูปปั้นเป็นชิริก เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเชื่อในเอกภาพของอัลลอฮฺ
  • ชิริกเปรียบเสมือนต้นตอแห่งหายนะอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำลายความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
  • การลงโทษกลุ่มชนของนบีนูห์ด้วยการให้น้ำท่วม
  • บทเรียนจากกลุ่มชนต่างๆ ที่เคยชิริก แต่มนุษย์ก็ยังไม่ยอมเข้าใจ สภาพการชิริกยังคงมีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน
  • ความชอบธรรมของนบีนูห์ในการขอดุอาอ์แห่งความหายนะแก่พรรคพวกที่ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺในยุคของท่าน
  • ดุอาอ์ของนบีนูห์ ที่เชื่อมโยงสายสัมพันธ์แห่งอีมานผ่านกาลเวลาในอดีต
  • ความสวยงามของอิสลาม คือความเป็นสากลที่ไม่มีกำแพงของเวลาและภูมิศาสตร์
  • ต้นตอของความชั่วร้ายล้วนมาจากการปฏิเสธศรัทธา 
  • มุสลิมต้องรู้จักญาฮิลียะฮฺเพื่อป้องกันตัวเองจากสิ่งที่อาจจะทำให้ตกศาสนา
  • ดุอาอ์ป้องกันชิริก 

ฟังและดาวน์โหลดจาก อิสลามเฮ้าส์ คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์


อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่การเกริ่นนำว่าด้วยลักษณะการปฏิเสธศรัทธาของพวกมุชริกีน คำสั่งให้อดทนต่อการต่อต้านและการถากถางล้อเลียนของพวกเขา อธิบายสภาพวันกิยามะฮฺและบั้นปลายอันน่าสะพรึงกลัวของกลุ่มที่ประกอบความชั่วและไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ในขณะเดียวกันก็อธิบายคุณลักษณะที่จะทำให้มนุษย์ได้ประสบความสำเร็จได้เข้าสวรรค์ในอาคิเราะฮฺด้วย สวรรค์อันเป็นสิ่งที่ชาวมุชริกีนก็คาดหวังแต่พวกเขาไม่มีความเหมาะสมใดๆ ที่จะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่นั้นเลย สูเราะฮฺได้ปิดท้ายด้วยการให้กำลังใจเพื่อให้ท่านนบียืนหยัดต่อไปในการทำงานโดยไม่ต้องรู้สึกเจ็บปวดกับการถากถางและความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ

เนื้อหาในตอนต่างๆ จากตัฟซีรสูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์ รวมทั้งหมด 8 ตอน 

ตอน 1
- บทนำเรื่องการเข้มแข็งของหัวใจ
- เนื้อหาโดยรวมของสูเราะฮฺอัลมะอาริจญ์
- แนะนำและให้กำลังใจในยามที่เราเจอบททดสอบในดุนยา ว่าควรทำใจอย่างไร และเตรียมตัวอย่างไร
- ความยาวนานของอาคิเราะฮ์มิอาจจะนำมาเทียบกับดุนยาได้เลย ดังนั้นหนึ่งวันที่สุขหรือทุกข์ในดุนยา สุดท้ายจะมีวันสิ้นสุดอย่างแน่นอน  


ตอน 2
การสะสมความดี
การอดทนในการดะอฺวะฮฺ และร้องเรียนต่ออัลลอฮฺเท่านั้น
ลักษณะของวีไอพีในอาคิเราะฮฺ

ตอน 3
การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ
สภาพของผู้ปฏิเสธศรัทธาในวันกิยามะฮฺ

ตอน 4
ท้ายๆ พูดถึงประเด็นอากีดะฮฺ


ตอน 5
- ทำไมต้องเรียนอยู่เสมอ
- ความสำคัญของการละหมาด
- ละหมาดแล้วยังทำผิด ทำไม
- ซะกาตและการจ่ายทรัพท์สิน

ตอน 6
- อัลกุรอานกับมิติแห่งฮิดายะฮฺ
- บางแง่มุมเกี่ยวกับการบริจาค
- การเชื่อในวันอาคิเราะฮฺ ด้วยภาคปฏิบัติ
- การเจียมตัวต่อหน้าการลงโทษของอัลลอฮฺ มุชฟิกูน

ตอน 7
- บทนำ สัญญาณวันกิยามะฮฺ
- ประเด็นเรื่องการสงวนอวัยวะเพศ กับสภาพปัจจุบัน
- ความสำคัญของการละหมาดประเภทต่างๆ การอิสติคอเราะฮฺ การกิยามกลางคืน

ตอน 8
- สรุปเนื้อหาตั้งแต่ต้นสูเราะฮฺ
- เน้นความสำคัญของการละหมาด
- การอิคลาศทำอิบาดะฮฺมีสามระดับ
- การคุชูอฺในละหมาด
- คนที่มีคุณลักษณะอย่างนี้จะได้เข้าสวรรค์อย่างมีเกียรติ
- มุชริกีนหวังที่จะเข้าสวรรค์ด้วย
- การตอบโต้ของอัลลอฮฺต่อความคาดหวังของมุชริกีน
- สั่งให้ท่านนบีไม่ต้องเหนื่อยใจกับการปฏิเสธของมุชริกีน
- สภาพของมุชริกีนในวันกิยามะฮฺ
- ทำไมเราต้องฟังเรื่องการลงโทษของคนกาฟิร
- สร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เลียนแบบกาฟิร


ฟังและดาวน์โหลดจาก อิสลามเฮ้าส์
http://islamhouse.com/th/audios/2788407/