วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัน-นัจญ์มฺ






ฟังทาง SoundCloud ที่นี่



ตอนที่ 1 - 2019-8-15- เป็นสูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาหลังจากสูเราะฮ์อัลอิคลาส
- เป็นสูเราะฮ์แรกที่มีคำสั่งให้ก้มกราบ และเป็นสูเราะฮ์แรกที่มีคำสั่งใช้ให้ท่านนบีอ่านเสียงดังต่อหน้าพวกกุเรช ณ มัสยิดอัลหะรอม
- การตั้งโจทย์ของนบีอิบรอฮีม ว่าใครคือพระเจ้าของเขา จากการสังเกตท้องฟ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน
- เราจะรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
- ความสำคัญระหว่างมนุษย์กับดวงดาวในสมัยก่อน
- อิสลามคือศาสนาแห่งวะห์ยู คือ คัมภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮ์ของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- การกล่าวร้ายของพวกมุชริกีนต่อท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านเป็นคนหลงผิดและหลงทาง
- หะดีษที่กล่าวถึงการพูดความจริงของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แม้กระทั่งในการหยอกล้อ
- อัลกุรอานที่มาถึงเราทุกวันนี้ เป็นนิอฺมัตที่ใหญ่หลวงยิ่ง เพราะอะไร?


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Firman



ตอนที่ 2 - 2019-8-22- อัลลอฮ์ตอบโต้มุชริกีนที่ปฏิเสธท่านนบีและวะห์ยู โดยให้เห็นว่าการประทานวะห์ยูนั้นเป็นเรื่องใหญ่ มิใช่เรื่องเล่นๆ
- อัลกุรอานเป็นวะห์ยูทั้งคำพูดและความหมาย
- หะดีษเป็นวะห์ยูเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่ความหมายที่ได้รับการดลใจจากอัลลอฮ์
- อะฮ์ลุซซุนนะฮฺ คือ กลุ่มชนที่ยอมรับหลักฐานที่เป็นอัลกุรอานและหะดีษ
- กระบวนการรับหลักฐานทั้งสองต่างกัน อัลกุรอานนั้นมีความถูกต้องในตัวของมันเอง แต่อัลหะดีษจะต้องมีการตรวจสอบ
- มุสลิมต้องใช้วะห์ยูในการดำรงชีวิต
- หนังสือที่ควรมีติดตามบ้านคือ อัลกุรอานแปลไทย เศาะฮีห์อัล-บุคอรี และเศาะฮีห์มุสลิม
- รากฐานของความรู้ที่สำคัญนั้นคือ วะห์ยู หรือ ความรู้ที่มาจากอัลลอฮ์
- ญีบรีล คือ หัวหน้าของบรรดามะลาอิกะฮฺ ผู้ทรงพลัง แข็งแกร่ง ทรงอำนวจ ซึ่งได้รับหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ คือ สอนท่านนบีด้วยการนำวะห์ยูจากอัลลอฮ์ให้ท่าน
- คุณลักษณะของญีบรีล บางส่วนคือ มีมารยาทที่สง่างาม คุณลักษณะที่สมบูรณ์ มีปีก 600 ปีก บางหะดีษบอกว่าเวลาขยับปีจะมีอัญมณีเพชรพลอยร่วงออกมา
- ช่วงที่ท่านนบีเสียชีวิต มีเศาะหาบะฮฺหญิงท่านหนึ่งร้องไห้ เนื่องจากเสียใจที่หลังจากนี้จะไม่มีวะห์ยูอีกต่อไป จะไม่มีญีบรีลลงมาอีก
- เหตุผลที่อัลลอฮ์เลือกญีบรีลรับหน้าทีในการนำวะห์ยูให้กับท่านนบี คือ เป็นหลักประกันว่าวะห์ยูของพระองค์จะได้รับการดูแลอย่างดี
- อัร-รูห์ อัล-อามีน วิญญาณผู้ซื่อสัตย์ ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ และแข็งแกร่งสามารถที่จะปกป้องวะห์ยูได้ เป็นฉายาของญิบรีล
- ญีบรีล เคยแสดงตัวตนที่แท้จริงให้ท่านนบีเห็น 2 ครั้ง ครั้งแรก ท่านนบีขอให้ท่านญีบรีลเผยร่าง ญีบรีลก็เลยยืนบนอวกาศ (บนท้องฟ้า) ด้านทิศตะวันออก ท่านนบีก็เห็นร่างของญีบรีลใหญ่มหึมา เต็มท้องฟ้า
- ญีบรีลสอนท่านนบีตัวต่อตัว ในระยะประชิดตัว เหมือนระยะห่างระหว่างปลายทั้งสองของคันธนู
- อธิบายลักษณะของผู้สอนนั้นคือญีบรีล
- ท่านนบีเห็นญีบรีลในร่างจริงอีกครั้ง ณ สถานที่ๆ เรียกว่า สิดเราะตุล มุนตะฮา (สุดเขตที่มัคลูกจะสามารถเข้าไปได้ เป็นเขตของอัลลอฮ์)
- สิดเราะตุล มุนตะฮา ถูกปกคลุมไปด้วยสิ่งที่ไม่สามารถพรรณาได้
- ท่านนบีมีมารยาทในการเข้าเฝ้าอัลลอฮ์ ท่านไม่ละสายตาไปดูอย่างอื่นถึงแม้ว่าสิ่งรอบตัวจะมีความน่าสนใจมากขนาดไหนก็ตาม


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Mus-ab




ตอนที่ 3 (อายะห์ที่ 19-26) - 2019-8-29- บรรดามุชริกีนได้ปฏิเสธวะห์ยูจากอัลลอฮ์ แถมยังโต้เถียง และใส่ร้ายท่านนบีต่างๆ นานา อัลลอฮ์ตะอาลาจึงตั้งคำถามเพื่อที่จะหักล้าง และตำหนิประณามพวกเขา
- อัล-ลาต คือรูปปั้นที่บรรดามุชริกีนกราบไหว้บูชา ซึ่งมีความหมายทางภาษาและทางความเชื่อว่า "อัลลอฮ์"
- เช่นเดียวกันกับรูปปั้นตัวอื่นๆ อย่าง อัล-อุซซา และมะนาต พวกเขาตั้งชื่อเพื่อที่จะเทียบเคียงกับอัลลอฮ์
- ความคิดที่ผิดเพี้ยนของบรรดามุชริกีน พยายายามทำทุกอย่างให้เหมือนกับที่อัลลอฮ์ให้มา
- บรรดามุชริกีนเชื่อว่า มะลัก (มลาอิกะฮ์) เป็นเพศหญิง และยังชื่อว่าพวกเขาเป็นลูกสาวของอัลลอฮ์ ทั้งที่ตัวมุชิริกีนเองเกลียดการมีลูกสาว
- สิ่งที่ท่านนบีได้นำเสนอให้กับชาวมุชริกีนนั้น ล้วนมีหลักฐานมาสนับสนุนที่เป็นวะห์ยูจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น
- สิ่งที่บรรดามุชริกีนได้คิดและปฏิบัตินั้น ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่เป็นวะห์ยูจากอัลลอฮ์ แต่เกิดจากการคาดเดา สงสัย และอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนทั้งนั้น
- พวกเขาโต้เถียงท่านนบี ใช้ชีวิตอยู่กับความมืดมนและอารมณ์ใฝ่ต่ำ อยู่กับพระเจ้าจอมปลอมมาทั้งชีวิต โดยไม่มีแหล่งที่มาที่เป็นหลักฐานที่ชัดแจ้ง แต่เมื่อท่านนบีนำแสงสว่าง นำวะห์ยูจากอัลลอฮ์มา พวกเขากลับปฏิเสธ
- บรรดามุชริกีนสร้างรูปปั้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮ์ หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือในวันอาคิเราะฮฺ ทั้งๆ ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ให้ประโยชน์อะไรกับพวกเขาเลย
- ผู้ที่จะให้ในสิ่งที่พวกเจ้าหวัง ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หาใช่รูปปั้นที่พวกเจ้าสร้างกราบไหว้บูชา แต่เป็นอัลลอฮ์ พระผู้ทรงสร้างและผู้ควบคุมทุกสิ่งอย่างทั้งโลกนี้และโลกหน้า
- มะลาอิกะฮ์บนท้องฟ้าที่อัลลอฮ์ทรงสร้างมีจำนวนมากกว่ารูปปั้นที่พวกเขากราบไหว้บูชา ยังไม่มีความสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่มนุษย์ นับประสาอะไรกับรูปปั้นไม่กี่รูปที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
- บรรดามุชริกีนได้ตั้งภาคีกับอัลลอฮ์ กล่าวหาใส่ร้ายท่านนบีไว้มากมาย แต่ก็ยังหวังว่าจะได้รับสิ่งดีๆ หวังว่าจะได้รับความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการหวังแบบลมๆ แล้งๆ ที่เป็นไปไม่ได้
- มุสลิมผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ เมื่อต้องการในสิ่งที่ตนเองคาดหวังจากอัลลอฮ์ ต้องปฏิบัติตัวให้เหมาะกับสิ่งที่ตัวเองคาดหวัง หาใช่หวังลมๆ แล้งๆ เหมือนกับบรรดามุชริกีน


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Ausman Abdullah




ตอนที่ 4 - 2019-9-5
- การถือศีลอดสุนัตในเดือนมุหัรร็อม(วันอาชูรออ์)ควรถือศีลอดให้ได้ 3 วัน คือ วันที่ 9,10,และ 11
- หรือถือศีลอดให้ได้ 2 วัน คือ วันที่ 9 กับวันที่10, หรือวันที่ 10 กับ วันที่ 11 แต่ไม่ควรพลาดวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม
- การถือศีลอดวันอาชูรออ์เป็นแบบอย่างของท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮ์
- วันอาชูรออ์ คือ วันที่ท่านนบีมูซานำชาวบนีอิสรออีลหนีจนปลอดภัยจากการไล่ล่าของฟิรเอาน์
- การถือศีลอด คือ การขอบคุณอัลลอฮ์
- ทุกอย่างในโลกนี้และบรรดามะลาอิกะฮ์ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ใดได้เลยหากอัลลอฮ์ไม่อนุญาต
- อัล-ลาตเป็นรูปปั้นประจำชาวฏออิฟ อัล-อุซซาประจำชาวกุเรช และมะนาตประจำชาวยัษริบ
- ผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือ ชะฟาอะฮ์ นั้น พระองค์ต้องพอพระทัยเขา
- พวกมุชริกีนคาดเดาว่าบรรดามะลาอิกะฮ์เป็นเพศหญิง
- เรื่องราวที่มาจากการคาดเดาไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเรื่องจริงได้เลย
- อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮ์
- เราต้องหาความจริงให้เจอและต้องบอกให้ได้ว่าความจริงนั้นนำมาจากไหน
- อัซ-ซ็อน คือ การคาดเดา
- พฤติกรรมของผู้ที่บูชาเจว็ดเป็นพฤติกรรมของการคาดเดา
- อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบีอย่าได้น้อยใจกับพวกที่บูชาเจว็ด จงทำงานของท่านต่อไป อย่าใส่ใจหากพวกเขาไม่ศรัทธา
- ท่านนบีมุหัมมัดเป็นผู้ที่มีความเมตตา
- พวกปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาต้องการความรู้เฉพาะโลกนี้เท่านั้น
- ความรู้ที่สามารถที่จะนำเราไปในโลกหลังความตายได้นั้น คือความรู้จากคัมภีร์อัลกุรอาน
- ดุอาอ์ของท่านนบี อย่าให้โลกนี้เป็นเรื่องใหญ่กว่าภารกิจอื่นๆ ในชีวิตเรา
- อัลลอฮ์เป็นผู้ปกครองทุกอย่างบนโลกใบนี้
- เมื่อเราขอจากพระองค์เราก็ต้องรู้จักขอบคุณพระองค์
- ผู้ที่ปฎิบัติดีพระองค์ก็จะตอบแทนในสิ่งที่เขาทำ และคนที่ปฎิบัติชั่วพระองค์ก็จะตอบแทนในสิ่งที่เขาทำเช่นกัน
- คนดี คือ คนที่ห่างไกลจากบาปใหญ่และสิ่งลามกทั้งหลาย และไม่จำเป็นว่าต้องบริสุทธิ์จากความผิดพลาดเล็กน้อย
- อัลลอฮ์ทรงรู้จักเราดียิ่งกว่าตัวเราเอง ดังนั้น อย่าประกาศอย่างโอหังว่าตัวเองนั้นเป็นผู้ที่บริสุทธิ์แล้ว


*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Shamil



ตอนที่ 5 - 2019-9-12
- การเรียนอัลกุรอาน สิ่งสำคัญคือการหาบทเรียนที่ซุกซ่อนอยู่ในอายะฮ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็ณกฎเกณ์ หรือ คติ หรือเครื่องมือที่เราจำใช้ดำรงชีวิตอยู่อย่างเข้าใจมากขึ้น
- ความสุขของผู้เรียนอัลกุรอาน คือ การที่เขาอ่าน ทำความเข้าใจ แล้วเจอความลับที่สามารถยึดมาใช้ในชีวิตจริงของเขา
- วะห์ยูของอัลลอฮจะทำให้เราเจอบั้นปลายที่ดี บั้นปลายนั้นคือชีวิตหลังความตาย
- ไม่มีหนังสือเล่มใดที่กล่าวถึงเรื่องราวหลังความตาย
- ความรู้ของมนุษย์นั้นมีจำกัด ต้องพึ่งวะห์ยู เพื่อให้เข้าใจถึงชีวิตหลังความตาย
- อายะฮ์ 31 อายะฮ์กลุ่มนี้ กล่าวถึงผู้ใช้ชีวิตด้วยวะห์ยูที่มีความชัดเจนจากอัลลอฮ มีแหล่งอ้างอิงที่มาที่ไป กับคนอีกกลุ่มที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการคาดเดา และตามอารมณ์
- อัลลอฮฺสั่งใช้ให้ท่านนบีไม่ต้องไปใส่ใจกับกลุ่มคนดื้อดึงกลุ่มนี้ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปให้ดี
- สำหรับผู้ที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ ดำเนินรอยตามท่านนบี อัลลอฮจะตอบแทนเขาด้วยสิ่งที่ดี
- ผู้ที่เข้าสวรรค์ คือ ผู้ที่ละทิ้งบาปใหญ่ และโสมม(อัลฟาวาหิช) เว้นแต่มีความผิดพลาดเล็กน้อย(บาปเล็ก)
- บาปอัลฟาวาหิช คือ บาปที่สติปัญญาเข้าถึงได้ รู้ได้ว่าเป็นบาป ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานหรือวะห์ยูระบุไว้ เช่น การลักขโมย การผิดประเวณี การฆ่าคนอื่น
- บาปใหญ่ (กาบาอิร อัลอิซมฺ) คือ บาปที่สติปัญญาอาจจะไม่เข้าถึง ต้องมีวะห์ยูระบุ เช่น การละหมาดนอกเวลาของมัน การละหมาดไม่มีน้ำละหมาด
- ไม่ควรด่าว่า หรือวิจารณ์ผู้ที่อาจจะกำลังทำผิด เนื่องจากเขาอาจจะพลาดพลั้ง
- การเข้าสวรรค์ของมนุษย์ไม่ได้เข้าเพียงเพราะความดีของเขา แต่เป็นเพราะความเมตตาอันกว้างขวางของอัลลอฮฺที่ทรงอนุญาตให้ได้เข้าสวรรค์
- ไม่มีนุษย์คนใดที่ปราศจากความผิดบาป
- อัลลอฮฺทรงรู้ว่ามนุษย์นั้นอ่อนแอ เพราะฉะนั้นอัลลอฮฺจึงยกเว้นให้มนุษย์เป็นคนดีได้ ถึงแม้จะมีบาปเล็กก็ตาม
- เมื่ออัลลอฮฺให้อภัยเราได้ ทำไมเราจึงให้อภัยความผิดพี่น้องของเราไม่ได้
- โรคคนดีที่ต้องระวัง คือ โรคที่รู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น
- เราไม่สามารถรู้ได้ว่าความดีไหน ที่อัลลอฮุตะอาลา รับ
- ท่านนบีเปรียบการชมผู้อื่น เสมือนการบั่นคอคนๆ นั้น
- ท่านนบีกล่าวว่า หากจำเป็นที่ต้องชมผู้อื่น ให้พูดว่า ฉันคิดว่า..เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ และอัลลอฮฺทรงรู้ดีว่าเขาผู้นั้นเป็นอย่างไร
- ผู้ที่ถูกชม ท่านนบีแนะนำการป้องการมารร้ายมากระซิบกระซาบ ไม่ให้เกิดการตะกับบุร คือ ให้อ่านดุอาอ์

اللهم لا تؤاخذني بما يقولون .. واغفر لي ما لا يعلمون .. واجعلني خيرا مما يظنون

- บทสรุปอายะฮฺเหล่านี้สอนให้เรามองผู้อื่น และมองตนเองอย่างไร และอย่าได้ทะนงตนในความดีของตนเอง เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะนำไปอวดดีกับผู้อื่นได้ อัลลอฮุตะอาลาเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่รู้ดีว่าใครยำเกรงว่าดีกว่า

*ถอดเนื้อหาสรุปจากคลิปเสียงโดย Abu Mus-ab


ตอนที่ 6 - 2019-9-19
- ทุกครั้งที่เรามาศึกษาอัลกุรอาน หัวใจของเราจะได้รับการแสกนด้วยอัลกุรอานด้วย
- การศึกษาอัลกุรอานเป็นทั้งการเสริมด้านจิตวิญญาณและการเสริมปัญญาด้วยความรู้
- สภาพบั้นปลายระหว่างสองแนวทางการดำเนินชีวิต ฝั่งหนึ่งใช้วะห์ยู อีกฝ่ายหนึ่งใช่การคาดเดาของฮาวานัฟซู
- กลุ่มอายะฮ์ที่เป็นการตักเตือนตรงๆ กับคนที่ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ในบรรดาพวกมุชริกีน
- อธิบายสาเหตุของการประทานอายะฮ์ เกี่ยวกับอัลวะลีด บิน อัลมุฆีเราะฮ์
- พวกมุชริกีนกล้าล้อเลียนถากถางต่อคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และทำเป็นเล่นๆ
- อัลลอฮ์ทรงตอบโต้พฤติกรรมของอัลวะลีดที่หันหลังให้กับอิสลาม เพราะคำพูดของคนที่มาหว่านล้อมเขาว่าจะยอมรับบาปแทนเขา โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องศรัทธาต่ออัลลอฮ์
- ประเด็นเรื่องการรับผิดแทนคนอื่น เป็นสิ่งที่อัลกุรอานปฏิเสธว่าไม่สามารถเป็นไปได้โดยเด็ดขาด
- อัลกุรอานตั้งคำถามเหตุใดพวกมุชริกีนไม่ลองถามชาวคัมภีร์ซึ่งพวกเขาเคยขอคำปรึกษามาหลายเรื่อง แต่เหตุใดเรื่องนี้จึงไม่ไปขอหารือจากพวกเขาบ้าง
- รายละเอียดของการแบกรับบาปและการโอนบาป ได้หรือไม่ได้อย่างไรส่วนไหนบ้าง
- ในขณะที่การแบ่งส่วนบุญก็มีประเด็นที่ได้หรือไม่ได้ตามรายละเอียดที่บรรดาอุละมาอ์อธิบายไว้
- กฎทั่วๆ ไป คือ ไม่สามารถแบ่งบาปหรือบุญของเราให้คนอื่นได้
- มีการถกเถียงกันในทัศนะของอุละมาอ์เกี่ยวกับอายะฮ์ที่บอกว่าผู้อื่นไม่สามารถรับแบ่งบุญของคนอื่น
- ตัวอย่างของการได้บุญมาแบบเปล่าๆ โดยที่เราไม่ได้ลงมือทำเอง
- ทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ว่าด้วยการยกผลบุญการอ่านอัลกุรอานให้คนตาย
- เศาะดะเกาะฮ์ให้คนตายถึงผู้ตายแน่นอน เป็นทัศนะที่เห็นตรงกันระหว่างอุละมาอ์
- ข้อเสนอแนะให้มีการจัดการเศาะดะเกาะฮ์สำหรับบุพการี ให้เป็นกิจกรรมในครอบครัว
- สามประการที่จะมีผลบุญไม่ขาดสายแม้ว่าเราจะตายไปแล้วก็ตาม
- กฎทั่วไปก็คือ ผลบุญของใครก็เป็นของเขา ไม่สามารถแบ่งให้คนอื่นได้ เว้นแต่อะมัลบางประการที่มีระบุในหะดีษว่าส่งผลให้คนอื่นได้ด้วย
- ตัวอย่างของการงานที่สามารถส่งผลประโยชน์ให้กับบุคคลอื่น ตามที่ระบุให้หะดีษ
- พวกเราทุกคนจะได้เห็นผลบุญของเราเองในวันกิยามะฮ์

ตอนที่ 7 - 2019-9-26  อายะฮ์ที่ 40 เป็นต้นไป
- เรื่องราวอื่นเพิ่มเติมในคัมภีร์ของมูซากับอิบรอฮีมที่พวกมุชริกีนควรจะตั้งคำถาม
- ในวันอาคิเราะฮ์มนุษย์จะได้เห็นความดีที่เขาทำตอนที่อยู่ในดุนยา เพื่อเป็นการให้เกียรติเขา
- ทุกคนต้องกลับไปหาอัลลอฮ์ ถ้าหากมนุษย์คิดเรื่องนี้ได้เขาอาจจะเยียวยาปัญหาในดุนยาได้
- หากอาคิเราะฮ์เป็นเรื่องที่ไกลเกินไป ก็ให้มนุษย์มองตัวเขาเองก่อนเพราะใกล้ตัวเขาที่สุด
- การหัวเราะและการร้องไห้ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เกิดได้อย่างไร เคยคิดไหม?
- อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ล้วนสอนเราได้หมด ให้เราผูกพันกับอัลลอฮ์
- การที่อัลลอฮ์สร้างทุกอย่างให้เป็นคู่ ก็เป็นบทเรียนแก่มนุษย์
- ตัวอย่างความมหัศจรรย์ที่อัลลอฮ์สร้างมาให้กับเรา ซึ่งล้วนไม่ใช่ความบังเอิญแน่นอน
- อัลลอฮ์คือผู้ทรงกำหนดความร่ำรวยและความมั่งมีแก่มนุษย์
- อัลลอฮ์คือผู้ทรงช่วยเหลือให้มนุษย์สามารถเก็บทรัพย์สินของตนเองไว้ได้
- อัลกุรอานสามารถให้กำลังใจกับเราได้โดยตรงและโดยอ้อม เป็นความมหัศจรรย์ที่รู้ใจมนุษย์ทุกอย่าง
- อัลกุรอานเป็นวิชาชีวิต พัฒนาชีวิตอย่างไรให้เป็นผู้สำเร็จในอาคิเราะฮ์
- จากเรื่องอาคิเราะฮ์ กลับมาพูดถึงเรื่องร่างกายและอารมณ์ของมนุษย์ จากนั้นก็ย้ายไปพูดเรื่องจักรวาล
- ดาวชิอฺรอ กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ซีรีอุส ถูกพูดถึงเพื่อบอกว่าดาวพวกนี้ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิใดๆ เหมือนที่พวกมุชริกีนเข้าใจ
- บทสรุปสุดท้าย วิชาชีวิตเราต้องพึงวะห์ยูเท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วมนุษย์ก็อาจจะยึดสิ่งต่างๆ เป็นที่พึ่งตามใจตัวเอง

ตอนที่ 8 - 2019-10-3
- (ในคลิปผู้บรรยายพูดผิดว่าเป็นสูเราะฮ์ อัล-เกาะมัร ที่ถูกต้องคือสูเราะฮ์ อัน-นัจญ์มฺ)
- วิธีการเรียกร้องของอัลกุรอาน อันดับแรกให้เอาบทเรียนจากอาคิเราะฮ์ ต่อมาให้ถอดบทเรียนจากเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
- ต่อให้เอาบทเรียนจากจักรวาล และในที่สุดก็พูดถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชนที่เคยที่ถูกทำลาย
- อ๊าดพวกแรก กับ อ๊าดพวกที่สอง คือใคร?
- เหตุใดที่พวกของนบีนูห์จึงอธรรมยิ่งกว่า
- พวกที่ถูกพลิกเมือง คือพวกไหน?
- การทำลายประชาชาติที่อธรรมเป็นนิอฺมัตของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
- ด้วยนิอฺมัตอันใดอีกที่พวกเจ้ายังสงสัยกันอยู่
- ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ล้วนถูกระบุในอัลกุรอานทั้งสิ้น และเป็นคำเตือนจากอัลลอฮ์
- ระบบการเตือนมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร
- เรื่องดุนยายังมีคำเตือน ดังนั้นอาคิเราะฮ์ก็ต้องมีระบบเตือนด้วยเช่นกัน
- หากแหกคำเตือนในดุนยายังพังขนาดนี แล้วหากแหกคำเตือนของอาคิเราะฮ์จะหายนะขนาดไหน
- สูเราะฮ์นี้กำลังเน้นการปฏิบัติตามวะห์ยู เพราะวะห์ยูคือระบบเตือนเกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ที่ถูกต้องและดีที่สุด
- พวกมุชริกีนมองวะห์ยูเป็นเรื่องแปลกประหลาด และยังหัวเราะเยาะต่อวะห์ยู
- การร้องไห้มีความสำคัญอย่างไรสำหรับชีวิตผู้ศรัทธา
- ให้เราได้รับบทเรียนจากวะห์ยูของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านท่านนบี


วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-เกาะมัร


รับฟังไฟล์เสียงสูเราะฮ์นี้ทุกตอนได้ที่นี่ .. คลิก
https://soundcloud.com/e-daiyah/sets/tafseer_alqomar

ตอนที่ 1 - 2019-6-13
- ชีวิตของมุสลิมหลังจากเราะมะฎอน
- เป็นหนึ่งสูเราะฮ์ที่ถูกตั้งชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากเรียนรู้สรรพสิ่งต่างๆ เหมือนที่บรรดาบรรพชนมุสลิมในอดีตได้รับแรงบันดาลใจศึกษาวิทยาการต่างๆ ที่มีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน
- ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์มุสลิมในอดีตที่มีอิทธิพลต่อเทคโนโลยีทุกวันนี้
- ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ เพราะนักวิชาการในอดีตไม่ได้ชำนาญในเรื่องศาสนาอย่างเดียว
- อัลกุรอานพูดทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ แต่เราจะเข้าถึงหรือไม่ขึ้นกับวิธีการเรียนของเราเอง
- ความประเสริฐของสูเราะฮ์นี้
- เริ่มต้นสูเราะฮ์นี้พูดถึงประชาชาติที่เรียกร้องอยากเห็นปาฏิหาริย์จากศาสนทูตแต่สุดท้ายก็ยังปฏิเสธศรัทธา
- พฤติกรรมการปฏิเสธศรัทธาหลังจากได้เห็นเครื่องหมายที่อัลลอฮ์ กลายเป็นกฎเกณฑ์ที่เรียกว่าสุนนะตุลลอฮ์
- สุนนะตุลลอฮ์ ว่าด้วยการปฏิเสธศรัทธาและการลงโทษผู้ฝ่าฝืน เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ให้ดี
- วันกิยามะฮ์เข้ามาใกล้แล้ว อายะฮ์นี้หมายถึงอย่างไร?
- คำว่า อัส-สาอะฮ์ หมายถึงวันกิยามะฮ์ที่จะเกิดขึ้นโดยที่มนุษย์ไม่ทันตั้งตัว
- หะดีษที่กล่าวถึงการแยกออกจากกันของดวงจันทร์เป็นหะดีษมุตะวาติร
- อัลกุรอานและประเด็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตอนที่ 2 - 2019-6-20
- ระหว่างความรู้กับบะเราะกะฮ์ อันไหนสำคัญกว่า
- ความรู้ที่น้อยนิดแต่ได้บะเราะกะฮ์ย่อมดีกว่าความรู้มากมายแต่ไม่มีบะเราะกะฮ์
- ในหะดีษเปรียบเทียบมนุษย์ออกเป็นสามประเภทเหมือนดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย
- เมื่อท่านนบีขอดุอาอ์ให้อัลลอฮ์ทำให้ดวงจันทร์แยกออกจากกัน พวกมุชริกีนก็ยังกล่าวอ้างว่าท่านนบีทำไสยศาสตร์อีกแล้ว แต่บางคนก็เริ่มคลางแคลงว่าไม่ใช่ไสยศาสตร์
- แม้ว่าจะดูเครื่องหมายและปฏิเสธต่อท่านนบี แต่อัลลอฮ์ก็ไม่ได้ลงโทษพวกมุชริกีนเหล่านี้ เพราะท่านนบียังอยู่ในหมู่พวกเขา
- ที่คนเหล่านี้ไม่ศรัทธาเพราะตั้งต้นแต่แรกแล้วว่าจะไม่ศรัทธา พวกเขาเพียงแค่อยากต่อล้อต่อเถียงกับท่านนบีเท่านั้น
- ทุกเรื่องทั้งการศรัทธาและไม่ศรัทธา รวมถึงผลลัพธ์ที่แต่ละฝ่ายต้องได้รับ ล้วนอยู่ในสุนนะตุลลอฮ์ที่พระองค์กำหนดทั้งสิ้น
- พวกกุเรชรู้เรื่องของประชาชาติที่เคยถูกทำลายในสมัยก่อนๆ ดี แต่พวกเขาก็ไม่ยอมใช้เอามาเป็นบทเรียนให้เป็นอุทาหรณ์
- สุดท้ายอัลลอฮ์ก็ออกคำสั่งให้ท่านนบีวางท่าทีโดยไม่ต้องใส่ใจต่อคำพูดของคนเหล่านั้น
- ภารกิจดะอฺวะฮ์ยังคงต้องทำต่อไป เพียงแต่ไม่ต้องสนใจว่าพวกเขากล่าวหาอะไร
- วันที่พวกเขาถูกเรียกตัวไปชุมนุม จะออกจากหลุมฝังศพอย่างกระจัดกระจายไร้ทิศทางเหมือนตั๊กแตน
- ความน่าสะพรึงกลัวของวันกิยามะฮ์ที่หนักหนาสาหัสสำหรับคนปฏิเสธ
- ปล่อยคนพวกนี้ไปจนกว่ากิยามะฮ์จะมาถึง ให้พวกเขาเห็นเองกับตา จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็รอดู
- ถ้าไม่เชื่อว่าจะมาจริงๆ ก่อนถึงกิยามะฮ์ก็มีสัญญาณต่างๆ ให้พวกเขาเห็นแล้ว อยู่ที่สติปัญญาของพวกเขาจะคิดได้หรือไม่


ตอนที่ 3 - 2019-7-4
- รีเฟรชตัวเองด้วยอัลกุรอาน ท่ามกลางความวุ่นวายมากมายในโลกปัจจุบัน
- ฟิตนะฮ์ที่ทำให้หัวใจมนุษย์บอบช้ำไม่จำเป็นต้องออกมาในรูปลักษณ์ที่น่ากลัว แต่กลับมาในรูปแบบของความสุขหรูหราฟุ่มเฟือย
- โลกแห่งการตัดญีล คือการเคลือบความเท็จด้วยภาพลักษณ์สวยหรู
- เป็นปฐมบทแห่งการวันสิ้นโลก อะไรที่จะทำให้เราตื่นตัวจากสภาพนี้ได้บ้าง ถ้าไม่ใช่อัลกุรอาน
- มัจลิสอิลมีมีความสำคัญมากในการแก้ปัญหาเหล่านี้
- สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว ครั้งนี้อัลลอฮ์ยกตัวอย่างเรื่องราวของประชาชาตินบีนูห์เป็นอุทาหรณ์แรก
- เรื่องราวโดยละเอียดของนบีนูห์และบทเรียนต่างๆ สามารถทบทวนได้จากตัฟสีรสูเราะฮ์นูห์
- เรื่องราวนบีนูห์สะท้อนถึงการทำงานของเราอย่างไรบ้าง?
- เมื่อถึงที่สุด อัลลอฮ์จึงเปิดประตูของฟ้า ด้วยน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
- นบีนูห์และผู้ศรัทธาปลอดภัยด้วยการช่วยเหลือของอัลลอฮ์ให้นั่งอยู่บนเรือ
- น้ำท่วมในสมัยนบีนูห์และซากเรือของท่านเป็นเครื่องหมายสำหรับมนุษยชาติ ไม่ใช่เฉพาะสำหรับมุสลิมเท่านั้น
- ในเมื่อทราบเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้แล้ว เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง
- อัลกุรอานเล่าเรื่องราวนี้ให้เราเข้าใจได้ง่ายๆ เราเคยหวนคิดบ้างหรือไม่
- เครื่องมือที่สะดวกสบายในปัจจุบันอาจจะเป็นฟิตนะฮ์ แต่เราจะเปลี่ยนฟิตนะฮ์ให้เป็นนิอฺมะฮ์ได้อย่างไร
- คำอธิบายของอัส-สะอฺดีย์ว่าด้วยความง่ายดายของอัลกุรอาน
- ไม่มีข้ออ้างว่ายากในการเรียนอัลกุรอาน ในเมื่ออัลลอฮ์บอกว่ามันเป็นเรื่องง่าย


ตอนที่ 4 - 2019-7-11
- สูเราะฮ์กำลังพูดถึงความมหัศจรรย์ของบรรดานบี หลังจากที่พวกมุชริกีนร้องขอให้ท่านนบีแสดงหลักฐานว่าท่านเป็นนบีจริง
- เรื่องราวของพวกอ๊าดที่เป็นประชาชาติของนบีฮูด
- การลงโทษของอัลลอฮ์คือคำเตือน
- คำเตือนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ทำให้เรานึกถึงตัวเองและทบทวนสิ่งที่เราต้องทำ
- หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็พูดถึงพวกษะมูดของนบีศอลิห์
- พวกษะมูดไม่เชื่อนบีของพวกเขา อัลลอฮ์ตอบโต้ว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะรู้ว่าใครกันแน่ที่โกหก
- การที่คนอื่นไม่เชื่อเราเป็นเรื่องที่ไม่ได้แปลกในกระบวนการทำงานเพื่ออิสลาม
- กาลเวลาเป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งที่อัลลอฮ์บอกเรานั้นย่อมเป็นจริงเสมอ
- บทลงโทษของพวกษะมูดคือการทดสอบพวกเขาด้วยอูฐตัวหนึ่ง
- อัลลอฮ์ลงโทษพวกษะมูดด้วยเสียง อานุภาพของเสียงสามารถเป็นการลงโทษมนุษย์ได้
- ชื่อของการลงโทษพวกษะมูดตามลักษณะต่างๆ
- การลงโทษของประชาชาติก่อนหน้านี้อาจจะเกิดขึ้นในยุคของเราได้เช่นกัน คำเตือนเหล่านี้จึงทำให้เราได้ระวังตัว


ตอนที่ 5 - 2019-7-18
- แต่ละประชาชาติที่ถูกทำลายมีอาชญากรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งล้วนเป็นแม่แบบของความชั่วร้ายที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
- บาปของพวกนบีลูฏคือความผิดด้านความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกัน
- วิเคราะห์ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์เพศเดียวกันในสมัยนบีลูฏกับภาพที่เห็นในปัจจุบัน
- การลงโทษพวกนบีลูฏ ครอบครัวของท่านปลอดภัยยกเว้นภรรยาของนาง
- อัลลอฮ์เรียกความปลอดภัยนี้ว่าเป็นนิอฺมัตจากพระองค์
- นิอฺมัตที่อัลลอฮ์ประทานให้ พระองค์เลือกให้กับคนที่รู้จักขอบคุณ
- ต้องรู้จักขอบคุณอัลลอฮ์พระองค์ก็จะทรงปกป้องเขา
- อัลลอฮ์ทรงลงโทษพวกนบีลูฏโดยไม่เหลือสิ่งใดทิ้งไว้เลย
- เมื่อเล่าเรื่องราวจบ พระองค์ก็ถามว่าเราได้บทเรียนอะไรบ้างจากเรื่องที่พระองค์เล่าให้ฟัง
- เราสามารถที่จะเปรียบเทียบสภาพที่อัลลอฮ์เล่าให้ฟังกับสิ่งที่เราเห็นจริงในปัจจุบันและถอดบทเรียนอะไรได้บ้าง
- อ่านอัลกุรอานแล้วให้ได้บทเรียน
- ช่วงสุดท้ายพูดถึงการลงโทษฟิรเอาน์และพรรคพวกที่ไม่เคยได้รับบทเรียน จนในที่สุดก็โดนการลงโทษจากอัลลอฮ์
- ดุอาอ์ของผู้โดนอธรรม ที่ปรับมาจากสำนวนในอายะฮ์ที่พูดถึงการลงโทษฟิรเอาน์


ตอนที่ 6 - 2019-8-1
- ที่อัลลอฮ์ยกเรื่องราวของประชาชาติที่ถูกทำลายมาเล่าเพื่อให้พวกกุเรชได้สำนึกตน
- พระองค์ถามว่าระหว่างพวกเจ้ากับประชาชาติก่อนหน้านี้ ใครที่แข็งแรงและมีอำนาจกว่า
- เทียบกันแล้วคนก่อนหน้านี้ย่อมแข็งแรงกว่า แต่อัลลอฮ์ก็ทำลายพวกเขามาแล้ว ดังนั้นพวกเจ้าจะโอหังกับพระองค์ทำไม เพราะพวกเจ้าอ่อนแอกว่าพวกเขาเยอะนัก
- คำถามข้อสองที่อัลลอฮ์ถามพวกกุเรชคือพวกเจ้ากล้าที่จะอ้างว่ามีประกาศจากพระองค์อัลลอฮ์ที่บอกว่าพวกเจ้าเป็นผู้ที่รอดพ้นจากนรกกระนั้นหรือ
- หรือพวกเจ้าอ้างว่า พวกเจ้าจะชนะชาวมุสลิม
- อายะฮ์นี้ถูกประทานที่มักกะฮ์ซึ่งยังไม่มีบทบัญญัติการญิฮาด แต่อัลกุรอานบอกล่วงหน้าแล้วว่าพวกกุเรชจะพ่ายแพ้
- อายะฮ์นี้เกิดขึ้นจริงเมื่อถึงสงครามบะดัร เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสิ่งที่อัลลอฮ์พูดนั้นล้วนเกิดขึ้นจริง
- การลงโทษในอาคิเราะฮ์ที่หนักหนากว่ารอพวกเขาอยู่อีกรอบหนึ่งด้วย
- ลงโทษในดุนยาเพื่อให้สำนึก แต่ลงโทษในอาคิเราะฮ์ไม่ใช่เพื่อให้สำนึกอีกต่อไป แต่เพื่อให้สาสมกับความผิดที่ทำลงไป
- การลงโทษในนรกที่ถูกเผาให้ร้อนจนถึงขีดสุด ถูกลากให้เดินบนใบหน้า และถูกกล่าวซ้ำเติมให้เจ็บช้ำอย่างต่ำต้อยที่สุด
- ท้ายสูเราะฮ์ อัลลอฮ์ทวนซ้ำและย้ำถึงกฎแห่งเกาะดัรอีกครั้งหนึ่ง
- ทบทวนบทเรียนว่าด้วยการศรัทธาต่อเกาะดัร จะช่วยคลายปัญหาชีวิต
- ใครที่ถอดบทเรียนเรื่องเกาะฎออ์และเกาะดัรได้ เขาจะปรับชีวิตให้อยู่กับปัญหาได้
- มองทุกอย่างให้เห็นถึงเนื้อแท้ของเกาะดัร
- อัลลอฮ์สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้ในพริบตาเดียว ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่สะสมมาของเรา พระองค์แก้ได้ในครู่เดียว หรือบาปของเราที่ทำมาเยอะและประวิงการกลับตัวมาตลอดพระองค์ก็สามารถลงโทษเราได้ในครั้งเดียวเท่านั้น
- เมื่อพวกเขาไม่สามารถเอาบทเรียนได้ไม่ว่าจากอัลกุรอานหรือเรื่องราวของประชาชาติที่ถูกทำลายก่อนหน้านี้ ก็สมควรแล้วที่ต้องได้รับโทษ
- ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่อัลลอฮ์จะจดบันทึกไว้หมดสิ้น และจะมีมลาอิกะฮ์คอยตามอย่างละเอียด
- ระวังบาปเล็ก เพราะอัลลอฮ์ให้มีผู้ติดตามทวงบาปเล็กเหล่านี้ เช่นการไม่ชำระปัสสาวะให้สะอาด ที่เป็นสาเหตุการได้รับโทษในหลุมฝังศพ
- บาปเล็กเหล่านี้จะถูกลบไปเองหากเราทำความดีอย่างสม่ำเสมอ
- สองอายะฮ์สุดท้ายเป็นการให้กำลังใจผู้ศรัทธา
- ผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮ์จะได้รับตำแหน่งในสวรรค์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แท้จริง
- แย่งกันเถิดตำแหน่งในดุนยา แต่ตำแหน่งจริงในอาคิเราะฮ์ไม่ต้องคอยแก่งแย่ง
- จะเอาสวรรค์ชั้นไหน คฤหาสน์กี่หลัง สวนกี่แห่ง ในสวรรค์ เราสามารถคว้าได้ด้วยการมุ่งหาตำแหน่งในสวรรค์โดยไม่ต้องแก่งแย่งเหมือนการแก่งแย่งในดุนยา

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัร-เราะห์มาน




ฟังทาง SoundCloud ที่นี่



ตอนที่ 1 - 2019-3-21
- ชื่อสูเราะฮฺ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสูเราะฮฺจากวีรกรรมของอิบนุ มัสอูด
- ชาวมุชริกีนอ้างว่าพวกเขาไม่รู้จัก อัร-เราะห์มาน พระองค์จึงประทานสูเราะฮฺนี้ลงมาตอบโต้พวกเขา
- สิ่งแรกที่อัลลอฮฺอธิบายบุญคุณของพระองค์คือ ทรงสอนอัลกุรอาน ก่อนที่จะพูดถึงการสร้างมนุษย์ด้วยซ้ำ
- อัร-เราะห์มาน มาจากความเมตตาของพระองค์ อัลลอฮฺเป็นเราะห์มัด อัลกุรอานเป็นเราะห์มัต ท่านนบีก็เป็นเราะห์มัต
- ทรงสร้างมนุษย์ในรูปลักษณ์ที่สวยงาม
- ทรงสอนให้มนุษย์สื่อสารด้วยการใช้คำพูดได้
- นิอฺมัตการพูดได้เป็นความมหัศจรรย์และความเมตตาอย่างหนึ่งที่อัลลอฮฺประทานให้กับมนุษย์
- ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โคจรอย่างเป็นระบบละเอียดอ่อน
- ท้องฟ้าและแผ่นดิน ความสมดุลในการสร้างของอัลลอฮฺ เป็นความเมตตาประการหนึ่งของพระองค์
- อัลลอฮฺพูดถึงความยุติธรรมสามครั้งในต้นสูเราะฮฺนี้
- แผ่นดินของอัลลอฮฺเต็มไปด้วยพืชต่างๆ หลายแบบหลายชนิด ที่แสดงถึงความเมตตาของพระองค์อย่างชัดเจน
- หะดีษที่ท่านนบีพูดถึงญิน ที่ได้กล่าวขานรับต่อคำถามของอัลลอฮฺในสูเราะฮฺอัร-เราะห์มาน

ตอนที่ 2 - 2019-3-28
- คำถามที่อัลลอฮฺถามทวนซ้ำ 31 ครั้งในสูเราะฮฺอัรเราะห์มาน แบ่งเป็นกลุ่มอายะฮฺต่างๆ
- ลงลึกในรายละเอียดการสร้างมนุษย์
- การสร้างมนุษย์จากดิน ในรูปแบบและขั้นตอนต่างๆ
- การสร้างญินจากไฟ และคำกล่าวอ้างของพวกมันว่าไฟดีกว่าดิน
- ตะวันออกและตะวันตก ในรูปเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ ที่ถูกระบุในอัลกุรอาน หมายถึงอะไรบ้าง
- ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้สอดคล้องกับความเป็นจริง
- อายะฮฺที่กล่าวถึงทะเลสองแบบที่ไม่ล้ำเส้นกันและกัน
- เครื่องประดับที่ทำจากไข่มุกและหินปะการัง ซึ่งล้วนเอามาจากทะเล
- เรือสำเภาที่แล่นอยู่ในทะเลดูใหญ่โตเหมือนภูเขา สามารถลอยอยู่เหนือน้ำได้
- เมื่อเห็นนิอฺมัตต่างๆ แล้วให้นึกถึงสูเราะฮฺนี้ ให้นึกถึงคำถามที่อัลลอฮฺทวนซ้ำแล้วซ้ำอีกในสูเราะฮฺนี้

ตอนที่ 3 - 2019-4-4 
- พูดถึงกลุ่มอายะฮฺที่กล่าวถึงความเป็นเอกของอัลลอฮฺ และการที่ทุกอย่างจะสูญสลายนอกจากพระองค์เท่านั้น
- นิอฺมัตต่างๆ ที่เราใช้ในดุนยา มันสะท้อนอะไรกลับมายังเราบ้าง ในเมื่อสุดท้ายทุกอย่างจะสูญสลาย เราจะใช้ประโยชน์อย่างไรให้เกิดคุณที่ถาวร
- การพึ่งอัลลอฮฺในทุกๆ ด้านของชีวิต มีพระองค์เท่านั้นที่จำเป็นต้องพึ่งพิง
- พระองค์ผู้ทรงให้ ผู้ทรงปกปิดบาปของเรา ผู้ทรงอภัย และจัดการทุกอย่างของเรา
- ความสำคัญของอัซการเช้าเย็น ที่บรรจุดุอาอ์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้แล้วอย่างครอบคลุม
- อัลลอฮฺจะคอยดูแลเรื่องราวต่างๆ ที่บ่าวของพระองค์ร้องเรียนทุกวัน
- เวลาที่เราขอดุอาอ์พยายามพิจารณาดูความหมายของมันให้ดี เพราะมันล้วนเกี่ยวข้องกับอะกีดะฮฺระดับลึกทั้งสิ้น
- บรรยายความสำคัญของการขอดุอาอ์ และมีเทคนิควิธีอย่างไรในการขอดุอาอ์ให้มีประสิทธิภาพ
- การสร้างความตระหนักให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกับอัลลอฮฺด้วยการขอดุอาอ์ในทุกสถานการณ์และช่วงเวลา
- รายละเอียดต่างๆ ที่เป็นประเด็นปลีกย่อยในการขอดุอาอ์ เช่น การขอดุอาอ์ในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับ
- ในวันอาคิเราะฮฺอัลลอฮฺจะทรงมุ่งเฉพาะในเรื่องของการคิดบัญชีมนุษย์ทั้งปวง
- อัลลอฮฺท้าทายว่าหากมนุษย์สามารถหนีจากพระองค์ได้ ก็ให้พวกเขาลองทำได้เลย
- แต่พระองค์ก็ประกาศว่า ถึงอย่างไรมนุษย์ก็มิอาจจะทำได้ พระองค์เตรียมสิ่งที่จะลงทัณฑ์พวกเขาไว้แล้ว
- การพูดถึงการลงโทษของอัลลอฮฺตามที่ผ่านมา จะถือว่าเป็นนิอฺมัตได้อย่างไร ต้องเปลี่ยนมุมมองแบบไหนเพื่อให้เห็นว่าเป็นนิอฺมัต

ตอนที่ 4 - 2019-4-11
- กลุ่มอายะฮฺที่พูดถึงความสามารถของพระองค์อัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ
- ท้องฟ้าจะหลอมละลายกลายเป็นสีแดง
- วันอาคิเราะฮฺ มนุษย์จะไม่ถูกถามถึงบาปของตัวเอง หมายถึงอะไร?
- คนที่มีความผิดและเป็นผู้ปฏิเสธ จะมีเครื่องหมายรู้ได้ชัดเจน
- สภาพการลงโทษของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในนรก
- ชาวนรกจะต้องวนเวียนอยู่ระหว่างไฟและน้ำร้อน
- หลังจากนั้นอัลลอฮฺก็พูดถึงชาวสวรรค์และความสุขสบายที่พวกเขาจะได้รับ
- ความหมายของสวรรค์สองแห่ง หมายถึงอะไร
- อธิบายนิอมัตต่างๆ ที่อัลลอฮฺเตรียมไว้สำหรับชาวสวรรค์ ซึ่งจะมีความหลากหลายและไม่น่าเบื่อ
- ให้หัวใจได้ใช้สิทธิในการรู้จักสวรรค์ อย่าให้หัวใจบอบช้ำเพราะรับฟังแต่เรื่องที่ก่อมลพิษให้กับหัวใจ
- อย่าให้สื่อทำให้เราไปต่อไม่ไหวเพราะหัวใจบอบช้ำ
- รับฟังเรื่องสวรรค์ เพื่อให้กำลังใจที่ทำให้เราอยากกลับสูสวรรค์

ตอนที่ 5 - 2019-4-18
- ตอนสุดท้ายของสูเราะฮฺ อัร-เราะห์มาน
- พูดถึงสวรรค์อีกสองสวรรค์ที่อัลลอฮฺเตรียมไว้ซึ่งมีระดับชั้นที่ต่ำกว่าสองสวรรค์แรก
- ภรรยาชาวสวรรค์จะไม่มองใครนอกจากสามีของนางเท่านั้น
- ผู้หญิงชาวสวรรค์จะเป็นสาวอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กับสามีของนางแล้วก็ตาม
- ยากูต (ทับทิม) และ มัรญาน (อัญมณีจากปะการังสีแดง) เป็นอัญมณีที่อัลลอฮฺเปรียบเปรยผู้หญิงชาวสวรรค์
- คนที่ทำดีในโลกดุนยา ย่อมจะได้รับผลตอบแทนเป็นสิ่งที่ดีในโลกอาคิเราะฮฺ
- การเชื่อมโยงระหว่างสูเราะฮฺ อัร-เราะห์มาน กับ สูเราะฮฺ อัล-วากิอะฮ์ ด้วยเรื่องราวของสวรรค์
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการอธิบายสองสวรรค์แรก และสองสวรรค์หลัง
- เหตุใดที่อัลลอฮฺยกอินทผลัมกับทับทิมมายกตัวอย่างผลไม้ในสวรรค์
- อธิบายคุณลักษณะของนางสวรรค์
- พรมและเบาะของชาวสวรรค์
- การเรียนรู้เรื่องสวรรค์ต้องอ่านเพิ่มเติมจากหะดีษ เพราะมีรายละเอียดอื่นอีกเยอะ
- ปลุกหัวใจให้อยากจะเป็นชาวสวรรค์
- อย่าให้หัวใจของเราบอบช้ำจากการรับฟังสิ่งแรงๆ ทำลายความรู้สึก เรื่องด้านลบจนอ่อนล้า
- นี่เป็นเหตุผลที่อัลลอฮฺพูดถึงสวรรค์มากกว่าพูดถึงนรกในสูเราะฮฺ อัร-เราะห์มาน
- คำพูดเชิงบวกมีผลต่อหัวใจที่จะต่อสู้ความยากลำบากในโลกดุนยานี้เพื่อเดินทางสู่สวรรค์
- พระนามอัรเราะห์มาน คือพระนามที่บะเราะกะฮฺยิ่ง น่ากลัวมากถ้าผู้ศรัทธาไม่รู้จักพระนามนี้
- บทสรุปสั้นๆ เพื่อเตือนให้ระลึกถึงพระนามอัร-เราะห์มาน




วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-วากิอะฮ์




ฟังทาง SoundCloud ที่นี่




ตอนที่ 1 - 2019-2-7
- บทนำสูเราะฮฺ อัล-วากิอะฮฺ ความหมาย ความประเสริฐ และรายงานที่เกี่ยวข้อง
- การเรียนอัลกุรอานส่งผลอะไรต่อชีวิตจริงของเรา เหมือนที่ส่งผลต่อชีวิตของท่านนบีและสะลัฟบ้างไหม?
- เรื่องราวระหว่างอุษมาน บิน อัฟฟาน และ อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด
- อัล-วากิอะฮ์ คือชื่อหนึ่งของวันกิยามะฮฺ
- คุณลักษณะของกิยามะฮฺ คือทำให้คนกลุ่มหนึ่งสูงส่ง ทำให้อีกคนหนึ่งต่ำต้อย ตามมาตรฐานของอัลลอฮฺ
- มาตรฐานที่แท้จริงของมาตรฐานของอาคิเราะฮ์
- กลุ่มคนสามกลุ่มในวันกิยามะฮฺ
- อธิบายลักษณะเบื้องต้นของคนกลุ่มแรกที่ชื่อว่า อัส-สาบิกูน

ตอนที่ 2 - 2019-2-14
- อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อัส-สาบิกูน รวมถึงทัศนะของอุละมาอ์ในประเด็นดังกล่าว
- ลักษณะความสุขสบายของอัส-สาบิกูนในสวรรค์
- ลักษณะของสุราในสวรรค์
- ลักษณะของผลไม้ในสวรรค์
- อาหารที่ทำจากเนื้อนกในสวรรค์
- การเรียงลำดับอาหารในสวรรค์ตามที่อัลกุรอานระบุในสูเราะฮฺอัล-วากิอะฮ์
- คำพูดของชาวสวรรค์ เป็นคำพูดที่ดีเท่านั้น จะไม่มีคำพูดที่เราไม่ชอบและคำพูดที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

ตอนที่ 3 - 2019-2-21
- อธิบายคุณลักษณะของคนกลุ่มที่สอง ที่เรียกว่า อัศหาบุลยะมีน
- ต้นไม้ในสวรรค์ อาทิ ต้นพุทรา ต้นฏ็อลห์
- ผลไม้ในสวรรค์ย่อมแตกต่างจากผลไม้ในดุนยาอย่างสิ้นเชิง แม้จะเป็นผลไม้ชนิดเดียวกันก็ตาม
- ร่มเงาในสวนสวรรค์ เกิดจากอะไร แตกต่างจากร่มเงาในดุนยาอย่างไร
- น้ำที่ไหลอย่างไม่ขาดสาย
- ผลไม้ที่มากมายโดยไม่จำกัดฤดูกาล
- เตียงและเบาะของชาวสวรรค์
- สภาพภรรยาของชาวสวรรค์จะได้รับการตกแต่งใหม่จากอัลลอฮฺ จะไม่เหมือนกับสภาพในดุนยาอีกต่อไป
- หญิงสวรรค์จะเป็นสาวบริสุทธิ์ตลอดไปและไม่มีที่เป็นหม้าย
- หญิงชาวสวรรค์จะเป็นคนที่พูดแต่คำดีๆ และอายุเท่ากันหมด
- หะดีษที่กล่าวถึงหญิงชราที่ขอให้ท่านนบีขอดุอาอ์ให้นางได้เข้าสวรรค์ แล้วท่านก็หยอกนางว่าคนแก่เข้าสวรรค์ไม่ได้
- ทำอย่างไรให้หัวใจของเราอยากเป็นชาวสวรรค์
- ถามตัวเองโดยใช้ฐานอัลกุรอานเป็นที่ตั้ง
- ระหว่างความทุกข์ในดุนยาและความสุขในสวรรค์
- ให้สิทธิกับหัวใจของเราด้วยการเรียนรู้เรื่องสวรรค์
- แนะนำหนังสือว่าด้วยการเดินทางสู่สวรรค์ของอิบนุลก็อยยิม หาดีลอัรวาห์ อิลา บิลาดิลอัฟรอห์
- การอ่านเรื่องสวรรค์ทำให้ชีวิตได้รับรู้แต่เรื่องบวกๆ ทำให้เราได้มีความหวังในการใช้ชีวิตทางบวก
- หัวใจของเราทุกวันนี้รับแต่ด้านลบ ทำให้หมองมัวไปหมดแล้ว ลองให้สิทธิให้มันได้รับข่าวดีจากสวรรค์บ้าง
- มีความเมตตาของอัลลอฮฺอยู่ทำไมเราอ่านไม่เป็น
- ชัยฏอนต้องการให้เราเศร้าและจมปลักอยู่กับความเศร้า

ตอนที่ 4 - 2019-2-28
- เท้าความถึงหนังสือของอิบนุลก็อยยิม
- อธิบายสภาพการลงโทษของบรรดาชาวมือซ้าย
- พวกเขาจะต้องอยู่ในไฟและควันสีดำที่รุนแรง
- ไม่มีความเย็นและไม่มีอะไรที่สามารถให้ประโยชน์แก่เขาได้เลย
- สาเหตุที่พวกเขาต้องเข้านรก เนื่องจากไม่ยอมรับในนิอฺมัตของอัลลอฮฺ
- การปฏิบัติตนของสะลัฟบางท่านในเรื่องความสมถะและยำเกรงอัลลอฮฺ
- คำพูดของผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺในการถากถางและไม่เชื่อต่อวันอาคิเราะฮฺ
- ต้นซักกูม อธิบายความหมายและลักษณะรูปร่างของมัน
- สอนดุอาอ์เพื่อขอให้พ้นจากนรก

ตอนที่ 5 - 2019-3-7
- บทนำว่าด้วยนะศีหัตเรื่องเดือนชะอฺบาน
- อัลลอฮฺทรงตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถของพระองค์ในดุนยา เพื่อนำมนุษย์ไปสู่การยอมรับอาคิเราะฮฺ
- การเชื่อในพระเจ้าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเชื่อในสิ่งอื่นๆ หลังจากนั้น
- คำถามว่าด้วยการสร้างมนุษย์จากน้ำอสุจิ
- อัลลอฮฺเป็นผู้สร้างอสุจิ จนกลายมาเป็นรูปร่างมนุษย์ พระองค์กำหนดอายุขัยและความตายตั้งแต่ต้น
- พระองค์กำหนดทั้งการมีชีวิตและการตาย
- ถ้าหากพระองค์ประสงค์ให้เราเป็นอย่างอื่นก็ย่อมสามารถทำได้อย่างแน่นอน
- ในเมื่อมนุษย์รู้ว่าตัวเองถูกสร้างมาอย่างไรแล้ว เหตุใดจึงไม่เอามาเป็นบทเรียนถึงความอ่อนแอของตัวเอง
- คำถามว่าด้วยการงอกเงยของเมล็ดพืช
- ถ้าพระองค์จะให้มันไม่งอก มนุษย์ก็จะบ่นอุบอิบว่าตนไม่มีอะไรจะกิน
- คำถามว่าด้วยน้ำ ที่พระองค์ให้มันตกลงมาจากฟากฟ้า
- หากพระองค์ประสงค์ทำให้น้ำมีรสเค็มก็ย่อมทำได้ มนุษย์จะทำอย่างไรหากไม่มีน้ำจืดให้ดื่ม
- คำถามสุดท้ายเกี่ยวกับไฟและประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากไฟ
- ไฟในดุนยาเป็นเครื่องเตือนถึงความรุนแรงของไฟในอาคิเราะฮฺ
- ไฟในดุนยาเท่ากับ 1 ใน 70 ส่วนของไฟในอาคิเราะฮฺ
- คำสั่งสุดท้ายหลังจากตั้งคำถามให้ยอมจำนน ก็เหลือแค่ต้องตัสบีห์ต่ออัลลอฮฺ
- การตัสบีห์จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยอมรับความสามารถของอัลลอฮฺ
- สองสถานะของการตัสบีห์ คือ ตอนที่ได้ตะดับบุรอัลกุรอาน และ การได้ออกไปชมธรรมชาติที่อัลลอฮฺสร้างมา

ตอนที่ 6 - 2019-3-14
- การสาบานของอัลลอฮฺกับสถานที่หรือทิศที่อยู่ของดวงดาวบนท้องฟ้า
- ตัวการสาบานเองก็เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ และสิ่งที่พระองค์ต้องการบอกผ่านการสาบานก็เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่
- การประกาศอย่างชัดเจนว่าอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่และได้รับการปกป้องจากอัลลอฮฺ
- ถ้าหากรู้ว่าอัลกุรอานเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์ มนุษย์ย่อมต้องให้เกียรติ และศรัทธาต่ออัลกุรอาน
- กุรอาน กะรีม หมายถึงอะไร
- อัลลอฮฺถามมนุษย์ว่า เหตุใดถึงยังทำตัวเล่นๆ กับอัลกุรอาน ในเมื่อรู้ว่าอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่
- การละเลยอัลกุรอาน เป็นการไม่ขอบคุณอัลลอฮฺ ทั้งที่เรารับบุญคุณของพระองค์มาใช้ในชีวิต
- ถ้าหากมนุษย์ยังดื้อที่จะไม่เชื่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็ทรงตั้งคำถามต่างๆ ให้มนุษย์ตอบว่าพวกเขามีความสามารถที่จะต่อกรกับอัลลอฮฺจริงหรือ?
- คำถามว่าด้วยการตาย ที่มนุษย์ไม่อาจจะปฏิเสธได้
- ถ้ามนุษย์รู้ตัวเองดีว่าตนไม่สามารถจะควบคุมความตายได้ เหตุใดจึงยังปฏิเสธอัลลอฮฺผู้ทรงกำหนดความตายกับเขา
- ข้อสรุปประเภทของมนุษย์ทั้งสามกลุ่ม หลังจากที่พวกเขาตายไปแล้วทุกคน
- ผู้ศรัทธาจะได้รับการปลอบใจจากบรรดามลาอิกะฮ์ในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังจะตาย เพื่อไม่ให้พวกเขากลัวและกังวล
- คำสั่งตัสบีห์ในตอนท้ายของสูเราะฮฺเสมือนการปิดฉากชีวิตของมนุษย์ หลังจากที่ได้ประจักษ์ชัดแล้วทุกอย่างตามที่อัลลอฮฺได้บอกไว้ในอัลกุรอาน
- ทุกครั้งเวลาที่จบอะไรบางอย่างจะมีคำสั่งตัสบีห์เสมอ
- คำพูดของอัส-สะอฺดีย์ เกี่ยวกับความสัจจริงของอัลกุรอานที่ทำให้เราต้องกล่าวขอบคุณอัลลอฮฺ
- เมื่อมนุษย์เห็นความสัจจริงของอัลกุรอาน คำพูดของเราก็จะกล่าวออกมาด้วยใจว่า สุบหานัลลอฮฺ
- ชีวิตของเราวนเวียนอยู่กับการตัสบีห์ตลอดทั้งวัน เป็นชีวิตเรียบง่ายแต่มีพลัง
- ความเรียบง่ายที่มีพลังเพราะผูกโยงกับอัลลอฮฺ ชีวิตดุนยาที่ผูกกับอาคิเราะฮฺ

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-หะดีด


ฟังทาง SoundCloud ที่นี่


ตอนที่ 1 - 2018-10-25
- ชุโกรต่ออัลลอฮฺที่ได้ตัฟซีรจนครบสามญุซอ์สุดท้ายของอัลกุรอาน
- ฝากให้พี่น้องเรียนเพิ่มเติม และขอดุอาอ์ให้เราได้เรียนอัลกุรอานจนจบเล่ม
- อัลกุรอานเป็นอิลฮามและแรงบันดาลใจไม่สิ้นสุด
- ไม่ว่าเราจะเปิดอ่านหน้าไหนอายะฮฺไหน ก็ได้รับกำลังใจจากอัลกุรอานได้เสมอ
- ทุกครั้งที่เราหมดต้นทุนในการใช้ชีวิต เมื่อหันกลับมาอ่านอัลกุรอานก็ได้รับพลังเหมือนจุดไฟอีกครั้งหนึ่ง
- ความสำคัญของการทบทวนความรู้ศาสนา รู้จักใช้เครื่องมือและโอกาสเพื่อเรียนรู้ศาสนาอย่างสม่ำเสมอ
- การเรียนรู้ศาสนามีทั้งมิติของความรู้และบะเราะกะฮฺผลบุญจากอัลลอฮฺ
- บทนำสูเราะฮฺ อัล-หะดีด ชื่อสูเราะฮฺที่แค่ชื่อก็สร้างความตื่นเต้นและความรู้สึกสวยงามแก่ผู้อ่านได้แล้ว
- ความสำคัญของเหล็กต่อโลกนี้ทั้งใบ ความมหัศจรรย์เชิงวิทยาศาสตร์ที่น่าฉงนเกี่ยวกับประโยชน์ของเหล็ก
- เหตุใดที่อัลลอฮฺต้องการให้ผู้ศรัทธาเรียนรู้เรื่องเหล็กด้วย ?
- การประทานสูเราะฮฺ และเนื้อหาโดยรวมของสูเราะฮฺ
- เนื้อหาสรุป เป็นการเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาทบทวนว่าควรใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อให้ตัวเองเข้มแข็งและมีคุณค่า
- เป็นสูเราะฮฺที่เริ่มต้นด้วยการตัสบีห์
- อธิบายความหมายของคำว่า ตัสบีห์
- ข้อคิดบทเรียนจากพระนาม อัล-อะซีซ และ อัล-หะกีม ของอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า
- การตัสบีห์ของมัคลูกต่ออัลลอฮฺ สำคัญและเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ระหว่างการฟิกิร(การใคร่ครวญ)และการซิกิร(การรำลึกถึงอัลลอฮฺ)

ตอนที่ 2 - 2018-11-1
- เริ่มต้นสูเราะฮฺด้วยการยืนยันประเด็นเรื่องอะกีดะฮฺ อาทิ พระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของอัลลอฮฺ
- อธิบายคุณลักษณะบางประการ เช่น อำนาจ ความปรีชาญาณ การครอบครองเป็นเจ้าของ การให้ชีวิต การให้ตาย
- อธิบายพระนาม อัล-เอาวัล, อัล-อาคิร, อัล-ซอฮิร, อัล-บาฏิน
- แนะนำดุอาอ์ก่อนนอนสำหรับปลดความทุกข์ โดยเฉพาะคนที่เป็นหนี้เป็นสิน
- แนะนำดุอาอ์เมื่อเกิดความรู้สึกคลางแคลงสงสัยในการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
- บางครั้งเหมือนเราบอกว่าตัวเองรู้จักอัลลอฮฺแล้ว แต่กลับมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่ได้รู้จักพระองค์จริงๆ
- การรู้จักอัลลอฮฺผ่านพระนามของพระองค์

ตอนที่ 3 - 2018-11-8
- อธิบายการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในหกวัน และทำไมที่อัลลอฮฺต้องกำหนดวันในการสร้างของพระองค์
- อธิบายความหมายของคำว่า อิสติวาอ์ ในบริบทต่างๆ ของภาษาอาหรับ
- กฎแห่งการศรัทธาต่อคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ระหว่าง ตันซีฮ์ และ อิษบาต
- ทรัพย์ในดินที่อัลลอฮฺสร้างมา กับสิ่งที่พระองค์ประทานลงมาจากท้องฟ้า
- ความหมายของการที่อัลลอฮฺทรงอยู่กับบ่าวของพระองค์ หมายถึงอะไร
- หลากหลายความมหัศจรรย์ที่อัลลอฮฺสร้างตามที่พระองค์พูดถึงในอายาตเหล่านี้
- บางทีเราไม่รู้จักใจตัวเอง แต่อัลลอฮฺทรงรู้ว่าใจเราคิดอะไรอยู่
- เพิ่มอีมานของเราด้วยการรู้จักอัลลอฮฺ

ตอนที่ 4 - 2018-12-6
- เริ่มต้นคำสั่งของอัลลอฮฺในสูเราะฮฺ อัล-หะดีด หลังจากการเกริ่นนำด้วยการยืนยันอะกีดะฮฺต่ออัลลอฮฺ
- ผู้ศรัทธาที่เชื่อในอัลลอฮฺแล้ว จะรับคำสั่งให้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺในรูปแบบใดและอย่างไร
- ผู้ที่ศรัทธาแล้ว รับคำสั่งให้ศรัทธาเพื่อให้พวกเขายืนหยัด และพิสูจน์การศรัทธาด้วยภารกิจภาคปฏิบัติ
- การบริจาคและใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺเป็นเครื่องยืนยันความศรัทธาและทำให้มันสมบูรณ์
- คำพูดของอัลหะสัน อัลบัศรี ว่าด้วยการศรัทธาที่แท้จริง
- ทรัพย์สมบัติของเรา แท้จริงแล้วเป็นของใคร? และสมบัติส่วนไหนที่เป็นของเราจริงๆ?
- หะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวถึงกลุ่มผู้ศรัทธารุ่นหลังที่น่าฉงนและแปลกใจ เพราะพวกเขาไม่เคยเห็นท่านนบีมาก่อน
- การรักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับอัลลอฮฺ ว่าจะศรัทธาต่อพระองค์จนสิ้นชีวิต
- มนุษย์เคยรู้จักอัลลอฮฺมาก่อน และพระองค์ได้สร้างปัจจัยต่างๆ ให้มนุษย์พร้อมที่จะรู้จักพระองค์
- อะไรคือเหตุผลของผู้ที่ไม่ยอมศรัทธาต่ออัลลอฮฺ? ลองทบทวนตัวเองอย่างบริสุทธิ์ใจ เผื่อจะได้คำตอบว่าจริงๆ แล้วเราไม่อาจปฏิเสธการศรัทธาได้
- ระหว่างความมืดมนและแสงสว่าง อะไรคือข้อสังเกตที่อัลลอฮฺพูดถึงสองอย่างนี้
- ความมืดมนเป็นพหูพจน์ เพื่อบอกว่ามันมีหลายประการเหลือเกิน แต่แสงสว่างที่เป็นทางออกนั้นมีแค่ทางเดียวเท่านั้น
- คำสั่งที่บอกให้มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ แท้จริงแล้วเป็นความเมตตาจากพระองค์ เป็นประโยชน์ต่อตัวมนุษย์เอง
- ความเมตตาของอัลลอฮฺ เป็นสิ่งจำเป็นและความต้องการของเราโดยกำเนิด
- เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะใช้ชีวิตหากไม่มีความเมตตาจากอัลลอฮฺ
- จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง กับครอบครัว กับเพื่อนฝูง กับทุกคนรอบตัวเรา หากไม่มีความเมตตาจากอัลลอฮฺ
- เราจะหาความเมตตาของอัลลอฮฺได้จากที่ไหน ? อายะฮฺนี้คือคำตอบ

ตอนที่ 5 - 2018-12-6
- คำสั่งให้อินฟาก (การใช้จ่ายทรัพย์สินเพื่ออัลลอฮฺ) เป็นภาคปฏิบัติที่จะพิสูจน์การศรัทธา
- สิ่งที่เป็นทรัพย์สินของเราจริงๆ มีสามอย่าง สิ่งที่เรากิน สิ่งที่เราสวมใส่ และสิ่งที่เราบริจาค
- ความแตกต่างระหว่างคำว่า เราะอูฟ และ เราะฮีม ซึ่งแปลว่าความเมตตาทั้งสิ้น
- อัลลอฮฺไม่ต้องการให้เราเจอกับสิ่งที่ไม่ดี และต้องการให้เราเจอแต่สิ่งที่ดีๆ เป็นที่สุดแห่งความเมตตาจากพระองค์
- พระองค์ตั้งคำถามให้เราฉุกคิดว่าเหตุใดที่เราจะไม่บริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ ? ด้วยการอธิบายคำตอบต่างๆให้เราคิดตาม
- อะไรคือสาเหตุหลักๆ ที่เราเกี่ยงจะบริจาค ?
- ระดับความศรัทธาและการบริจาคของเราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดที่แต่ละคนมุ่งมั่นและรีบเร่งเพื่อจะทำความดีแต่ละอย่าง
- คนที่บริจาคตอนแรกๆ กับคนที่บริจาคตอนหลังแล้วย่อมไม่เหมือนกัน
- อายะฮฺนี้ชี้ชัดถึงความประเสริฐของบรรดาเศาะหาบะฮฺรุ่นแรกทีร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- ความหมายของพระนามของอัลลอฮฺ อัล-เคาะบีร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริจาค
- การบริจาคในแบบเปิดเผย และบริจาคในแบบปกปิด ทั้งสองแบบนี้มีความพิเศษแตกต่างกันอย่างไร
- อัลลอฮฺเปรียบเทียบการบริจาคเหมือนการให้พระองค์ยืม เหตุใดจึงเปรียบเทียบเช่นนี้
- การยืม อย่างไรเสียก็ต้องได้คืน เสมือนเป็นการประกันว่าการบริจาคของเรา อัลลอฮฺจะคืนให้เราอย่างแน่นอน
- เวลาที่อัลลอฮฺคืนเรา พระองค์ย่อมจะต้องคืนมากกว่าที่เราให้พระองค์ยืมอย่างแน่นอน
- วิธีการกระตุ้นให้ผู้ศรัทธาบริจาคอย่างสนิทใจไม่ลังเล
- ผลตอบแทนที่มีค่าที่สุด ที่เราจะได้จากการบริจาค

ตอนที่ 6 - 2018-12-3
- ประเภทของความยะกีนทั้งสามประเภท อิลมุลยะกีน, อัยนุลยะกีน และ หักกุลยะกีน
- ยะกีนทั้งสามประเภทอาจจะมีสภาพจริงๆ ให้เห็นก่อนถึงอาคิเราะฮฺด้วยซ้ำ
- แสงสว่างของผู้ศรัทธาในวันอาคิเราะฮฺที่จะคอยส่องทางให้กับพวกเขา
- บรรดามลาอิกะฮฺจะคอยกล่าวต้อนรับให้ความรู้สึกดีๆ แก่พวกเขา
- ความสุขในสวรรค์ที่ครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงทางการได้ยินเสียงที่ทำให้เบิกบานใจ
- ระดับความสว่างของผู้ศรัทธาในวันอาคิเราะฮฺจะแตกต่างกัน ตามระดับความดีที่พวกเขาทำ
- บรรดามุนาฟิกจะมีสภาพที่โดนทิ้งให้อยู่ในความมืด และไม่สามารถตามผู้ศรัทธาไปได้
- มุนาฟิกจะร้องขอความเห็นใจจากผู้ศรัทธา แต่ก็ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
- วันอาคิเราะฮฺจะไม่มีสิทธิไถ่ตัวเองอีกแล้ว มนุษย์ต้องไถ่ตัวเองตั้งแต่อยู่ในดุนยาเท่านั้น
- ดูเผินๆ พวกมุนาฟิกนั้นอยู่กับผู้ศรัทธา แต่ในความเป็นจริงพวกเขากลับอยู่กับบรรดากาฟิร
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับอายะฮฺนี้ในประเด็นของการใช้จ่ายและบริจาคที่พวกมุนาฟิกเคยมีพฤติกรรมในดุนยา
- การฝึกเพื่อ "อินฟาก" บางครั้งอาจจะยากกว่าการฝึกฝนทำอิบาดะฮฺอื่นๆ
- บางคนสามารถทำอิบาดะฮฺอื่นๆได้ทั้งหมด แต่ไม่ยอมจ่ายซะกาต
- มุสลิมต้องทบทวนให้ตัวเองรักษาอะมัลต่างๆ ให้ครบ ไม่ใช่ทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งและละเลยอย่างอื่น

ตอนที่ 7 - 2018-12-20
- จุดประสงค์ของสูเราะฮฺ คือการสร้างผู้ศรัทธาที่แข็งแกร่ง จากภายในและเห็นร่องรอยสู่ภายนอก
- คำถามจากอัลลอฮฺที่แทงใจดำผู้ศรัทธาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้พวกเขาทบทวนตัวเอง
- เมื่อไรจะถึงเวลาสักที? นี่คือคำถาม
- พฤติกรรมการไม่คุชูอฺ และผัดวันประกันพรุ่งในการยอมรับความจริง เป็นนิสัยของชาวคัมภีร์ก่อนหน้านี้
- โดยธรรมชาติของดุนยามันพาให้เราลืมอัลลอฮฺอยู่แล้ว เมื่อมีชัยฏอนเข้ามาเกี่ยวข้องก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก
- หากฟังคำเตือนจากอายะฮฺนี้แล้วไม่รู้สึกอะไร แสดงว่าหัวใจของเราแข็งกระด้างไปแล้วหรือเปล่า
- ทางออกสำหรับคนที่มีหัวใจแข็งกระด้าง อัลลอฮฺบอกว่าอย่ายอมแพ้ที่จะสู้เพื่อดึงหัวใจกลับคืนมาอีกครั้ง
- ทางชัยฏอนไม่เคยยอมแพ้ที่จะล่อลวงมนุษย์ เราก็อย่ายอมแพ้ที่จะสู้เพื่อหัวใจตัวเอง
- การใช้ปัญญาเพื่อเข้าถึงบทเรียนที่อัลลอฮฺสอนจากเรื่องราวต่างๆ ในอัลกุรอานและในชีวิตจริง
- คำอธิบายของเชคอัส-สะอฺดีย์เกี่ยวกับอายะฮฺนี้
- อธิบายความหมายของ คุชูอฺ จากหนังสือ มะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน ของอิบนุล ก็อยยิม
- ถ้าหัวใจไม่แข็งแกร่ง อย่าหวังว่าข้างนอกจะแข็งแกร่ง
- คำพูดของบรรดาเศาะหาบะฮฺและสะลัฟว่าด้วยความคุชูอฺ
- ระดับของความคุชูอฺ ตามการอธิบายของหนังสือมะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน
- ที่สุดของที่สุดของความคุชูอฺ คือการที่คนคนหนึ่งคุชูอฺ แต่คนอื่นไม่เห็นว่าตนเป็นคนคุชูอฺ

ตอนที่ 8 - 2018-12-27
- นะศีหัตก่อนขึ้นปีใหม่
- ประเด็นสืบเนื่องจากเรื่องคุชูอฺของตอนที่แล้ว
- สิ่งแรกที่จะถูกยกออกไปจากเราคือการคุชูอฺ
- การคุชูอฺในละหมาด ถ้าไม่คุชูอฺจะใช้ได้ไหม
- คุชูอฺในละหมาดถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ศรัทธา
- การทวนคำสั่งและกระตุ้นให้มีการบริจาคอีกครั้งหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้
- คำว่า ศรัทธา แท้จริงแล้วครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก และการบริจาคก็คือบทพิสูจน์ของหนึ่งของมัน
- การเสียสละเพื่อช่วยศาสนาของอัลลอฮฺคือบทพิสูจน์อีมานของพวกเรา
- บรรดาผู้ศรัทธาและเสียสละด้วยการบริจาค พวกเขาจะอยู่ในกลุ่มบรรดา อัศ-ศิดดีก
- อธิบายความหมายของคำว่า อัศ-ศิดดีก
- ระดับของ อัศ-ศิดดีก สูงกว่าระดับ ชะฮีด
- การศรัทธา (ตัศดีก) การบริจาค (ตะศ็อดดุก) ผู้สัจจริง (ศิดดีก) มาจากรากศัพท์เดียวกัน คือ  صدق
- ข้อสังเกตที่ถอดบทเรียนได้ก็คือ อิสลามต้องมีความคลุมทั้งหมดในชีวิตของมนุษย์
- ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องใช้อิสลาม เพราะบทบัญญัติของอิสลามครอบคลุมวิถีชีวิตของเขาทุกมิติ
- อธิบายความคลุมของอิสลามโดยวิเคราะห์ตัวอย่างจากหลักการอิสลามทั้งห้า
- คนที่ผ่านการพิสูจน์ตัวเอง สุดท้ายพวกเขาจะได้อยู่ร่วมกับบรรดาศิดดีกูนและชุฮะดาอ์
- ตรงข้ามกับบรรดาผู้ศรัทธาก็คือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่จะตกรับการลงโทษในนรก
- พิสูจน์อะไร ไม่ยากเท่ากับพิสูจน์ตัวเอง ทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเอง ไม่มีใครที่จะมารับผิดชอบแทนเราได้

ตอนที่ 9 - 2019-1-3
- ทบทวนชีวิตหลังปีใหม่
- ชีวิตในโลกดุนยามีธาตุแท้เป็นอย่างไร เหตุใดจึงยากเหลือเกินที่เราจะตัดออกจากชีวิต
- ทำไมเราไม่ยอมที่จะตัดส่วนหนึ่งของดุนยาเพื่อฝากไว้กับอาคิเราะฮฺ
- อัลลอฮฺเปรียบเทียบดุนยากับสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ต้องรู้ตัว
- อธิบายการเปรียบเทียบดุนยาด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จากคำพูดของอัส-สะอฺดีย์
- การเรียงลำดับแต่ละอย่างที่อัลลอฮฺเปรียบเทียบดุนยามีความสอดคล้องกับลำดับอายุของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย
- อายะฮฺนี้อธิบายได้อย่างเห็นภาพ เหมือนการเปิดเผยความลับที่อัลลอฮฺฉายให้เห็นดุนยาแก่มนุษย์อย่างเข้าใจง่ายที่สุด
- อะไรคือความหมายของคำสั่งว่า จงกลัวดุนยา
- ดุนยาเปรียบเหมือนฝนที่หลั่งลงมาแล้วทำให้ต้นไม้งอกเงยขึ้นมาสร้างความยินดีแก่ผู้ปลูกจากนั้นมันก็จะเหี่ยวแห้งและสลายไปในที่สุด
- ในอาคิเราะฮฺนั้นมีทางเลือกแค่สองด้าน คือ การอภัยโทษและเข้าสวรรค์ หรือ ต้องรับโทษในนรก
- อัลลอฮฺสรุปสั้นๆ ว่า ชีวิตในดุนยานั้นมิใช่สิ่งใดเลย นอกจากเป็นความสุขที่หลอกลวง
- เราจะบาล้านซ์ชีวิตอย่างไรให้สมดุลระหว่างการมีชีวิตในดุนยาและการมุ่งหาอาคิเราะฮฺ
- แต่ละคนมีความแตกต่างในการบริหารจัดการและจัดสมดุลชีวิตในการใช้ประโยชน์จากดุนยาเพื่อมุ่งสู่อาคิเราะฮฺ
- ทุกคนจะต้องมีการทบทวนและวางแผนให้ดีว่าตนจะใช้ดุนยาเป็นทุนไปสู่อาคิเราะฮฺในระดับไหน
- ต้องรู้จักตั้งใจและเจตนาให้ถูก เพราะสิ่งที่เราใช้จ่ายออกไปในดุนยาจะได้กลายเป็นกำไรสำหรับอาคิเราะฮฺด้วย
- สิ่งที่ทำปกติในแต่ละวัน สามารถแปลงเป็นผลบุญได้ ถ้าหากรู้จักตั้งเจตนาให้ดี
- เวลาที่อัลลอฮฺห้ามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พระองค์ก็จะมีสิ่งอื่นมาทดแทนให้ทันที เป็นการแนะนำสิ่งที่ดีกว่า
- คำสั่งแรกให้รู้จักดุนยา คำสั่งต่อไปให้เรารีบเร่งแข่งขันเพื่อกลับไปสู่อาคิเราะฮฺ
- เราแข่งกันในเรื่องดุนยา แต่อัลลอฮฺต้องการให้เราแข่งขันในเรื่องอาคิเราะฮฺ
- ถ้าคนอื่นแข่งกับเราในเรื่องดุนยา ให้เราแข่งกับเขาในเรื่องอาคิเราะฮฺแทน

ตอนที่ 10 - 2019-1-10
- คำสั่งของอัลลอฮฺให้รีบเร่งมุ่งสู่อาคิเราะฮฺ เหมือนกำลังแข่งขันกัน
- ใครที่แข่งกับเราในเรื่องดุนยา ให้เราแข่งกับเขาในเรื่องอาคิเราะฮฺ
- การอภัยโทษมาก่อนการเข้าสวรรค์เสมอ
- เงื่อนไขของการเข้าสวรรค์ คือ การศรัทธาที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ลมปาก
- อุปสรรคในการก้าวข้ามบททดสอบในดุนยา ยากที่จะขจัดให้หมดสิ้นง่ายๆ
- เมื่อไรที่เราสู้เพื่ออาคิเราะฮฺ บททดสอบก็จะมาทันที
- อัลลอฮฺกำกับหัวใจของเราให้สามารถผ่านบททดสอบได้ด้วยการอธิบายหลักศรัทธาต่อเกาะฎออ์และเกาะดัร
- บันไดของการศรัทธาต่อเกาะฎออ์และเกาะดัร
- เมื่อรู้กฎที่ว่าด้วยเกาะฎออ์และเกาะดัรแล้ว ก็พึงต้องระวังตัวเอง อย่าแสดงสันดานด้านลบของเราออกมา
- ชีวิตที่สมดุล คือการรู้จักมองโลก มุอ์มินรู้จักที่จะมองโลกให้ถูก
- ทุกอย่างที่ผ่านโปรเซสของผู้ศรัทธาย่อมต้องมีเอาท์พุทที่ดีเสมอ
- โรคเศร้าเป็นกับดักของชัยฏอน อัลลอฮฺต้องการให้เราใช้อัลกุรอานช่วยรักษาความเศร้า
- ไม่ให้เราเสียใจจนเป็นเหยื่อชัยฏอน และไม่ให้เราดีใจเกินตัวจนลืมอัลลอฮฺ
- ความสบายอาจจะเป็นบททดสอบที่หนักกว่าความทุกข์ในบางกรณี
- การอินฟาก คือหนึ่งในบทพิสูจน์สำคัญสำหรับหัวใจ ว่าเราสามารถผ่านบททดสอบในดุนยาได้หรือไม่
- การไม่ยอมอินฟาก หรือความตระหนี่ถี่เหนียว สะท้อนการไม่เชื่อมั่นในเกาะฎออ์และเกาะดัรของอัลลอฮฺ
- การลำดับโองการในสูเราะฮฺอัล-หะดีดเป็นอะไรที่สวยงาม เพื่อให้ผู้ศรัทธาพร้อมที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้มั่นคง

ตอนที่ 11 - 2019-1-17
- อายะฮฺก่อนจบสูเราะฮฺ อัล-หะดีด
- ปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลที่ล้น จนบางครั้งเราหยิบใช้ไม่ถูก
- ชีวิตท่ามกลางโลกแบบนี้ เราจำเป็นต้องมีไกด์ไลน์ เพื่อจะช่วยคัดกรองและเลือกให้กับเรา
- ในสูเราะฮฺ อัล-หะดีด เหมือนว่าอัลลอฮฺได้กำหนดไกด์ไลน์ให้เราแล้ว ด้วยการสร้างความแข็งแกร่งภายในและภายนอก
- เมื่ออัลลอฮฺให้ไกด์ไลน์มาแล้ว พระองค์ก็พูดถึงโมเดล หรือตัวอย่างจากบุคคลที่ให้เราได้เห็นภาคปฏิบัติในการใช้ชีวิต
- ไกด์ไลน์และโมเดล คือ สองประการที่มุสลิมต้องรู้จักใช้เพื่อดำรงชีวิตในดุนยาให้ปลอดภัย
- อัลลอฮฺประทานทั้งคัมภีร์ และตาชั่งอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมที่มนุษย์ล้วนยอมรับ
- คัมภีร์คือวะห์ยู ตาชั่งเกี่ยวข้องกับสติปัญญา ระหว่างวะห์ยูและสติปัญญามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- สองปัจจัยนี้เป็นประการสำคัญที่จะทำให้สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ด้วยความมั่นคงและความเจริญมีเสถียรภาพ
- ความแตกต่างระหว่างคำว่า "อัดล์" และ "กิสฏ์" ที่หมายถึงยุติธรรมทั้งสองคำ
- ตัวอย่างการใช้คำทั้งสองนี้ในภาษาอาหรับ
- การประทานเหล็ก อันเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจที่มนุษย์ใช้ในการปกป้องตัวเองและป้องกันศัตรู
- อำนาจของอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกยุคสมัยตั้งแต่อดีตใช้กัน ไม่เว้นแม้กระทั่งบรรดานบีของบนีอิสรออีล
- เมื่อมีมนุษย์สร้างความเสียหายบนโลก ก็จำเป็นต้องมีอำนาจที่จะมาควบคุม แก้ไข และจำกัดความเสียหายเหล่านี้
- หากไม่มีการจัดการความเสียหาย ก็ย่อมเกิดผลเสียต่อบรรดาคนดีและศาสนสถานที่พวกเขาใช้ประกอบศาสนกิจ
- ประโยชน์ของเหล็กมีมากมายมหาศาล เป็นความมหัศจรรย์ตามที่อัลลอฮฺได้บอกให้มนุษย์ทราบในอายะฮฺนี้
- ทั้งคัมภีร์ ความยุติธรรม อำนาจของอาวุธหรือประโยชน์จากเหล็ก อัลลอฮฺต้องการเห็นเราใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อศาสนาของพระองค์
- อย่าลืมที่จะใช้ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เพื่อช่วยอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์

ตอนที่ 12 - 2019-1-24
- อัลลอฮฺต้องการเห็นคนที่นำสิ่งอำนวยความสะดวกที่พระองค์ประทานให้ในการรับใช้ศาสนาของพระองค์
- มุสลิมจะละเลยหน้าที่ในการใช้ประโยชน์สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ เพราะเป็นการปล่อยให้คนอื่นเอาไปใช้ในทางที่ผิด ก่อความเสียหายแก่แผ่นดิน
- อำนาจทางธรรมและอำนาจทางวัตถุ ต้องดำรงอยู่ด้วยกัน
- เจาะจงระบุนูห์และอิบรอฮีมเพราะสองท่านนี้เป็นต้นตระกูลของเหล่านบี
- คุณลักษณะเฉพาะของสาวกผู้ติดตามนบีอีซาอะลัยฮิสสลาม
- ความแตกต่างระหว่าง เราะอ์ฟะฮ์ และ เราะห์มะฮ์
- บิดอะฮ์ในศาสนาของผู้ติดตามอีซา อะลัยฮิสสลาม
- ชาวนะศอรอกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นมาเอง โดยที่อัลลอฮฺไม่ได้บังคับ แต่สุดท้ายพวกเขาก็แพ้ตัวเองและละเลยต่อกฎเกณฑ์ที่ตนคิดขึ้นมา
- ปิดท้ายสูเราะฮฺอัล-หะดีดด้วยคำสั่งตักวา
- ตักวาคือคำสั่งเสียของผู้ศรัทธาสำหรับทุกโอกาส
- อัลลอฮฺสั่งให้เราดูแลความศรัทธาอย่างต่อเนื่อง เสมอต้นเสมอปลาย
- อัลลอฮฺจะประทานผลบุญสองส่วนแก่บรรดาผู้ศรัทธา เหมือนกับที่พระองค์เคยบอกว่าจะประทานแก่ชาวคัมภีร์สองส่วนหากพวกเขาศรัทธาต่ออิสลาม
- นูร แสงสว่างที่อัลลอฮฺประทานให้ผู้ศรัทธาในดุนยาคืออัลกุรอาน และนูรในอาคิเราะฮฺคือแสงสว่างที่ผู้ศรัทธาจะใช้เดินไปสู่สวรรค์
- อัลลอฮฺคือผู้ควบคุมอำนาจ พระองค์จะให้หรือจะห้าม ล้วนเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ผู้เดียว
- สูเราะฮฺนี้เริ่มต้นด้วยการกำชับเรื่องอะกีดะฮฺ และปิดท้ายด้วยการตอกย้ำเรื่องอะกีดะฮฺอีกครั้ง
- ทุกอย่างถูกเตรียมไว้สำหรับเรา รอเพียงว่าเราพร้อมที่จะดำเนินตามสิ่งที่ถูกเตรียมไว้หรือไม่แค่นั้นเอง



วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

โซเชียลมีเดียกับความเศร้า และทางนำจากอัลกุรอาน



สังคมโซเชียลมีเดียออนไลน์ เป็นสาเหตุของโรคเศร้าได้อย่างไร มีบทความและงานวิจัยที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ให้ลองพิจารณาในมุมมองของการบำบัดทางจิตเวช ลองคลิกอ่านจากลิงก์พวกนี้

ในมุมมองของอัลกุรอาน ความเศร้าครั้งแรก เกิดขึ้นในสวรรค์ กับพ่อแม่ของเรา เมื่อชัยฏอนล่อลวงพวกเขา และสุดท้ายอัลลอฮฺให้พวกเขาก้าวข้ามความเศร้านี้มาได้อย่างไร ลองฟังดู