วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เราต้องการความเมตตาจากอัลลอฮฺ


  • อิสลามคือศาสนาแห่งความเมตตา 
  • อัลลอฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน เราะสูล ทั้งสามประการล้วนเป็นความเมตตาทั้งสิ้น
  • ชีวิตเราขาดความเมตตาไม่ได้ ทั้งในดุนยา สำหรับตัวเอง ครอบครัว สังคม และกับผู้อื่น
  • ดุอาอ์เพื่อขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ
  • ความเมตตาที่เราจำเป็นมากที่สุดคือความเมตตาในอาคิเราะฮฺ
  • ไม่มีใครที่สามารถเข้าสวรรค์ได้นอกจากด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺ
  • อัลลอฮฺจะนำผู้ที่ทรงประสงค์เข้าสู่ความเมตตาของพระองค์
  • ต้องทำตัวเองให้เป็นประชาชาติแห่งความเมตตา ให้เหมาะสมกับที่อัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่เราให้เป็น อุมมะฮฺของศาสนทูตแห่งความเมตตา

จากคุฏบะฮฺ "ตัวอย่างภาคปฏิบัติของประชาชาติแห่งความเมตตา"
ฟังฉบับเต็มได้จาก http://islamhouse.com/th/audios/2776730/ 

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปราศจากอัลกุรอาน หัวใจตายซาก ชีวิตแบบบูดู

Credit: www.akteb.com

ชีวิตที่ปราศจากอัลกุรอาน คือ หัวใจตายซาก ศพที่เดินได้ ชีวิตเหม็นๆ แบบมักรูฮฺ

จากบทนำตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-ห๊ากเกาะฮฺ ตอนที่ 3

ฉบับเต็มติดตามได้จาก http://islamhouse.com/th/audios/2770026/

กดฟังได้ทันที




หรือดาวน์โหลดได้จากที่นี่

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปรับความตั้งใจ/เนียตใหม่อีกครั้ง!

เครดิตภาพ : monaliza110.blogspot.com

ตัจญ์ดีด เนียต หรือ การปรับความตั้งใจใหม่ พูดถึงตัวอย่างการปรับเนียตในการนั่งอยู่ในวงกลุ่มศึกษาอัลกุรอาน ซึ่งบางครั้งเราอาจจะหลงลืม โดยไม่ได้ตั้งใจให้ถูกต้อง จะตั้งใจอย่างไรเพื่อให้การนั่งชุมนุมในวงศึกษาอัลกุรอานมีประสิทธิภาพมากที่สุด

จากบทนำตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-ห๊ากเกาะฮฺ ตอนที่ 2

ฉบับเต็มติดตามได้จาก http://islamhouse.com/th/audios/2770026/

กดฟังได้ทันที



หรือดาวน์โหลดได้จากที่นี่
http://picosong.com/uyZN/ 

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เราต่างเป็นฟิตนะฮฺแก่กัน และเราต่างก็ต้องอดทน



﴿وَجَعَلْـنَا بَعْـضَـكُمْ لِبَعْضٍ فِتْنَةً أَتَصْبِرُونَ﴾ [الفرقان : ۲۰]


“และเราได้ทำให้พวกเจ้าเป็นฟิตนะฮฺแก่กันและกัน เพื่อทดสอบว่าพวกเจ้าจะอดทนหรือไม่” (อัล-ฟุรกอน 20)

อิบนุล ก็อยยิม ได้อธิบายอายะฮฺนี้ว่า
นี่เป็นกฎที่เกิดขึ้นกับทุกคน อัลลอฮฺทรงทดสอบคนส่วนหนึ่งกับอีกคนอีกส่วนหนึ่งเสมอ

- ทรงทดสอบบรรดานบี ด้วยกลุ่มชนของพวกเขา ให้ทำหน้าที่เชิญชวนให้พวกเขายอมรับสัจธรรม อดทนต่อการต่อต้านของพวกเขา แบกรับความยากลำบากในการเผยแพร่สารแห่งพระเจ้าแก่พวกเขา

- ทรงทดสอบประชาชาติทั้งหลายด้วยบรรดานบีของพวกเขา ว่าจะเชื่อฟังเหล่าศาสนทูตเหล่านี้หรือไม่ จะช่วยเหลือสนับสนุนพวกเขาไหม จะเชื่อและศรัทธาหรือจะปฏิเสธและต่อต้านการเชิญชวนบรรดานบีเหล่านั้น?

- ทรงทดสอบบรรดาอุละมาอ์ด้วยคนที่โง่เขลาเบาปัญญา ว่าจะสอนพวกเขาอย่างไร จะแนะนำพวกเขาไหม จะอดทนในการสั่งสอน ตักเตือน ชี้แนะ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 

- ทรงทดสอบคนที่ไม่รู้ ด้วยบรรดาผู้รู้และอุละมาอ์ ว่าจะเชื่อฟังพวกเขาไหม จะยอมรับคำชี้แนะจากพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่

- ทรงทดสอบเหล่ากษัตริย์ด้วยประชาชน ทรงทดสอบประชาชนด้วยเหล่ากษัตริย์

- ทรงทดสอบคนรวยด้วยคนจน ทรงทดสอบคนจนด้วยคนรวย

- ทรงทดสอบคนที่อ่อนแอด้วยคนที่แข็งแรง ทรงทดสอบคนที่แข็งแรงด้วยคนที่อ่อนแอ

- ทรงทดสอบผู้นำด้วยผู้ตาม ทรงทดสอบผู้ตามด้วยผู้นำ

- ทรงทดสอบผู้ครอบครองด้วยผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง ทรงทดสอบผู้อยู่ใต้ครอบครองด้วยผู้ที่ครอบครองเขา

- ทรงทดสอบสามีด้วยภรรยา ทรงทดสอบภรรยาด้วยสามี

- ทรงทดสอบบุรุษเพศด้วยสตรีเพศ ทรงทดสอบสตรีเพศด้วยบุรุษเพศ

- ทรงทดสอบเหล่ามุอ์มินด้วยกาฟิร ทรงทดสอบเหล่ากาฟิรด้วยมุอ์มิน

- ทรงทดสอบผู้ที่ทำหน้าที่สั่งเสียความดีด้วยคนที่ถูกสั่งเสียเชิญชวน และทรงทดสอบคนที่ถูกสั่งเสียเชิญชวนด้วยคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว ...


------------

จากคำพูดของ อิบนุล ก็อยยิม ใน อิฆอซะตุล ละฮฺฟาน 2/881 

อ่านต้นฉบับเพิ่มเติมที่  http://www.aborashed.com/2010/06/blog-post_22.html

ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นนี้ได้จาก
- บรรยายโดยเชค มุหัมมัด ศอลิห์ อัล-มุนัจญิด https://youtu.be/Piz91cUWCVg
- บรรยายโดยเชค อัช-ชะอฺรอวีย์ https://youtu.be/lDoqAK2gUX8
http://islamselect.net/mat/100938

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กำหนดเป้าหมายสำหรับเดือนเราะมะฎอน


ความลับของเดือนเราะมะฎอนในการสร้างบุคลิกลักษณะที่ดีของมุสลิม ทั้งในด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา ร่างกาย และการเข้าสังคม ภารกิจต่างๆ ในเดือนเราะมะฎอนล้วนแล้วส่งผลต่อการพัฒนาตนเองสู่ความสมบูรณ์ครอบคลุมในชีวิตทุกๆ ด้าน และมีส่วนช่วยออกแบบสไตล์การดำเนินชีวิตที่สวยงามภายใต้ร่มเงาคำสอนอิสลามที่เรียบง่ายทรงพลัง

ฟังบรรยายคลิกที่นี่ http://islamhouse.com/th/audios/718701/


อธิบายเพิ่มเติม กำหนดเป้าหมายในที่นี้คือกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนององค์ประกอบแต่ละด้าน ตัวอย่างเช่น ..

เป้าหมายด้านหัวใจ ... เราะมะฎอนนี้ ฉันขออ่านอัลกุรอานให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ญุซ

เป้าหมายด้านปัญญา ... เราะมะฎอนนี้ ฉันขออ่านตัฟซีรสูเราะฮฺ อัลฟุรกอน ให้จบ

เป้าหมายด้านร่างกาย ... เราะมะฎอนนี้ ฉันขอเริ่มต้นดูแลสุขภาพ จัดการการกินอาหารที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนมากกว่านี้

เป้าหมายด้านสังคม ... เรามะฎอนนี้ ฉันขอตั้งเป้าหมายการบริจาคอย่างน้อยคืนละ ..... บาท ทุกคืนหลังตะรอวีห์ 

เป็นต้น

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หัวใจ ... กับชัยฏอน



คัดจากคุฏบะฮฺ "ให้หัวใจมีชีวิต" โดย ซุฟอัม อุษมาน

ฟังและดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี่

http://islamhouse.com/th/audios/799603/

อธิบายความสำคัญของหัวใจ และลักษณะพิเศษบางประการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยเฉพาะ เช่น เป็นเกณฑ์ชี้วัดความดีความชั่วในทัศนะของอัลลอฮฺ ร่างกายจะตามหัวใจ หัวใจพลิกผันได้ง่าย หัวใจคือที่รองรับการทดสอบ เป็นอวัยวะที่ชัยฏอนมุ่งร้ายอยู่ตลอดเวลา การงานต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความนึกคิดในหัวใจ หัวใจเป็นที่สะสมของโรคร้ายต่างๆ ที่มักแฝงเร้นและยากแก่เยียวยาถ้าหากละเลยไม่สนใจ


------------------
Credit:  Andalus : Good Actions Good Relations

http://www.AndalusPhuket.com

https://www.facebook.com/AndalusPhuket

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รวมไฮไลท์บรรยายและนะศีฮัต ในรูปไฟล์ MP3

หะละเกาะฮฺ วิธีเรียนอัลกุรอานแบบคลาสสิก


ดาวน์โหลดที่นี่ http://picosong.com/VWd4/


ปรับความตั้งใจในการเรียนรู้ 

ดาวน์โหลดที่นี่ http://picosong.com/uyZN/


  • บทเรียนสำหรับนักดาอีย์จากนบียูนุส - http://picosong.com/XmU2/
  • นบีมูซาร้องไห้ถึงประชาชาตินบีมุหัมมัด - http://picosong.com/j4YF/

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บุคลิกและลักษณะนิสัยอันสูงส่งของท่านนบีมุหัมมัด


สูเราะฮฺ อัล-เกาะลัม อายะฮฺที่ 4-6  ณ มัสยิดลีวาอุ้ลอิสลาม (ซอยบางชีเหล้า) จังหวัดภูเก็ต
 
- เหตุการณ์ที่ดูหมิ่นท่านนบี มีมาตั้งแต่ช่วงที่ท่านเริ่มเผยแพร่อิสลาม และจะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ

- กำหนดของอัลลอฮฺมีสองแบบ คือ เกาะดัรฺ เกานีย์ และ เกาะดัรฺ ชัรอีย์ พร้อมอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเภทนี้

- เหตุการณ์ต่าง ๆ และสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตถือว่าเป็น เกาะดัรฺ เกานีย์ ในการตอบสนองหรือเผชิญหน้ากับมัน เราจำเป็นต้องใช้ เกาะดัรฺ ชัรอีย์

- บางครั้ง มุสลิมเองมักจะใช้อารมณ์ มาสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มากกว่าการกลับไปศึกษาการตอบสนอง ตอบโต้ ต่อกรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติในอิสลาม

-ศัตรูผู้ไม่หวังดีและเป็นปฏิปักษ์กับสัจธรรม ปรารถนาที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺด้วยปากของพวกเขา แต่อัลลอฮฺจะทรงเป็นผู้ทำให้รัศมีของพระองค์สมบูรณ์ แม้ว่าพวกปฏิเสธศรัทธาจะเกลียดชังก็ตาม

- คุลุก(เอกพจน์) หรือ อัคลาก(พหูพจน์) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังทางจิตวิญญาณ ผู้ใดมีมันอยู่ในครอบครอง ก็จะให้การทำความดีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างง่ายดายสำหรับเขา

- มารยาทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนต้องมีมารยาทที่ดี คนที่มีอีมานที่ดีที่สุดคือผู้ที่มีมารยาทที่ดีที่สุด

- มีคนถามท่านหญิงอาอีชะฮฺ ว่า "อะไรคือคุณลักษณะนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงจึงถามกลับว่า "ท่านอ่านกุรอานหรือเปล่า" เขาตอบว่า "ใช่" ท่านหญิงจึงตอบอีกว่า "บุคลิกลักษณะของท่านนบีก็คืออัลกุรอานนั่นแหละ"

- มารยาทหรือคุณลักษณะนิสัยของท่านนบีคือ อัลกุรอาน หมายถึง ทุกอย่างที่ อัลลอฮสั่งใช้ในอัลกุรอาน ท่านสามารถกระทำได้เลยโดยเสมือนว่าเป็นบุคลิกโดยปริยายของท่าน

- อย่าอ้างว่าเรารักนบี แต่ไม่อ่านกุรอาน

- ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีมารยาทที่ดีทีสุด ดังนั้นมุสลิมทุกคนก็ควรมีมารยาทดีดั่งเช่นท่าน โดยศึกษาจากอัลกุรอาน

- ท่านนบีได้รับการตัรบียะห์จากอัลลอฮฺด้วยอัลกุรอาน และท่านนบีก็ตัรบิยะฮฺเศาะหาบะฮฺด้วยอัลกุรอาน

- การวางตัวของท่านนบีที่มีต่อศัตรู เช่น เด็กยิวที่เป็นคนรับใช้ในบ้านท่านนบี ที่ถึงช่วงเวลาสุดท้ายของเขา ท่านนบีไปเยี่ยมเยียนและดะอฺวะฮฺให้เขารับอิสลาม

- การเผยแพร่ในสิ่งที่เป็นตัวตนและบุคลิกของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า


ดาวน์โหลดไฟล์เสียงได้จาก https://soundcloud.com/abu-fairooz/the-prophet-muhammad-s-charecter

--------------------------
Credit : สรุปเนื้อหาโดย Facebook:  Kumobarick Ibnu Kuhussein และ Muhammadridwan BinJesoh

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุลก์ ตอนที่ 4

Credit: desktopwallpapers4.me

เนื้อหาตอนที่ 4 จากตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุลก์ ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ ดังนี้ :
  • การทำความเข้าใจกับอัลกุรอานซึ่งเป็นวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน 
  • อัลลอฮฺสร้างชีวิตมาเพื่อให้เป็นการทดสอบ เราไม่ได้เกิดมาด้วยความต้องการของตัวเอง จึงไม่ควรใช้ชีวิตตามใจตัวเอง แต่ควรจะต้องใช้ชีวิตให้ดีที่สุดตามที่อัลลอฮฺประสงค์
  • อธิบายเกณฑ์การทำอะมัลว่าควรทำให้ดีหรือควรทำให้เยอะ อันไหนดีกว่ากัน 
  • เงื่อนไขสองประการสำคัญในการทำอะมัลให้ดี
  • อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-อะซีซ และ อัล-เฆาะฟูร และความสัมพันธ์ระหว่างพระนามนี้กับความหวังและความกลัว และสภาพที่สมดุลในการใช้ชีวิตของการเป็นมนุษย์
  • “คนที่ไม่เตาบัตตัวเอง บางครั้งพระองค์ก็ยังทรงอภัย แล้วนับประสาอะไรกับคนที่เตาบัต” 
  • “ถ้ามนุษย์ไม่มีความกลัว ก็จะทำบาปไม่เว้นแต่ละวัน แต่ถ้ามนุษย์ไม่มีความหวัง ก็จะไม่มีกำลังใจที่จะทำความดี สองอย่างนี้มันต้องไปด้วยกัน”
  • อัลลอฮฺสอนมนุษย์ให้รู้จักชีวิตโดยไม่แยกสอน แต่จะบูรณาการ อาทิ สอนทั้งอะกีดะฮฺและสอนเกี่ยวกับธรรมชาติการสร้างสรรค์ของพระองค์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งมีภาคปฏิบัติที่เรียกร้องให้ลงมือทำด้วย
  • การเรียนแบบแยกสอนอาจจะทำให้ประสิทธิผลในการใช้ชีวิตบกพร่องไม่สมดุลและไม่ครอบคลุม
  • การเรียนตัฟซีรคือการเรียนที่สามารถบูรณาการได้ทุกแขนง ซึ่งเป็นวิถีการเรียนรู้ของบรรดาอุละมาอ์ในสมัยก่อน
  • การเรียนควรมีจุดประสงค์เพื่อการปฏิบัติจริง มิใช่หมกมุ่นเรียนรู้จนสุดโต่งโดยไม่หวังภาคปฏิบัติใดๆ
  • สาธยายประเด็นว่าด้วยชีวิตและความตาย เป็นความสวยงามในเชิงนามธรรมได้อย่างไร? 
  • ระหว่างความงามแบบนามธรรมและความงามแบบรูปธรรม ที่กล่าวถึงในต้นสูเราะฮฺ อัล-มุลก์
  • ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่เคยปฏิวัติความโง่เขลาของมนุษย์ในยุคการใช้ชีวิตแบบชาวทะเลทราย
  • พระนาม “อัร-เราะห์มาน” กับนัยบางประการที่อัลลอฮฺต้องการสื่อในการสร้างมัคลูกของพระองค์
  • ความเมตตาที่ซุกซ่อนอยู่ในทุกอณูแห่งการเสกสรรค์ของอัลลอฮฺ
  • ความสำคัญและความสัมพันธ์ในการ “คิด” และ “รำลึก” กล่าวคือ ใช้ความคิดในการพิจารณามัคลูกของอัลลอฮฺ และผูกโยงการคิดไปยังการรำลึกถึงพระองค์ ต้องเอาสิ่งที่เราดูกลับไปหาอัลลอฮฺ 
  • สูตรของการ “ซิกิรต่ออัลลอฮฺ และ ฟิกิรต่อมัคลูคของพระองค์” 
  • ผลจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและคิดพิจารณาการสร้างของพระองค์
  • ความสวยงามที่อยู่ใกล้ตัวเราโดยไม่ต้องลงทุน คือสิ่งที่อัลลอฮฺเรียกร้องให้มนุษย์ดูซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้เกิดผลต่อการศรัทธาที่เพิ่มมากขึ้น
  • การสะท้อนความหมายระหว่าง “อายาตเกาลียะฮฺ” จากคัมภีร์อัลกุรอาน และ “อายาตเกานียะฮฺ” จากการสร้างสรรค์มัคลูก
  • “คนที่เป็นมนุษย์แล้วไม่ยอมอ่านอัลกุรอาน ก็คือคนที่ไม่ยอมรู้จักตัวเอง”
  • ในตอนท้ายได้พูดถึงทฤษฎี “กบต้มน้ำร้อน” (Boiling Frog) อธิบายการอยู่เฉยๆ ไม่ยอมเรียนรู้ชีวิตและรู้จักตัวเองจนทำให้เกิดความเสียหายในที่สุด
  • “เวลาที่เราดูคำพูดของอัลลอฮฺ ก็จะสะท้อนไปยังมัคลูคของพระองค์ เวลาที่เราดูมัคลูคของพระองค์มันก็จะสะท้อนให้เรากลับมาคิดถึงอัลกุรอานซึ่งเป็นคำพูดของอัลลอฮฺ มันคือความมหัศจรรย์ ความสวยงาม ความลงตัว ความสมดุล ที่คัมภีร์เล่มอื่นไม่สามารถทำได้”

คลิกฟังตอนที่ 4 ได้ที่นี่

หรือฟังตอนอื่นๆ ทั้งหมดได้ที่ 
http://IslamHouse.com/793377