วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮ์ อัล-หุญุรอต


ฟังทาง SoundCloud ที่นี่


ตอนที่ 1 - 2020-7-2
- อัลกุรอานคือเราะบีอุลกุลูบ
- อัลหุญุรอต อยู่ในชุดสูเราะฮ์ อัลมุฟัศศ็อล หรือไม่?
- ความหมายของสูเราะฮ์ ที่มาที่ไปของสูเราะฮ์
- เป้าประสงค์ของสูเราะฮ์ คือ การให้ความสำคัญกับมารยาทในอิสลาม
- มารยาทกับความเชื่อในอิสลาม ไปควบคู่กัน
- ตัวอย่างหะดีษบางบทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมารยาทกับความเชื่อ
- สะท้อนบทเรียนในสูเราะฮ์กับสภาพความเป็นจริงในยุคเทคโนโลยี
- เริ่มต้นด้วยการเรียกผู้รับฟังด้วยคุณลักษณะแห่งการศรัทธา
- มารยาทของบ่าวต่อแต่ละฝ่ายที่บ่าวปฏิสัมพันธ์
- อายะฮ์แรก อย่าล้ำเส้นอัลลอฮ์และรอซูล
- อะไรคือความหมายของคำว่าอย่าล้ำหน้าอัลลอฮ์และรอซูล
- ต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่าปัญหาของเราหรือสิ่งที่เราคิดจะทำมีคำตอบในอัลกุรอานอย่างไรบ้าง
- เรื่องศาสนาต้องฟังอัลลอฮ์และรอซูล
- เรื่องดุนยาบางทีไม่ต้องไปหาคำตอบในอัลกุรอานก็ได้แต่เรื่องศาสนาจำเป็นต้องหาคำตอบในอัลกุรอาน
- สาเหตุของการประทานอายะฮ์ เกิดจากเรื่องราวของตัวแทนบนีตะมีมที่เข้ามาในมะดีนะฮ์แล้วมีความเห็นขัดแย้งระหว่างอบูบักร์และอุมัรในการแต่งตั้งหัวหน้าทีม
- สภาพของเศาะหาบะฮ์หลังจากได้รับการตักเตือนจากอัลลอฮ์ จะปฏิบัติตามทันที
- คำสั่งให้ตักวามากำกับในทุกๆ เรื่อง ถ้ามีตักวาจะทำให้มารยาทของเราอยู่ในร่องในรอย


ตอนที่ 2
- ใครก็ตามที่มีมารยาทดีกับมนุษย์ แต่ไม่มีมารยาทกับอัลลอฮ์ ยังไม่ใช่ผู้ที่นับว่าเป็นคนดีอย่างแท้จริง
- การใช้ความคิดของตัวเองมาก่อนบทบัญญัติคือการไม่มีมารยาทกับอัลลอฮ์
- จำเป็นต้องมีมารยาทกับอัลลอฮ์และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
- มารยาทกับอัลลอฮ์ และมารยาทกับรอซูล อัลลอฮ์ได้แยกออกเป็นเอกเทศแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ
- บางคนอาจจะมีมารยาทกับอัลลอฮ์ แต่ไม่มีมารยาทกับรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
- ระวังทั้งคำพูดและวิธีการพูด คำพูดดีแต่อาจจะใช้วิธีพูดที่ไม่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดเช่นกัน
- การไม่เรียกชื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตรง ๆ
- มารยาททางสังคมเป็นเรื่องที่มนุษย์ยอมรับ สอดคล้องกับคำสอนอัลกุรอาน
- มารยาทของเราต่อท่านนบีแม้กระทั่งหลังจากท่านนบีเสียชีวิตไปแล้ว
- เศาะหาบะฮ์จะรีบทำตามคำสั่งที่อัลกุรอานตักเตือนทันที
- เรื่องราวของษาบิต บิน ก็อยส์ เศาะหาบะฮ์ที่พูดเสียงดังโดยธรรมชาติของท่าน
- การไม่เรียกชื่อท่านนบีตรงๆ เพราะอัลลอฮ์ให้เกียรติท่านนบีในอัลกุรอานด้วยการเรียกตำแหน่งของท่าน
- อัลลอฮ์ชมเชยคนที่มีมารยาทต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
- การทดสอบหัวใจเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง เหมือนการเผาทองเผื่อแยกส่วนที่เป็นทองออกจากส่วนที่เป็นขยะ
- ระหว่างหัวใจที่ไม่ชอบบาป กับหัวใจที่อยากทำแต่ระงับตนเองได้ คนที่ระงับตนเองได้นั้นย่อมดีกว่า
- ผลบุญอันยิ่งใหญ่หลังจากการทดสอบ


ตอนที่ 3 - อายะฮ์ที่ 4 เป็นต้นไป
- สรุปเรื่องราวมารยาทต่ออัลลอฮ์และการทดสอบหัวใจของผู้ศรัทธา
- สาเหตุของการประทานอายะฮ์ที่สี่
- 10.20-11.20 การงีบกลางวันเป็นสุนนะฮ์นบี
- 12.24-12.59 การบอกเล่าก็อาจจะเป็นการสอนทางอ้อมและส่งผลได้มากกว่าการห้ามตรงๆ
- 16.00-17.19 มารยาทเกี่ยวข้องกับมิติของสติปัญญา
- คำสอนของอัลลอฮ์ต่อกลุ่มเบดูอินเหล่านี้กลายเป็นชะรีอะฮ์ที่สามารถใช้ได้ทุกยุคสมัยแม้กระทั่งในยุคของเรา
- 19.25-20.05 ต้องคำนึงถึงมารยาททางสังคมตามวัฒนธรรมที่ปัญญาพึงรับได้
- มารยาทในการเช็คข้อมูลข่าวสารตามคำแนะนำของอิสลาม
- เรื่องราวของการเข้าใจผิดของชนบนี อัลมุสฏอลิก ที่เป็นสาเหตุการประทานอายะฮ์
- ฟาสิก คือคนที่ออกจากกรอบชะรีอะฮ์ที่เขาต้องรักษา อาจจะไม่ได้เป็นชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์
- 27.25-28.25 สอนให้ผู้ศรัทธารู้วิธีการรับข่าวสารที่ถูกต้อง
- 28.45-29.35 ยุคของเราจำเป็นมาต่ออายะฮ์นี้ ตะบัยยะนู ต้องเป็นแฮชแท็กของเราในยุคนี้
- มัจฮูลฮาล คนที่เราไม่รู้จักสภาพของเขา รวมอยู่ในฟาสิก
- 30.00-30.50 คนที่เราไม่รู้จักเขาในโซเชียล รวมอยู่ในความหมายคนที่เราต้องเช็คข้อมูล
- 31.39-32.24 ปัญหาผลกระทบจากการไม่เช็คข้อมูลก่อนแชร์ โดยเฉพาะในเรื่องศาสนา
- ตะบัยยะนู ต้องเป็นทักษะของคนในยุคข้อมูลข่าวสาร
- คำอธิบายของเชคอัสสะอฺดีย์
- 34.55-35.57 อัลกุรอานสั่งให้เช็คก่อน ไม่ได้สั่งให้ปฏิเสธเลย
- 36.40-37.10 อิสลามไม่ได้บอกให้ปฏิเสธข่าวสาร แต่สั่งให้เราเช็ค ถ้ามันถูกต้องก็รับได้
- คำบอกเล่าของคนฟาสิกนั้นไม่ได้บอกให้ปฏิเสธ แต่ให้มีการเช็คก่อน
- ชาวสะลัฟยอมรับการรายงานของพวกเคาะวาริจญ์ แม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนฟาสิก แต่พวกเขาบางคนเป็นคนซื่อสัตย์ในการพูด
- อย่าเป็นคนรับทุกอย่าง หรือคนที่ปฏิเสธทุกอย่าง แต่ให้เป็นคนที่รู้จักการเช็คข้อมูล
- วิชาการตรวจสอบหะดีษ เป็นนวตกรรมที่เข้มข้นมากในสายธารวิชาการอิสลาม
- 40.55-41.52 จะอยู่ในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัยจากข่าวลวง
- ผลกระทบจากข่าวลวงอาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างและไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้
- 46.04-46.45 สเตตัสเชิงบวกทำให้เราได้บุญ
- สิ่งที่พิมพ์ลงไปเป็นพยานหลักฐานได้ดีกว่าคำพูดด้วยซ้ำไป

ตอนที่ 4 - อายะฮ์ที่ 6 เป็นต้นไป
- ผู้ศรัทธายิ่งต้องให้ความสำคัญกับมารยาทมากกว่าคนทั่วไป
- ฐานแห่งอีมานคือฐานสำคัญที่จะทำให้เรามีมารยาท 6.20-7.07
- ก่อนเชื่อต้องเช็คก่อน แล้วค่อยแชร์ 11.00-12.05
‫-‬ เวลาเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย เราต้องฟังผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ฟังกองเชียร์ 15.00-17.50
- ผู้ศรัทธาบางคนได้รับการปกป้องจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากนิสัยที่ไม่ดี
- ดุอาอ์ขอให้หัวใจสวยงามด้วยอีมาน ต้องขอจากอัลลอฮ์ให้พระองค์ช่วยในเรื่องนี้ 22.00-24.30
- การที่คนผู้หนึ่งมีอีมานและความสวยงานในศรัทธาเป็นนิอฺมัตจากอัลลอฮ์
- การเป็นผู้ศรัทธาไม่ใช่สิ่งที่เราเพ้อฝัน 25.00-26.00
- ศรัทธาและอัคลาก เป็นนิอฺมัตจากอัลลอฮ์
- ต้องเข้าใจคำพูดของคนอื่นตามเจตนารมณ์ที่เขาต้องการด้วย เช็คทั้งคำพูดและความเข้าใจที่ตรงกันกับเขา 30.20-31.50
- คนพูดต้องพูดให้เคลียร์แต่แรก คนแชร์อย่าไปแปลหรือคิดเอาเองว่าเขาต้องการอะไร จะได้ไม่สร้างปัญหา 33.20-35.50
- การเรียงลำดับของสูเราะฮ์ อัลหุญุรอต เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในหมู่ผู้ศรัทธาเพราะการรับข่าวลวง
- ใครที่อยู่ในยุคนี้ หัวใจต้องสตรอง 43.00-43.29
- การด่าพี่น้องด้วยกัน เป็นฟาสิก ไม่มีตัวอย่างจากนบีและอุละมาอ์ 43.30-44.34
- อย่าแชร์ทุกอย่างที่ฟังมา
- การเช็คดูก่อน ไม่ได้เป็นการดูถูกเขาหรือลดความดีของเขา แต่มันเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์
- เวลาแชร์ให้มีรีเฟอร์หรือแหล่งอ้างอิง 48.15-49.10
‫-‬ เนียตให้ถูก เวลาเช็คและแชร์ข่าว 50.37-52.11


ตอนที่ 5
- ทบทวนบทเรียนหลังโควิด ได้สอนอะไรให้เราเข้าใจชีวิตเพิ่มขึ้นบ้างไหม?
- วิกฤติโควิดสอนอะไรแก่เรา (1.53-
- หลายเรื่องที่อัลกุรอานและหะดีษนำเสนอ พอถึงวิกฤตเราได้ใช้มันจริงๆ
- ทบทวนต้นสูเราะฮ์หุญุรอตย้อนหลังเพื่อปูฐานก่อนนำเสนอเรื่องราวต่อไป
- ผู้ศรัทธากับเรื่องมารยาท มีตั้งแต่ระดับมารยาทของเรากับอัลลอฮ์ กับรอซูล และกับผู้อื่น
- มารยาทในการเช็คข้อมูลข่าวสาร
- ปัญหาที่เกิดจากข้อมูลข่าวสารเท็จ
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคเศาะหาบะฮ์จากการปั่นข้อมูลข่าวสารเท็จ
- สาเหตุของการประทานอายะฮ์ในสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- หน้าที่ของเราเมื่อผู้ศรัทธามีปัญหากัน คือ ต้องรีบให้มีการประนีประนอมไกล่เกลี่ย
- เมื่อเกิดเหตุการทะเลาะกัน อัลลอฮ์ใช้พหูพจน์ แต่เวลาประนีประนอมอัลลอฮ์ใช้คำที่เป็นทวิพจน์
- ถ้าฝ่ายใดไม่ยอมหยุดและยอมรับการตัดสิน ก็ต้องมีการจัดการให้หยุด
- การปราบดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้เขาหยุด เมื่อเขาหยุดเราก็ต้องมากำหนดข้อตกลงต่อไปด้วยความยุติธรรม
- อิศลาห์ การไกล่เกลี่ยเป็นงานที่มีเกียรติ อัลลอฮ์ใช้ให้เราอิศลาห์ในทุกๆ เรื่อง เช่นในครอบครัวด้วยเช่นเดียวกัน
- มุอ์มินเป็นพี่น้องกัน บนพื้นฐานแห่งการศรัทธา เป็นสัญญาที่อัลลอฮ์ผูกมัดผู้ศรัทธาไว้ด้วยกัน
- การอิศลาห์และการตักวา เป็นเหตุให้ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์
- เราทุกคนต้องการความเมตตาจากอัลลอฮ์
- ต้องป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ความเมตตาได้รับความเสียหาย
- เราจะรักษาความเมตตาให้อยู่กับเราต่อไปอย่างไร
- ดินที่ชุ่มด้วยความเมตตา


ตอนที่ 6
- ไม่ว่าชีวิตเราจะเจอกับอะไร ความเมตตาของอัลลอฮ์ก็ปรากฏให้เห็นเสมอ
- ชีวิตนั้นมีสองซีก ซีกแห่งการอดทน และซีกแห่งการขอบคุณ (1)
- คำสั่งต่างๆ ในสูเราะฮ์ อัลหุญุรอต มีความเชื่อมโยงกันอยู่ (2)
- คำสั่งห้ามมิให้มีการเยาะเย้ย ถากถางระหว่างกัน
- ที่มาที่ไปของอายะฮ์นี้
- การดูถูกคนอื่นด้วยคำพูดหรือพฤติกรรม (3)
- พฤติกรรมเยาะเย้ยมักจะเกิดกับคนเป็นกลุ่ม (4)
- การเยาะเย้ยในโลกโซเชียล (5)
- ข้อแตกต่างระหว่าง ซุครียะฮ์ และ ลัมซ์
- การดูถูกคนอื่นคือการดูถูกตัวเอง (6)
- ห้ามการเรียนขานด้วยฉายาที่เจ้าตัวไม่ชอบ (7)
- การด่าทอที่ลามไปถึงบุพการีมีโทษหนักหนากว่ายิ่งนัก
- การพูดคำหยาบนั้นเป็นเรื่องที่น่าเกลียดมากหลังจากที่ได้เป็นผู้ศรัทธาแล้ว (8)
- หะดีษที่พูดถึงให้ระมัดระวังการใช้คำพูด
- การชอบพูดคำหยาบอย่างไม่ยับยั้ง อาจจะทำให้เราเป็นคนฟาสิก (9)
- ความสำคัญของการศึกษาสูเราะฮ์ อัลหุญุรอต เพื่อใช้ปฏิบัติในการอยู่ในโลกโซเชียล
- การสื่อสารอย่างไรที่จะทำให้เราอยู่กันได้อย่างสันติท่ามกลางปัญหาการกระแนะกระแหนในสังคมปัจจุบัน


ตอนที่ 7
- แนะนำเรื่องการปฏิบัติอะมัลในช่วงเดือนซุลหิจญะฮ์
- คำสั่งห้ามต่างๆ ในคบหาสมาคมกับผู้อื่น ไม่ให้ทำลับหลังผู้อื่น
- ห้ามคาดเดา ห้ามสอดแนม ห้ามนินทา
- การคาดเดา คือ การคิด การมโนไปเอง
- ประเภทของการคาดเดา มีทั้งวาญิบ หะรอม และอนุญาต
- ตัวอย่างการคาดเดาที่วาญิบ อนุญาต และที่หะรอม
- มุสลิมต้องพยายามคาดเดาในทางที่ดีกับพี่น้องมุสลิมด้วยกัน
- ตัวอย่างเรื่องราวของท่านหญิงอาอิชะฮ์ กับ ศ็อฟวาน บิน มุอัฏฏ็อล
- พวกมุนาฟิกคือพวกที่คิดในแง่ร้ายและประโคมข่าวจนเกิดฟิตนะฮ์
- เมื่อไรก็ตามที่คิดในแง่ร้าย การสอดแนมก็จะตามมา
- การคิดไม่ดีต่อพี่น้องจะยังไม่บาป ตราบใดที่ไม่มีร่องรอยการสร้างความเดือนร้อนออกมาแสดงแก่เขา
- การสอดแนมเรื่องไม่ดีของผู้อื่น นอกจากที่เห็นภายนอก เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่ง
- คนที่สอดแนมผู้อื่นสักวันหนึ่งอัลลอฮ์จะประจานเขา
- ห้ามนินทา ความหมายของการนินทา คือ การกล่าวถึงผู้อื่นลับหลังในสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริง
- ต้องทบทวนสูเราะฮ์อัลหุญุรอตบ่อย เพื่อรักษาสภาพความเป็นพี่น้องกัน
- ความน่าเกลียดของการนินทา เปรียบเสมือนการกินซากศพพี่น้อง
- อะไรบ้างที่เป็นข้อยกเว้น ไม่ถือว่าเป็นการนินทา มีทั้งหมด 6 ประการ
- 1.การร้องทุกข์ของคนที่ถูกอธรรม 2.การขอความช่วยเหลือจากคนที่ทำร้าย 3.การขอทราบฟัตวาหรือหุก่มทางศาสนา 4.การเตือนให้ระวังจากความชั่วร้ายของคนอื่น 5.การพูดถึงคนที่ทำชั่วอย่างโจ่งแจ้ง 6.การเรียกชื่อฉายาที่รู้จักซึ่งหากเรียกชื่ออื่นอาจจะไม่รู้จัก
- การตักวาคือสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ในทุกๆ เรื่องที่กล่าวมาก่อนหน้า


ตอนที่ 8
- รูปแบบของฟิตนะฮ์ที่เราจะคอยพูดว่า อันนี้น่าจะหนักกว่าอันนี้
- การไม่โดนบททดสอบถือว่าเป็นนิอฺมัตอย่างหนึ่ง
- ต้องเรียนรู้หะดีษต่างๆ ของวันกิยามะฮ์มากขึ้น เพื่อให้มีมุมมองที่ถูกต้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง
- ต้องขอดุอาอ์ให้เกิดความปลอดภัย
- อัลกุรอานคือธรรมนูญชีวิต
- ความเป็นสากลของอัลกุรอาน
- มนุษย์ล้วนเกิดมาจากอาดัมและเฮาวาอ์ แล้วเหตุใดมนุษย์จึงยังห้ำหั่นกันไม่สิ้นสุด
- ธรรมชาติการสืบพันธุ์ของมนุษย์ต้องมาจากสองเพศ คือ ชายกับหญิง เท่านั้น
- อัลกุรอานได้แก้ปัญหาเรื่องความต่างของชาติพันธุ์ไว้ก่อนหน้ามาหลายปีแล้ว
- ความแตกต่างด้านเชื้อชาติไม่ใช่เหตุที่เราจะไปดูถูกคนอื่น
- เกณฑ์แห่งเกียรติยศ คือ ตักวา ในทุกๆ เรื่อง
- ตัวอย่างของมิติต่างๆ ของตักวา ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล
- การตำหนิความบกพร่องของคนอื่น เท่ากับกำลังตำหนิผู้สร้างที่ทำให้เขามีลักษณะบกพร่อง
- มาตรฐานที่ชัดเจน คือ มาตรฐานตักวา ในทุกระดับชั้น ทุกอิริยาบท
- อินเด็กซ์ตักวา ในคัมภีร์อัลกุรอาน
- มุมมองเรื่องตักวาที่ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อตัวเอง
- ความรอบรู้ของอัลลอฮ์นั้นครอบคลุมทุกประการโดยละเอียด
- อัลลอฮ์ทรงรู้ว่าใครมีตักวามากที่สุด ตัวเราเองก็ไม่อาจจะให้คะแนนตัวเองได้เช่นกัน
- ตักวาคือเรื่องที่เราแต่ละคนต้องรับผิดชอบตัวเอง


ตอนที่ 9
- หัวใจที่เจอกับความมืดมิดจนบอดเป็นที่น่ากลัวว่าจะเป็นเหยื่อของชัยฏอน
- หัวใจที่บอดจะนำไปสู่ความสิ้นหวัง เมื่อสิ้นหวังชัยฏอนก็จะมาล่อลวงได้ง่าย
- ตอนหนุ่มให้กลัวมากกว่าหวัง ตอนแก่ให้หวังมากกว่ากลัว
- การอิสติกอมะฮ์ เป็นเหตุให้มลาอิกะฮ์คอยปลอบใจไม่ให้กลัวและกังวลเมื่อถึงเวลาใกล้ตาย
- ค้นหานิอมัตของอัลลอฮ์ในตัวเราให้เจอ เพื่อให้เราระลึกถึงคุณค่าที่พระองค์มอบให้ จะได้ไม่สิ้นหวัง
- กลุ่มคนที่เป็นชาว อะอฺรอบ หรือ พวกเบดูอิน ที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อท่านนบีแบบผิวเผิน
- เบดูอินมาทวงบุญคุณกับท่านนบี พวกเขาคิดว่าซะกาตทีท่านนบีจัดเก็บนั้นเป็นหนี้ที่พวกเขาต้องได้คืน
- การรับอิสลามยังไม่ได้รับประกันว่ามีความศรัทธาทีแท้จริง
- บางตัฟซีรบอกว่าเป็นอายะฮ์ที่พูดถึงเบดูอินที่เป็นมุนาฟิก
- บางตัฟซีรบอกว่าเป็นอายะฮ์ที่พูดถึงมุสลิมที่มีอีมานอ่อนแอ ความศรัทธายังไม่ได้ฝังรากลึกในหัวใจ
- ความแตกต่างระหว่างคำว่า "อิสลาม" กับ "อีมาน" เวลาที่อยู่ด้วยกันและเวลาที่อยู่แยกกัน
- ตัวอย่างการอธิบายความแตกต่างระหว่างอิสลามกับอีมานในหะดีษญิบรีล
- จำนวนมุนาฟิกในสมัยท่านนบีอย่างน้อย 30%
- ต้องหาวิธีที่จะทำให้ยกระดับจากการเป็นมุสลิมแบบผิวเผินไปสู่การเป็นผู้ศรัทธาที่ลึกซึ้ง
- การเรียนรู้คือหนทางสู่การยกระดับตัวเองสู่ความเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง
- ที่เราไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์เพราะอีมานเราตาย เราจึงต้องพยายามทุ่มเทให้อีมานมาอยู่ในหัวใจ
- ต้องพยายามดูแลอีมานของตัวเอง ของครอบครัว ของคนใกล้ชิด
- การดูแลอีมานต้องใช้เวลา
- ดูแลครอบครัวให้อยู่ในอีมานให้ได้
- ผลบุญของความดีไม่เคยลด ส่วนบาปต่างๆ นั้นอัลลอฮ์พยายามหาทางให้ลดตลอด
- อย่าทำตัวเป็นเหมือนกับเบดูอินที่มาหาท่านนบี


ตอนที่ 10
- อัลลอฮ์อธิบายถึงความหมายของการศรัทธาที่แท้จริง ไม่เหมือนกับที่บรรดาเบดูอินกลุ่มนั้นเข้าใจ
- อีมานที่แท้จริง คือ การไม่คลางแคลงสงสัย ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
- เริ่มจากหัวใจที่ต้องรักษาระดับตลอด
- หัวใจไม่สงสัย ส่วนอวัยวะอื่นๆ ต้องพิสูจน์ในภาคปฏิบัติด้วยการทุ่มเทพยายามเพื่อศาสนาของอัลลอฮ์
- นิยามการญิฮาดในภาพรวม คือการทำให้ศาสนาของอัลลอฮ์สูงส่ง ไม่ว่าด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งด้วยทรัพย์สินและร่างกาย
- อีมานต้องมีทั้งภายในและภายนอก ทั้งทฤษฎี คำพูด ภาพลักษณ์และการปฏิบัติ
- พิสูจน์เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตัวเองและอัลลอฮ์ได้เป็นสักขีพยานว่าเรามีอีมานอย่างแท้จริง
- เหตุผลที่อัลลอฮ์ทดสอบมนุษย์ ก็เพื่อพิสูจน์ความศรัทธาของเรานั่นเอง
- บางทีคนที่อีมานอ่อนบางพวก ก็ริอ่านที่จะสอนศาสนาแก่ผู้ที่รู้ดีกว่าเขา
- การอ้างว่าตัวเองศรัทธาหรือไม่ศรัทธา เป็นการให้คะแนนตัวเองซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ทำกันเองได้ มีแต่อัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้ดี
- ไม่จำเป็นต้องเปิดความดีที่เราทำ เว้นแต่มีเหตุผลบางอย่างที่มีประโยชน์
- ตัวอย่างการปกปิดการทำความดี ในเรื่องการเศาะดะเกาะฮ์ จะให้ปกปิดหรือเปิดเผยดี
- โดยทั่วไปการปกปิดการบริจาคนั้นดีกว่า แต่บางโอกาสการเปิดเผยนั้นดีกว่าถ้าหากมีประโยชน์ต่อผู้รับบริจาคมากกว่า
- การที่เรารับอิสลามไม่ได้แปลว่าเราเป็นผู้มีบุญคุณต่ออิสลาม
- อัลลอฮ์ต่างหากที่ควรจะต้องทวงบุญคุณเรา แต่พระองค์ไม่เคยทวงบุญคุณกับเราเลย
- บางคนถ่อมตนกับมนุษย์แต่กลับกร่างกับอัลลอฮ์
- อายะฮ์สุดท้ายตอกย้ำความรอบรู้ของอัลลอฮ์ทั้งคำพูดและการกระทำของมนุษย์ ทุกเรื่องที่ผ่านมาในสูเราะฮ์อัลหุญุรอต ทั้งมาตรฐานของอีมานที่มนุษย์ด้วยกันไม่รู้ แต่อัลลอฮ์รู้


------
สนับสนุนกิจกรรมและการทำงานของเรา คลิกที่นี่