วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

คุฏบะฮ์ - พึงดูแลตัวเอง - ซุฟอัม อุษมาน

 


ฟังคุฏบะฮ์นี้ได้จาก YouTube

หรือบน SoundCloud 

พี่น้องผู้ศรัทธาที่อัลลอฮ์เมตตาทุกท่าน

ชีวิตของเราเป็น “อะมานะฮ์” ที่อัลลอฮ์มอบให้เราดูแล ใครที่ดูแลตัวเอง ดูแลหัวใจ ดูแลอะมัล ดูแลแม้กระทั่งร่างกายของตัวเองนั่นแสดงว่าเขาได้ทำหน้าที่ของเขาตามที่อัลลอฮ์สั่งแล้ว ในขณะที่คนที่ละเลย ใช้ชีวิตโดยไม่รู้จักตัวเอง ไม่ได้ให้สิทธิต่างๆ ที่จำเป็นกับชีวิตของตัวเอง เขาก็อาจจะต้องพบกับความล้มเหลวและหายนะในดุนยานี้

ส่วนคนที่ทุ่มเทและต่อสู้เพื่อดูแลชีวิตที่ได้รับอะมานะฮ์มา อัลลอฮ์ก็จะประทานความช่วยเหลือให้แก่เขา มีอายะฮ์หลายที่ในอัลกุรอานที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ว่าใครมุ่งมั่นแสวงหาความดี เขาก็จะได้รับผลดีสะท้อนกลับมาที่ตัวเองด้วยความช่วยเหลือของพระองค์

﴿ وَمَن جَٰهَدَ فَإِنَّمَا يُجَٰهِدُ لِنَفۡسِهِۦٓۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَغَنِيٌّ عَنِ ٱلۡعَٰلَمِينَ 6 ﴾ [العنكبوت: 6]

ความว่า “ใครก็ตามที่ทุ่มเทต่อสู้นั่นก็แสดงว่าเขาได้ทำเพื่อตัวเอง แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมั่งมีโดยไม่ต้องพึ่งสรรพสิ่งในโลกทั้งหลาย” (อัล-อันกะบูต 6)

หมายถึงใครที่ญิฮาดกับตัวเอง ต่อสู้เพื่อให้ตัวเองเจอกับความดี แสดงว่าเขาได้รับผิดชอบต่อตัวเขาเอง เขากำลังทำให้กับตัวเอง อัลลอฮ์สั่งให้เราทุ่มเทเพื่อความดีก็จริงแต่พระองค์ไม่ได้มีความจำเป็นต้องพึ่งพิงหรืออาศัยความดีที่เราทำลงไป  แต่ทว่าผลตอบแทนแห่งความดีทั้งหมดจะสะท้อนกลับมาที่เราเอง

﴿ مَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا فَلِنَفۡسِهِۦۖ وَمَنۡ أَسَآءَ فَعَلَيۡهَاۖ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّكُمۡ تُرۡجَعُونَ 15 ﴾ [الجاثية: 15]

ความว่า “ใครก็ตามที่ทำอะมัลศอลิห์/ทำความดี ผลดีก็จะกลับมาที่เขา ใครก็ตามที่ทำความชั่ว ผลร้ายก็จะเกิดขึ้นกับเขาเอง แล้วพวกเจ้าก็จะถูกนำกลับไปยังพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าในโลกหน้า” (อัล-ญาษิยะฮ์ 15)

เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อตัวเอง ดูแลตัวเอง เพราะเป็นอะมานะฮ์ที่อัลลอฮ์ฝากเอาไว้ให้เราเป็นหน้าที่และสิทธิที่เราต้องทำ

 

พี่น้องครับ

เราจะดูแลตัวเองอย่างไร? มีหน้าที่อะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องเอาใจใส่? มีสิทธิอะไรในหัวใจของเราและในตัวของเรา หรือในภาพรวมทั้งหมดที่เราต้องทำให้กับตัวเอง?

ประการแรก ต้องขัดเกลาตัวเองให้เป็นคนดี โดยเฉพาะหัวใจของเรา เราไม่สามารถที่จะละเลยให้ตัวเองจมอยู่ท่ามกลางกระแสต่างๆ ที่มันพัดพาเราไปสู่อารมณ์ใฝ่ต่ำ ไปสู่คำเรียกร้องของชัยฏอน ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งทำให้เราหันเหไปจากเส้นทางที่เที่ยงตรง หรืออาจจะทำให้หัวใจของเราสกปรกคลุกคลีอยู่กับสิ่งโสมม เราทุกคนมีหน้าที่จะต้อง “ตัซกิยะฮ์” ขัดเกลาตัวเอง ไม่ต้องรอให้คนอื่นมารับผิดชอบ เพราะการขัดเกลาตัวเองเป็นอะมานะฮ์ของเราเอง[1]

มุอ์มินผู้ศรัทธานั้นมีระดับหลายชั้น ระดับที่สูงสุดคือระดับ “อิห์สาน” ดังนั้นเราจะต้องไม่อยู่กับที่ในเรื่องของการปรับปรุงตัวเองให้ดีจนเป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮ์และบรรลุถึงระดับอิห์สาน อัลลอฮ์ตรัสว่า

﴿ قَدۡ أَفۡلَحَ مَن زَكَّىٰهَا 9 وَقَدۡ خَابَ مَن دَسَّىٰهَا 10 ﴾ [الشمس: 9،  10] 

ความว่า “ผู้ที่ขัดเกลาจิตใจตัวเองย่อมประสบความสำเร็จแล้ว และผู้ที่ทำให้จิตใจตัวเองสกปรกย่อมหายนะแล้ว” (อัช-ชัมส์ 9-10)

อย่างที่เราทราบกันดีว่า อารมณ์หรือนัฟซูของเรานั้นมีสามระดับ นัฟซู อัมมาเราะฮ์ (อารมณ์ที่คอยสั่งให้ทำชั่ว), นัฟซู เลาวามะฮ์ (อารมณ์ที่สั่งให้ทำดีบ้างทำชั่วบ้างสลับกัน) และ นัฟซู มุฏมะอินนะฮ์ (อารมณ์ที่นิ่งและรักษาการทำความดีสม่ำเสมอ) เราต้องพยายามขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอเพื่อย้ายจากสภาพของนัฟซูระดับล่างๆ ให้กลายนัฟซู มุฏมะอินนะฮ์ให้ได้[2]

ประการที่สอง การทบทวนตัวเอง[3] ดังที่อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า

﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَلۡتَنظُرۡ نَفۡسٞ مَّا قَدَّمَتۡ لِغَدٖۖ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ خَبِيرُۢ بِمَا تَعۡمَلُونَ 18﴾ [الحشر: 18] 

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และจงพิจารณาดูว่าได้เตรียมอะไรไว้สำหรับวันพรุ่งนี้บ้าง จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้ดีถึงการกระทำของพวกเจ้า” (อัล-หัชร์ 18)

เราต้องทบทวนตัวเองอยู่เสมอว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรแล้ว ตอนนี้เราทำอะไรบ้าง และได้เตรียมตัวอะไรไว้บ้างสำหรับวันที่เราจะกลับไปเจอกับอัลลอฮ์ในวันพรุ่งนี้นั่นก็คือวันกิยามะฮ์ ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้กล่าวว่า จงสอบสวนตัวเองก่อนที่พวกเจ้าจะถูกสอบสวน[4]

ประการที่สาม ปลดตัวเองจากสิทธิที่เกี่ยวโยงกับคนอื่น[5] กล่าวคือต้องระวังอย่าให้เรามีภาระผูกพันกับสิทธิของคนอื่นที่มีอยู่เหนือเรา โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินและหนี้สินที่ยังไม่ได้จัดการให้เสร็จสิ้น ต้องรีบดำเนินการเคลียร์ทุกอย่างให้สิ้นสุดภาระผูกพันก่อนจะหมดลมหายใจ มิเช่นนั้นแล้วอาจจะไม่ได้เข้าสวรรค์ คนที่เป็นหนี้เป็นสินและไม่พยายามที่จะจ่ายหนี้เขาจะเสี่ยงอย่างมาก แม้กระทั่งคนที่ตายชะฮีดซึ่งมีผลบุญที่สูงสุดแล้วก็ตาม รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«يُغْفَرُ لِلشَّهِيدِ كُلُّ ذَنْبٍ إلَّا الدَّيْنَ» [مسلم 1886]

ความว่า “บาปของผู้ที่ตายชะฮีดจะถูกอภัยทั้งหมด ยกเว้นหนี้สิน” (บันทึกโดยมุสลิม 1886 จากอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์)

ประการที่สี่ อย่าทำร้ายหรือทำลายตัวเองในโลก
ดุนยา
[6] ต้องดูแลตัวเองอย่าให้มีปัจจัยต่างๆ ที่จะนำไปสู่การทำลายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเสี่ยงหรือโรคร้ายต่างๆ ต้องไม่นำตัวเองเข้าไปสู่สาเหตุที่จะก่อให้เกิดความหายนะ บาดเจ็บ และคร่าชีวิต ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่นการใช้ยาเสพติดหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า

﴿وَلَا تُلۡقُواْ بِأَيۡدِيكُمۡ إِلَى ٱلتَّهۡلُكَةِ﴾ [البقرة: 195] 

ความว่า “อย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความหายนะ” (อัล-บะเกาะเราะฮ์ 195)

 

﴿وَلَا تَقۡتُلُوٓاْ أَنفُسَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ بِكُمۡ رَحِيمٗا 29﴾ [النساء: 29] 

ความว่า “อย่าได้ฆ่าตัวเอง แท้จริงแล้วอัลลอฮ์นั้นทรงเมตตาต่อพวกเจ้าอย่างที่สุด” (อัน-นิสาอ์ 29)

ประการที่ห้า[7] ป้องกันอย่าให้ตัวเองโดนลงโทษในวันอาคิเราะฮ์[8] เป็นข้อที่สำคัญที่สุด ให้สำรวจตัวเองเลยว่าตอนนี้มีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เราทำอยู่จะเป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นชาวนรก วัลอิยาซุบิลลาฮ์มินซาลิก ให้เรารีบละทิ้งละเลิกและเตาบัตกลับตัว

มนุษย์บางคนตอนมีชีวิตในโลกดุนยาทำทุกอย่างเพื่อให้มีความสุข ปรนเปรอความต้องการของตัวเอง แต่ลืมไปว่าสิ่งที่ตัวเองทำและแสวงหาอยู่นั้นเป็นเหตุให้เขาต้องเจอกับความหายนะในวันอาคิเราะฮ์ และต้องตกอยู่ในการลงโทษของไฟนรก เพราะฉะนั้นจึงต้องระมัดระวังให้มาก อัลลอฮ์ตรัสว่า

﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا﴾ [التحريم: 6] 

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงป้องกันตัวเองและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก” (อัต-ตะห์รีม 6)

 

พี่น้องครับ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราจะต้องทบทวน อัลลอฮ์สร้างเรามาให้เป็นมัคลูกที่มีเกียรติที่สุดถ้าหากเราเป็นผู้ศรัทธา อัลลอฮ์ต้องการให้เราได้รับสิ่งที่ดีสุด ดังนั้นเราจะต้องไม่ลืมว่าอัลลอฮ์สร้างเรามาเพื่ออะไร ต้องไม่ลืมที่จะดูแลตัวเอง ดูแลอะมานะฮ์ที่อัลลอฮ์ให้มาให้ดีที่สุด สุดท้ายเราก็จะกลับไปรับผลตอบแทนอย่างงดงามและดีเลิศที่สุดจากพระองค์ในวันอาคิเราะฮ์ นั่นคือสวนสวรรค์อันสถาพรและนิรันดร

 

 พี่น้องทั้งหลายครับ

อัลลอฮ์ตรัสว่า

﴿وَنَفۡسٖ وَمَا سَوَّىٰهَا 7 فَأَلۡهَمَهَا فُجُورَهَا وَتَقۡوَىٰهَا 8﴾ [الشمس: 7،  8] 

ความว่า “ขอสาบานด้วยชีวิตจิตใจและธรรมชาติที่พระองค์ได้สร้างไว้ให้มันอย่างเที่ยงตรง แล้วพระองค์ก็ชี้ให้เห็นทั้งทางที่ชั่วร้ายและทางแห่งความยำเกรงของมัน” (อัช-ชัมส์ 7-8)

อัลลอฮ์ทรงสาบานกับชีวิตของเรา เพื่อบอกว่ามันสำคัญมาก พระองค์ได้บอกเส้นทางแห่งทางนำและเส้นทางแห่งหายนะไว้ให้กับเราแล้วอย่างชัดเจน ดังนั้นเราต้องเลือกให้ดีว่าจะเดินไปบนเส้นทางไหน

มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า

 كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا تَلَا هَذِهِ الْآيَةَ ﴿وَنَفۡسٖ وَمَا سَوَّىٰهَا 7 فَأَلۡهَمَهَا فُجُورَهَا وَتَقۡوَىٰهَا 8وَقَفَ، ثُمَّ قَالَ: «اللَّهُمَّ آتِ نَفْسِي تَقْوَاهَا أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَوْلَاهَا وَخَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا». [ذكره ابن كثير في تفسيره]

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่ออ่านถึงอายะฮ์นี้ ท่านจะหยุดชั่วครู่ แล้วกล่าวขอดุอาอ์ว่า

«اللَّهُمَّ آتِ نَفْسِي تَقْوَاهَا أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَوْلَاهَا وَخَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا».

โอ้ อัลลอฮ์ ได้โปรดประทานให้หัวใจฉันมีความยำเกรงด้วยเถิด พระองค์เป็นผู้ดูแลมันและเป็นเจ้าของมัน พระองค์เป็นผู้ที่ดีที่สุดในการขัดเกลามันให้บริสุทธิ์ (เป็นรายงานที่อิบนุ กะษีรได้นำมาระบุไว้ในตัฟซีรของท่าน)

 

นี่เป็นดุอาอ์ที่เราใช้ขอเพื่อให้อัลลอฮ์ช่วยเหลือเราในการทำหน้าที่ดูแลตัวเอง ดูแลอะมานะฮ์ที่อัลลอฮ์มอบให้เรารับผิดชอบอย่างดีที่สุด จนกว่าชีวิตของเราจะหาไม่และได้กลับไปหาอัลลอฮ์ในที่สุด อินชาอัลลอฮ์



[1] تَزْكِية النفس: والتَّزكية: هي تطهيرُ النفس من نزغات الشر والإثم، وتنميةُ فطرة الخير فيها، مما يؤدي إلى استقامتها، وبلوغها درجةَ الإحسان.

[2] والنَّفسُ لها ثلاثةُ أحوال: النفس الأمارة بالسوء، والنفس اللوامة، والنفس المطمئنة. والعاقل هو الذي يجتهد -بالليل والنهار- في تزكية نفسه؛ لِيَرْتَقِيَ بها من النفس الأمارة بالسوء إلى النفس المطمئنة.

[3] محاسبة النفس.

[4] قال عمر بن الخطاب رضي الله عنه: "حَاسِبُوا أَنْفُسَكُمْ قَبْلَ أَنْ تُحَاسَبُوا".

[5] تَخْلِيصُها مِنْ حُقُوقِ النَّاسِ.

[6] وِقَايَتُها مِنْ الهَلاَكِ في الدُّنْيَا.

[7] وِقَايَتُها مِنْ الهَلاَكِ في الدُّنْيَا.

[8] وِقَايَتُها مِنْ العَذَابِ فِي الآخِرَةِ.

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

หะดีษอัล-บะรออ์ บิน อาซิบ ว่าด้วยมะละกุลเมาต์รับวิญญาณออกจากร่างและการทดสอบในหลุมฝังศพ

 

หะดีษว่าด้วยวิญญาณออกจากร่างและการทดสอบในหลุมฝังศพ

كنَّا في جِنازةٍ في بَقيعِ الغَرْقدِ، فأتانا النَّبيُّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ، فقعَدَ وقعَدْنا حولَه، كأنَّ على رُؤوسِنا الطَّيْرَ، وهو يُلْحَدُ له، فقال: أعوذُ باللهِ مِن عذابِ القبرِ، ثلاثَ مرَّاتٍ،

พวกเราอยู่กับญะนาซะฮ์หนึ่งที่สุสานบะกีอฺอัล-ฆ็อรก็อด แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มาถึง ท่านนั่งลงและพวกเราก็นั่งลงรอบๆ ท่าน บรรยากาศเงียบเราตั้งใจฟังประหนึ่งเหมือนมีนกอยู่บนหัวเรา ในขณะที่ศพกำลังถูกนำลงไปในหลุม แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้ปลอดภัยจากการทรมานในหลุมฝังศพเถิด (สามครั้ง)

1.                                     

ثمَّ قال: إنَّ العبدَ المؤمِنَ إذا كان في إقبالٍ مِن الآخِرةِ وانقِطاعٍ مِن الدُّنيا، نزَلَت إليه الملائكةُ، كأنَّ على وُجوهِهِمُ الشَّمسَ، معهم كَفنٌ مِن أكفانِ الجَنَّةِ، وحَنوطٌ مِن حَنوطِ الجنَّةِ، فجَلَسوا مِنه مَدَّ البَصرِ، ثمَّ يَجيءُ ملَكُ الموتِ حتَّى يَجلِسَ عندَ رأسِه، فيَقولُ: يا أيَّتُها النَّفْسُ الطَّيِّبةُ، اخرُجي إلى مَغفِرةٍ مِن اللهِ ورِضْوانٍ، قال: فتخرُجُ تَسيلُ كما تَسيلُ القَطْرةُ مِن في السِّقاءِ، فيأخُذُها، فإذا أخَذَها لم يَدَعوها في يدِه طَرْفةَ عينٍ، حتَّى يَأخُذوها فيَجعَلوها في ذلك الكفَنِ وذلك الحَنوطِ، ويخرُجُ منها كأطيَبِ نَفْحةِ مِسكٍ وُجِدَتْ على وجهِ الأرضِ،

แล้วท่านก็กล่าวอีกว่า แท้จริงแล้ว บ่าวผู้ศรัทธาเมื่อถึงเวลาต้องไปอาคิเราะฮ์และร่ำลาจากดุนยา จะมีมะลาอิกะฮ์ลงมาหาเขา ใบหน้าพวกเขาสว่างดุจดังแสงอาทิตย์ พวกเขาลงมาพร้อมกับผ้ากะฝั่นห่อศพและเครื่องหอมจากสวรรค์ พวกเขาจะนั่งอยู่สุดสายตา แล้วมะละกุลเมาต์ก็จะมาเอาวิญญาณด้วยการนั่งลงที่หัวของผู้ตายและกล่าวว่า โอ้ชีวิตที่ดีเลิศเอ๋ย จงออกมาสู่การอภัยและความโปรดปรานของอัลลอฮ์เถิด แล้ววิญญาณก็จะไหลออกมาเหมือนหยดน้ำที่ไหลออกมาจากถุงหนังที่ใส่น้ำ และมะละกุลเมาต์ก็จะรับวิญญาณไป บรรดามะลาอิกะฮ์ที่รออยู่ก็จะรีบรับไปจัดการโดยไม่ล่าช้าหรือประวิงเวลาเลยแม้กระพริบตาเดียว พวกเขาจะนำวิญญาณนั้นมาห่อกับกะฝั่นและเครื่องหอมจากสวรรค์ และจะมีกลิ่นหอมอบอวลเยี่ยงน้ำหอมมิสก์ที่หอมที่สุดบนหน้าแผ่นดิน

2.                                     

قال: فيَصعَدون بها، فلا يَمُرُّون بها، يَعْني على مَلأٍ مِن الملائكةِ، إلَّا قالوا: ما هذه الرُّوحُ الطَّيِّبةُ؟ فيَقولون: فلانُ بنُ فلانٍ، بأحسَنِ أسمائِه الَّتي كانوا يُسمُّونه بها في الدُّنيا، حتَّى يَنتَهوا بها إلى السَّماءِ، فيَستفتِحون له، فيُفتَحُ له، فيُشيِّعُه مِن كلِّ سماءٍ مُقرَّبوها، إلى السَّماءِ الَّتي تَليها، حتَّى يُنتَهى بها إلى السَّماءِ السَّابعةِ، فيَقولُ اللهُ عزَّ وجلَّ: اكتُبوا كتابَ عَبْدي في عِلِّيِّينَ، وأعيدوه إلى الأرضِ؛ فإنِّي منها خلَقتُهم، وفيها أُعيدُهم، ومنها أُخرِجُهم تارةً أخرى.

ท่านนบีเล่าต่อว่า แล้วมะลาอิกะฮ์ก็จะพาวิญญาณนั้นขึ้นสู่เบื้องบน ไม่ว่าที่ใดที่พวกเขาผ่านก็จะมีกลุ่มมะลาอิกะฮ์ถามว่า นี่วิญญาณผู้ใดที่ดีเลิศเหลือเกิน? พวกเขาก็จะตอบว่า เป็นวิญญาณของผู้นั้นผู้นี้ ด้วยชื่อเรียกที่เขาชอบมากที่สุดในดุนยา จนกระทั่งถึงประตูของฟ้าชั้นที่หนึ่ง พวกเขาก็ขออนุญาตให้เปิดประตู ประตูก็เปิด แล้วมะลาอิกะฮ์จากชั้นฟ้านั้นก็จะมาร่วมกันส่งวิญญาณของเขาจนถึงฟ้าชั้นถัดไป และจะเป็นอย่างนี้ทุกชั้นฟ้าจนถึงฟ้าชั้นที่เจ็ด แล้วอัลลอฮ์ก็จะตรัสว่า จงเขียนชื่อบ่าวของข้าให้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้สูงส่งเถิด แล้วจงเอาเขากลับไปยังแผ่นดิน เพราะแท้จริงแล้วข้าสร้างเขามาจากดิน ข้าจะให้พวกเขากลับไปสู่ดิน และข้าจะทำให้เขาฟื้นออกมาจากดินอีกครั้ง

3.                                     

قال: فتُعادُ رُوحُه في جسَدِه، فيأتيه ملَكانِ، فيُجلِسانِه، فيَقولانِ له: مَن ربُّك؟ فيَقولُ: ربِّيَ اللهُ، فيَقولانِ له: ما دينُك؟ فيقولُ: دِينيَ الإسلامُ، فيَقولانِ له: ما هذا الرَّجلُ الَّذي بُعِثَ فيكم؟ فيقولُ: هو رسولُ اللهِ، فيَقولانِ له: ما عِلمُك؟ فيقولُ: قرَأتُ كتابَ اللهِ، فآمَنتُ به وصدَّقتُ، فيُنادي مُنادٍ مِن السَّماءِ: أنْ صدَقَ عبْدي، فأفْرِشوه مِن الجنَّةِ، وافتَحوا له بابًا إلى الجنَّةِ،

ท่านนบีบอกว่า แล้ววิญญาณของเขาก็ถูกนำกลับมาใส่ร่าง จากนั้นก็มีมะลาอิกะฮ์สองท่านมาหา ยกเขาให้ลุกขึ้นนั่งและกล่าวกับเขา ใครคือพระเจ้าของท่าน? เขาจะตอบว่า พระเจ้าของฉันคืออัลลอฮ์ มะลาอิกะฮ์ถามอีกว่า อะไรคือศาสนาของท่าน? เขาจะตอบว่า ศาสนาของฉันคืออิสลาม มะลาอิกะฮ์ถามอีกว่า แล้วผู้ชายคนนี้(มุหัมมัด)คือใคร? เขาจะตอบว่า คือรอซูลศาสนทูตของอัลลอฮ์ มะลาอิกะฮ์จะถามว่า ท่านรู้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร? เขาตอบว่า ฉันอ่านคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ฉันศรัทธาและเชื่อมั่นปฏิบัติตาม จากนั้นก็จะมีเสียงจากฟากฟ้าว่า บ่าวของข้าพูดความจริง จงปูพื้นให้เขาด้วยที่ปูจากสวรรค์ และจงเปิดประตูสู่สวรรค์ให้กับเขา

4.                                     

قال: فيَأتيه مِن رَوْحِها وطيبِها، ويُفسَحُ له في قبرِه مَدَّ بصَرِه، قال: ويأتيه رجلٌ حسَنُ الوجهِ، حسَنُ الثِّيابِ، طيِّبُ الرِّيحِ، فيَقولُ: أبشِرْ بالَّذي يَسُرُّك، هذا يومُك الَّذي كُنتَ تُوعَدُ، فيَقولُ له: مَن أنتَ؟ فوَجهُك الوجهُ الَّذي يَجيءُ بالخَيرِ، فيَقولُ: أنا عمَلُك الصَّالِحُ، فيقولُ: يا ربِّ، أقِمِ السَّاعةَ؛ حتَّى أرجِعَ إلى أهلي ومالي.

ท่านนบีกล่าวอีกว่า แล้วกลิ่นอายและความหอมจากสวรรค์ก็จะโชยออกมา หลุมฝังศพของเขาจะถูกขยายกว้างออกไปสุดสายตา แล้วจะมีผู้ชายคนหนึ่งที่หน้าตางดงาม ใส่เสื้อผ้าที่ดีเลิศ มีกลิ่นหอม มาหาเขา และจะพูดกับเขาว่า จงรับข่าวดีด้วยสิ่งที่ทำให้ท่านสุขใจเถิด นี่เป็นวันของท่านที่เคยได้รับสัญญาก่อนหน้านี้ เขาจะถามว่า เจ้าเป็นใครกันแน่ เพราะใบหน้าของเจ้าเป็นผู้ที่นำข่าวดีมาให้ เขาก็จะตอบว่า ฉันคืออะมัลศอลิห์ของท่านเอง เมื่อได้ยินดังนั้นเขาก็จะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ได้โปรดทำให้วันกิยามะฮ์เกิดขึ้นเถิด ฉันจะได้กลับไปหาลูกหลานและทรัพย์สินของฉัน

5.                                     

قال: وإنَّ العبدَ الكافِرَ إذا كان في انقِطاعٍ مِن الدُّنيا وإقبالٍ مِن الآخرةِ، نزَلَ إليه مِن السَّماءِ مَلائكةٌ سُودُ الوُجوهِ، معَهم المُسوحُ، فيَجلِسون مِنه مَدَّ البصَرِ، ثمَّ يَجيءُ ملَكُ الموتِ حتَّى يَجلِسَ عِندَ رأسِه، فيَقولُ: أيَّتُها النَّفسُ الخبيثةُ، اخرُجي إلى سَخطٍ مِن اللهِ وغَضبٍ، قال: فتَتفرَّقُ في جسَدِه، فيَنتزِعُها كما يُنتزَعُ السَّفُّودُ مِن الصُّوفِ المبلولِ، فيَأخُذُها، فإذا أخَذَها لم يدَعوها في يدِه طَرْفةَ عينٍ، حتَّى يَجعَلوها في تلك المسوحِ، ويَخرُجَ منها كأنتَنِ ريحٍ خَبيثةٍ وُجِدَتْ على وجهِ الأرضِ،

ท่านนบีเล่าอีกต่อไปว่า และแท้จริง วิญญาณของกาฟิรเมื่อถึงเวลาต้องร่ำลาจากดุนยาและมุ่งสู่อาคิเราะฮ์ จะมีมะลาอิกะฮ์ที่หน้าตำดำทะมึนลงมาพร้อมกับชุดห่อจากไฟนรกแล้วมานั่งอยู่สายตาเขา จากนั้นมะละกุลเมาต์ก็จะมานั่งที่หัวของเขาและกล่าวว่า ออกมาเถิดชีวิตที่ชั่วร้าย ออกมาสู่ความโกรธกริ้วและความพิโรธของอัลลอฮ์ แล้ววิญญาณของเขาก็จะแตกกระเจิงไปสู่ทุกอณูของร่างกาย มะละกุลเมาต์ก็จะดึงวิญญาณออกมา เหมือนดึงเหล็กเสียบเนื้อที่พันอยู่กับขนสัตว์ที่เปียกน้ำ เมื่อวิญญาณออกมาแล้วมะลาอิกะฮ์ที่รออยู่ก็จะรับไปโดยไม่ปล่อยให้ล่าช้าอยู่แม้กระพริบตาเดียว พวกเขาจะห่อวิญญาณของเขาในชุดห่อที่นำมาจากไฟนรก และมันจะมีกลิ่นที่เหม็นหึ่งน่าขยะแขยงที่สุดเท่าที่มีบนหน้าแผ่นดิน

6.                                     

فيَصعَدون بها، فلا يَمُرُّون بها على ملأٍ مِن الملائكةِ إلَّا قالوا: ما هذا الرُّوحُ الخبيثُ؟ فيَقولون: فلانُ بنُ فلانٍ- بأقبَحِ أسمائِه الَّتي كانوا يُسمُّونه بها في الدُّنيا- حتَّى يُنتَهى بها إلى السَّماءِ الدُّنيا، فيُستفتَحُ له، فلا يُفتَحُ له، ثمَّ قرَأَ رسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ: {لَا تُفَتَّحُ لَهُمْ أَبْوَابُ السَّمَاءِ وَلَا يَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى يَلِجَ الْجَمَلُ فِي سَمِّ الْخِيَاطِ} [الأعراف: 40]،

แล้วมะลาอิกะฮ์ก็จะนำเขาขึ้นไปเบื้องบน ทุกครั้งที่พวกเขาเดินผ่านมะลาอิกะฮ์กลุ่มใดก็จะผู้มีถามว่า นี่วิญญาณใคร? พวกเขาก็จะตอบว่า วิญญาณของผู้นั้นผู้นี้ ด้วยชื่อที่น่ารังเกียจที่สุดของเขาในโลกดุนยาที่ผู้คนเคยเรียกเขา จนถึงประตูแห่งฟ้าชั้นแรก พวกเขาขออนุญาตเปิดประตู แต่ประตูก็ไม่เปิดให้ ท่านนบีได้อ่านอายะฮ์อัลกุรอานจากสูเราะฮ์ อัล-อะรอฟ อายะฮ์ที่ 40 ความว่า “ประตูแห่งฟากฟ้าจะไม่ถูกเปิดให้กับพวกเขา และพวกเขาไม่มีทางที่จะเข้าสวรรค์ได้ ประหนึ่งอูฐที่ไม่มีทางจะมุดรูเข็มเย็บผ้าได้”

7.                                     

فيَقولُ اللهُ عزَّ وجلَّ: اكتُبوا كِتابَه في سِجِّينٍ، في الأرضِ السُّفْلى، فتُطرَحُ روحُه طرحًا، ثمَّ قرَأ: {وَمَنْ يُشْرِكْ بِاللَّهِ فَكَأَنَّمَا خَرَّ مِنَ السَّمَاءِ فَتَخْطَفُهُ الطَّيْرُ أَوْ تَهْوِي بِهِ الرِّيحُ فِي مَكَانٍ سَحِيقٍ} [الحج: 31].

แล้วอัลลอฮ์ก็จะตรัส จงบันทึกชื่อเขาในหมู่คนที่จะถูกกุมขัง (บัญชี สิจญ์ญีน) ในแผ่นดินชั้นสุดท้าย แล้ววิญญาณของเขาก็จะถูกเขวี้ยงลงมา และท่านนบีก็อ่านอายะฮ์จากสูเราะฮ์ อัล-หัจญ์ 31 ความว่า “ผู้ใดที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ นั่นประหนึ่งว่าเขาดิ่งลงมาจากฟ้าแล้วนกก็โฉบเอาตัวเขาไป หรือลมก็พัดเขาไปยังที่ที่ไกลโพ้น”

8.                                     

فتُعادُ رُوحُه في جسَدِه، ويأتيه ملَكانِ فيُجلِسانِه، فيَقولانِ له: مَن ربُّك؟ فيقولُ: هاه هاه، لا أَدْري، فيَقولانِ له: ما هذا الرَّجلُ الَّذي بُعِثَ فيكم، فيَقولُ: هاهْ هاهْ، لا أَدْري، فيُنادي مُنادٍ من السَّماءِ: أنْ كذَبَ، فأَفْرِشوه مِن النَّارِ، وافتَحوا له بابًا إلى النَّارِ، فيَأتيه مِن حَرِّها وسَمومِها، ويُضيَّقُ عليه قبرُه، حتَّى تَختلِفَ أضلاعُه،

แล้ววิญญาณของเขาก็ถูกนำกลับไปยังร่าง จากนั้นก็มีมะลาอิกะฮ์สองท่านมาหา ยกเขาให้ลุกขึ้นนั่งและกล่าวกับเขา ใครคือพระเจ้าของท่าน? เขาจะตอบว่า โอ้ย โอ้ย ฉันไม่รู้ มะลาอิกะฮ์ถามอีกว่า แล้วผู้ชายคนนี้(มุหัมมัด)คือใคร? เขาจะตอบว่า โอ้ย โอ้ย ฉันไม่รู้ จากนั้นก็จะมีเสียงจากฟากฟ้าว่า เขาเป็นคนโกหก จงปูพื้นให้เขาด้วยที่ปูจากไฟนรก และจงเปิดประตูสู่นรกให้กับเขา ดังนั้น ความร้อนและควันพิษจากนรกก็จะมาปกคลุมเขา หลุมศพของเขาจะถูกบีบอัดจนกระทั่งกระดูกซี่โครงของเขาเสียดเข้าหากัน

9.                                     

ويأتيه رجُلٌ قبيحُ الوجهِ، قبيحُ الثِّيابِ مُنتِنُ الرِّيحِ، فيَقولُ: أبشِرْ بالَّذي يَسوءُك، هذا يومُك الَّذي كُنتَ تُوعَدُ، فيَقولُ: مَن أنتَ، فوَجهُك الوَجهُ يَجيءُ بالشَّرِّ، فيقولُ: أنا عمَلُك الخبيثُ، فيَقولُ: ربِّ لا تُقِمِ السَّاعةَ!

แล้วจะมีผู้ชายคนหนึ่งที่หน้าตาน่าเกลียด ใส่เสื้อผ้าที่น่าเกลียดกลิ่นเหม็นมาหาเขา และจะพูดกับเขาว่า จงรับข่าวด้วยสิ่งที่ทำให้ท่านระทมทุกข์เถิด นี่เป็นวันของท่านที่เคยได้รับสัญญาก่อนหน้านี้ เขาจะถามว่า เจ้าเป็นใครกันแน่ เพราะใบหน้าของเจ้าเป็นผู้ที่นำข่าวร้ายมาให้ เขาก็จะตอบว่า ฉันคือพฤติกรรมอันชั่วร้ายของท่านเอง เมื่อได้ยินดังนั้นเขาก็จะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ อย่าทำให้วันกิยามะฮ์เกิดขึ้นเลย

10.                            

الراويالبراء بن عازب | المحدثشعيب الأرناؤوط | المصدرتخريج شرح الطحاوية | الصفحة أو الرقم : 573 | خلاصة حكم المحدثصحيح | التخريجأخرجه أبو داود (4754) باختلاف يسير، والنسائي (2001) مختصراً، وأحمد (573) واللفظ له

หะดีษรายงานโดย อัล-บะรออ์ บิน อาซิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากหนังสือตัครีจญ์ ชัหร์ อัฏ-เฏาะหาวียะฮ์ ของ ชุอัยบ์ อัล-อัรนาอูฏ หมายเลข 573 เป็นหะดีษเศาะฮีห์ ดูใน อบู ดาวูด 4754 ด้วยสำนวนที่แตกต่างเล็กน้อย และอัน-นะสาอีย์ 2001 ด้วยสำนวนที่ย่อ และอะห์มัด 573 สำนวนนี้เป็นของท่าน

11.                            

อ้างอิง:  https://dorar.net/h/QyZm2p8G