วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-หัชร์





อธิบายสูเราะฮฺ อัล-หัชร์ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 10 ตอน นำเสนอส่วนหนึ่งจากเรื่องราวของยิวบนีนะฎีรที่ผิดสัญญากับชาวมุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺ สูเราะฮฺได้พูดถึงตัวอย่างความเป็นพี่น้องกันระหว่างชาวมุฮาญิรีนและอันศอร และแฉพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมุนาฟิกและพวกยิว สุดท้ายก็ได้ให้ข้อสรุปที่สำคัญในกระบวนการสร้างความแข็งแกร่งของผู้ศรัทธาผ่านการยึดมั่นในคำสอนของอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงกำหนดทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ทรงประสงค์


รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse

ตอนที่ 1
- บาปและบททดสอบในชีวิตของมุอ์มิน
- ไม่มีเหตุผลที่เราจะตำหนิการที่เราต้องเจอสิ่งไม่ดีในชีวิต
- ในตัวของมนุษย์เองมีคำเตือนให้เราทบทวนตัวเองและใช้สติเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น
- มุอ์มินจะไม่มีเรื่องที่ไม่ดีในชีวิตของเขา อะไรที่ไม่ดีมักจะเป็นคำเตือน ต้องรู้จักใช้ให้เป็น
- เมื่ออ่อนแอหรือสับสนให้ลองนึกถึงวิถีชีวิตในเราะมะฎอน ทั้งอัลก
- ที่มาของชื่อสูเราะฮฺ อัล-หัชร์
- เหตุใดชาวยิวจึงได้เข้ามาอาศัยอยู่ดินแดนอาหรับ
- การนำเสนอที่หลากหลายของสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ
- การเริ่มต้นสูเราะฮฺ ด้วยการตัสบีหฺ เหตุผลและประโยชน์ของการตัสบีหฺ 
- อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับประเด็นการตัสบีหฺ
- คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ 

ตอนที่ 2
- การความรู้มีหลายแบบตามความเหมาะสมของแต่ละวัย แต่เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- สมองของเราจะตายทุกวันอย่างน้อยวันละ 75000 เซลล์ จึงต้องใช้งานสมองด้วยการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- ยิ่งได้ออกไปเรียนรู้ จะยิ่งเข้าใจว่าเรามีอีกหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้
- คนเราอยู่ได้ด้วยกำลังใจ การเดินทางไปพบปะผู้คนทำให้กำลังใจของเราเพิ่มขึ้น
- คำพูดที่ดีเป็นเศาะดะเกาะฮฺ การให้กำลังใจก็ถือว่าเป็นเศาะดะเกาะฮฺ
- การตัจญ์ดีดอีมานและความรู้ 
- ทำไมเราต้องละหมาดห้าเวลา เพราะนั่นคือการตัจญ์ดีด
- อธิบายสาเหตุและเรื่องราวที่เป็นเบื้องหลังการประทานสูเราะฮฺอัลหัชร์
- เรื่องราวการสัญญาระหว่างมุนาฟิกกับยิวว่าจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- มุอ์มินได้รับชัยชนะเหนือยิวในขณะที่พวกเขาไม่คาดคิดมาก่อน
- อาวุธที่ทำให้มุอ์มินได้รับชัยชนะก็คือความกลัว เป็นทหารประเภทหนึ่งที่เรามองไม่เห็น
- เปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน (ประมาณนาทีที่ 25-32)
- ความกลัวที่ถูกโยนลงไปในหัวใจศัตรูคือหนึ่งในความพิเศษที่อัลลอฮฺประทานให้อุมมะฮฺนี้
- ใช้อัลกุรอานวิเคราะห์สภาพจริงเพื่อหาบทเรียนที่จะใช้ใจภาคปฏิบัติ 
- ถ้ามุสลิมอ่านอัลกุรอานและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เขาจะไม่มีวันหมดกำลังใจต่อหน้าสิ่งที่เขาเห็นเด็ดขาด
- สิ่งที่เราต้องถามก็คือ ตกลงตอนนี้ศัตรูกลัวเราหรือยัง เรามีอะไรที่ศัตรูน่าจะกลัวเรา
- เราทำตัวให้ศัตรูเยาะเย้ย มากกว่าที่จะกลัวเรา เราไม่มีอะไรที่น่ากลัวเลยสักนิดหนึ่ง ไม่มีบุคลิกแห่งความน่าเกรงขามเลยสักหน่อย
- เราเป็นโรคเฝ้ารอฮีโร่โดยไม่ได้คิดปรับปรุงตัวเอง
- เราอาจจะนึกว่าเราอ่อนแอไม่สามารถเอาชนะศัตรูที่เข้มแข็งกว่าเราได้ แต่อัลลอฮฺก็เคยทำให้ยิวพ่ายแพ้มาแล้วโดยที่เราไม่เคยคาดคิด
- บางครั้งมนุษย์คิดอย่างหนึ่ง แต่อัลลอฮฺต้องการอย่างอื่น พระองค์เตรียมเอาไว้อีกอย่างหนึ่ง (นาที 38)
- สิ่งที่เราคิดไม่ตรงกับที่อัลลอฮฺต้องการ สิ่งที่อัลลอฮฺต้องการไม่ใช่สิ่งที่เราคิด เพราะฉะนั้นต้องมีกำลังใจ ไม่ควรท้อแท้
- นิสัยประการหนึ่งของยิว คือ ถ้าตัวเองไม่ได้รับประโยชน์ ก็อย่าหวังว่าคนอื่นจะได้รับประโยชน์ 
- การขับไล่ครั้งแรก คืออะไร
- อัลกุรอานกระตุ้นและสอนเราให้พยายามดึงบทเรียนจากที่สิ่งเราเรียน (นาที 43)
- ให้ดึงสุนนะตุลลอฮฺออกมาจากประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยของเรา 
- เรียนอัลกุรอานเพื่อเรียนรู้แก่นข้อเท็จจริงที่อัลลอฮฺบอกเรา และเรียนประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์คำตอบสำหรับคำถามที่เกิดขึ้นในชีวิต


ตอนที่ 3 
- มีความสำคัญและมีความจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้จักยิว เป็นคำถามเดียวกับที่เราต้องถามว่าเราจำเป็นต้องรู้จักชัยฏอนขนาดไหน
- คนที่ไม่รู้จักชัยฏอนเขาจะเป็นอย่างไร และคนที่ไม่รู้จักยิวเขาจะเป็นอย่างไร
- พูดถึงหนังสือบางเล่มที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องยิว 
- อัลกุรอานกับการพูดถึงยิว
- จะทำอย่างไรเพื่อให้การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องยิวกลายเป็นองค์ความรู้ระยะยาว ไม่ใช่พูดด้วยอารมณ์
- ความกลัว คือ สาเหตุที่พวกยิวขอออกไปจากมะดีนะฮฺเอง
- นิสัยของพวกยิวที่มีความโอหังต่ออัลลอฮฺ
- ประวัติบางส่วนเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานของพวกยิวตั้งแต่อดีตกาล
- หิกมะฮฺหรือวิทยปัญญาที่อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้เกิดสงครามตะลุมบอนกันระหว่างมุสลิมกับยิวบนีนะฎีรฺ
- การเป็นปฏิปักษ์ของยิวกับอัลลอฮฺ รอซูล และมุสลิม เกิดมาจากความตั้งใจที่จะเป็นศัตรูจริงๆ ไม่ได้เกิดมาจากความไม่รู้
- คำสั่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกให้บรรดาเศาะหาบะฮฺตัดต้นอินทผลัม 
- พวกยิวนำประเด็นการตัดต้นอินผลัมมาเป็นข้ออ้างกล่าวหาบรรดามุสลิม
- อัลลอฮฺได้ตอบโต้การกล่าวอ้างดังกล่าวไว้ในสูเราะฮฺนี้แล้วว่าเพราะอะไรที่อนุมัติให้ทำการดังกล่าวได้ในสงครามนี้


ตอนที่ 4
- แนะนำการทำอะมัลในช่วงสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ
- ประเภทของทรัพย์เชลยที่ได้จากสงคราม
- ทรัพย์เชลยที่ได้จากสงครามบนีนะฎีรฺไม่ต้องแบ่งเหมือนกับทรัพย์เชลยในสงครามอื่น
- วิธีการแบ่งทรัพย์เชลยตามประเภทของมัน
- วิสัยทัศน์ของชะรีอะฮฺอิสลามไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกันคนจน
- ทรัพย์เชลยเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการกำจัดช่องว่างที่เหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน
- ตัวอย่างวิสัยทัศน์ของท่านอุมัรในการกำหนดนโยบายขจัดความยากจน
- เหตุใดที่ทรัพย์เชลยรอบนี้ท่านนบีจึงได้แบ่งให้กับชาวมุฮาญิรีนเท่านั้น
- สปิริตของชาวอันศอรในการดูแลชาวมุฮาญิรีน
- คำสั่งให้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงแม้จะไม่มีการอธิบายเหตุผลอะไรก็ตาม
- คำพูดของท่านอัส-สะอฺดีย์เกี่ยวกับการตามท่านนบี 


ตอนที่ 5
- สิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ กล่าวถึงความสำคัญและอะมัลต่างๆ ในช่วงนี้ 
- การแบ่งประเภทตักบีรแบบมุฏลักและมุก็อยยัด
- ความแตกต่างระหว่างอีดุลฟิฏรี กับ อีดุลอัฎฮา
- การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ
- อีดกับอิบาดะฮฺการกุรบานทั้งสี่วันในอีดุลอัฎฮา 
- ความพิเศษของชาวมุฮาญิรีน ซึ่งเป็นตัวอย่างของความเสียสละ
- คุณลักษณต่างๆ ของชาวมุฮาญิรีน ที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ
- การอพยพของชาวมุฮาญิรีน คือการอพยพเพื่อศาสนาของอัลลอฮฺ
- อายะฮฺที่พูดถึงสภาพวะลาอ์ระหว่างชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร
- ความรักที่แท้จริงคือผลพวงของความศรัทธา
- คุณลักษณะของชาวอันศอรที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ
- ความหมายและตัวอย่างของคำว่า อีษารฺ
- เรื่องราวของชาวอันศอรที่เป็นความพิเศษมากกว่าคนอื่น 
- เรื่องของอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ กับชายชาวอันศอรที่ท่านนบีบอกว่าเป็นชาวสวรรค์
- อายะฮฺเหล่านี้คืออายะฮฺที่แสดงถึงความพิเศษของบรรดาเศาะหาบะฮฺ
- ความละโมบในตัวมนุษย์เป็นสันดานที่จะต้องจัดการให้ดี
- ความแตกต่างระหว่างคำว่า ชุห์ และ บุคล์ 


ตอนที่ 6 
- ข้อคิดในการติดตามและเสพข่าวสารที่เผยแพร่ในโลกโซเชียล
- เสพข่าวอย่างไรด้วยสติ และแสดงออกอย่างไรให้เป็นประโยชน์
- ดุอาอ์สำคัญอย่างไร และเป็นรูปธรรมได้อย่างไร 
- แนะนำดุอาอ์เมื่อเจอกับความยุ่งยากในชีวิต
- นอกจากมุฮาญิรีนและอันศอรแล้ว บรรดาผู้ที่ติดตามและเอาอย่างคนสองกลุ่มนี้ก็ได้รับการชื่นชมจากอัลลอฮฺเช่นกัน
- ดุอาอ์ที่อัลลอฮฺพูดถึงในสูเราะฮฺอัล-หัชรฺ ที่สอนให้ผู้ศรัทธามีความผูกพันระหว่างกัน
- อย่าขอดุอาอ์แบบขี้เหนียว
- ดุอาอ์ที่ดีที่สุดคือดุอาอ์ที่อัลลอฮฺสอนในอัลกุรอาน
- ดุอาอ์นี้ตัรบิยะฮฺให้เรารักพี่น้องและขจัดความรู้สึกเกลียดชังออกจากหัวใจ
- ผลของการศรัทธาจะต้องกลายมาเป็นอุคูวะฮฺ จากอุคูวะฮฺกลายเป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ
- ทำไมอัลลอฮฺจึงปฏฺิเสธความเกลียดชังในดุอาอ์ที่ผู้ศรัทธาต้องขอให้กับพี่น้อง
- จะมีอีมานได้จะต้องไม่มีความรู้สึกโกรธเกลียดต่อผู้ศรัทธาด้วยกัน
- คำอธิบายที่สวยงามของอัส-สะอฺดีย์
- คำพูดของอิมามมาลิก ในการอธิบายดุอาอ์นี้ เกี่ยวข้องกับชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺอย่างไร
- คำพูดของอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ ว่าด้วยการดูแลประชาชาติและให้ความทั่วถึงในการดูแลราษฎร
- สรุปบทเรียนจากดุอาอ์ในสูเราะฮฺ อัล-หัชรฺ   


ตอนที่ 7
- เรื่องราวการร่วมมือระหว่างมุนาฟิกกับชาวยิว
- อัลกุรอานใช้คำว่าพี่น้องระหว่างมุนาฟิกและชาวยิว
- ชาวมุนาฟิกได้ให้สัญญาที่จะช่วยเหลือพวกยิวบนีนะฎีร แต่อัลลอฮฺก็ประกาศชัดว่ามุนาฟิกเหล่านี้จะไม่มีทางช่วยเหลือพวกยิวอย่างแน่นอน
- มุนาฟิกและยิว จะกลัวมนุษย์ด้วยกันมากกว่ากลัวอัลลอฮฺ ในขณะที่ผู้ศรัทธานั้นจะเกรงกลัวอัลลอฮฺมากกว่า
- การศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ อัล-ฆ็อยบ์ คือคุณลักษณะสำคัญของผู้ศรัทธา 
- ความไม่เข้าใจทำให้มุนาฟิกไม่กลัวอัลลอฮฺ การกลัวอัลลอฮฺจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเตาฮีด
- ความจริงที่อัลลอฮฺได้เปิดเผยถึงความขยาดของพวกยิวที่ไม่กล้าต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว
- ความจริงอีกข้อหนึ่งก็คือ สภาพความแตกแยกภายในระหว่างยิวกันเอง ที่เราอาจจะไม่ทราบ แต่อัลลอฮฺได้เผยให้ทราบในอัลกุรอานแล้ว


ตอนที่ 8
- การเปรีบบเทียบสภาพของยิวและมุนาฟิกไว้สองกรณี
- หนึ่ง การเปรียบเทียบพวกยิวที่ไม่ได้รับอุทาหรณ์หรือบทเรียนจากเผ่าก็อยนุกออฺที่เคยโดยขับไล่มาก่อนหน้านี้แล้ว
- สอง การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของมุนาฟิกและชาวยิว เหมือนความสัมพันธ์ของชัยฏอนกับมนุษย์ในวันอาคิเราะฮฺ
- เรื่องเล่าในสมัยบนีอิสรออีลที่พูดถึงการหลอกล่อของชัยฏอนต่อนักบวช และสุดท้ายชัยฏอนก็ทรยศหักหลัง
- เป็นภาพเปรียบเทียบสภาพที่มุนาฟิกไปหลอกยิวนบีนะฎีรสุดท้ายก็หักหลัง ไม่ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ
- ในท้ายสูเราะฮฺ อัลลอฮฺได้นำเสนอแนวทางที่จะให้เราไม่เป็นเหมือนชัยฏอน ยิว และมุนาฟิก นั่นคือ คำสั่งให้ตักวาต่ออัลลอฮฺ
- คำสั่งในทุกคนพิจารณาและเตรียมตัวสำหรับการเดินทางไปยังวันอาคิเราะฮฺ
- เรียกร้องเชิญชวนให้ช่วยกันทบทวนตัวเองตามที่อัลลอฮฺได้กำชับในคำสั่งของพระองค์
- เทคโนโลยีเอื้ออำนวยให้เราได้หาเครื่องมือช่วยในการทบทวนตัวเอง มันไม่ได้ข้อบกพร่องของเทคโนโลยี แต่ข้อบกพร่องอยู่ที่จิตสำนึกของเราเอง


ตอนที่ 9 
- ถ้าเราเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง ถ้าเมื่อไรที่หัวใจห่างหายจากการซิกรุลลอฮฺ เขาจะโหยหาที่จะกลับไปหาการรำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่เสมอ
- แม้เราจะบกพร่องในหน้าที่หลายประการ แต่อัลกุรอานยังคงอยู่กับเรา ให้เราได้กลับมาทุกเมื่อเวลาที่หัวใจของเรารู้สึกเหือดแห้ง
- เรายังได้ขอบคุณอัลลอฮฺ แม้ในภาวะที่เราบกพร่องต่อพระองค์
- อายะฮฺที่พูดถึงการมุหาสะบะฮฺหรือการทบทวนตัวเอง อัลกุรอานเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาทบทวนตัวเอง
- เหตุใดที่มีตักวาขนาบหน้าหลังในคำสั่งให้มีการทบทวนตัวเอง
- ตักวาเป็นกุญแจแห่งความดี ที่บรรดานบีได้นำมาให้กับประชาชาติของพวกท่าน
- สิ่งที่มนุษย์ชอบส่วนใหญ่จะมีตักวาเข้ามากำกับอยู่เสมอ เพราะถ้าชอบมากเกินไปถ้าไม่มีตักวามาคุมจะทำให้เขาเลยเถิด
- มีคำสั่งทั้งสองด้าน สั่งให้ทบทวนตัวเอง และห้ามไม่ให้ลืมอัลลอฮฺ คนที่ไม่มีตักวาในหัวใจ
- การลืมอัลลอฮฺ หมายถึง การละทิ้งหน้าที่ที่พระองค์มีคำสั่งให้ปฏิบัติ ลืมสิทธิที่เราต้องทำต่ออัลลอฮฺ
- เวลาที่เราลืมอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทำให้เราลืมตัวเอง หมายถึง ลืมที่จะทำสิ่งที่ควรต้องทำเพื่อตัวเอง
- อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำเพื่อตัวเอง ? 
- ทุกอย่างที่เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺให้เราทำ ล้วนมีผลดีกลับมาที่ตัวเราเองทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เราลืมทำสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งให้ทำ จึงเกิดผลเสียต่อตัวเองทั้งนั้น
- อธิบายและยกตัวอย่างว่า การทำความดีจะส่งผลดีต่อผู้กระทำอย่างไร
- สูตรในชีวิตมุสลิม ลืมอัลลอฮฺเราเสียหาย เราทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ เรากลับได้รับผลดีถล่มทลาย
- เหมาะแล้วสำหรับคนที่ลืมอัลลอฮฺ จะได้รับชื่อว่าเป็นฟาสิก คนที่อยู่นอกขอบเขตจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ
- ลืมอัลลอฮฺจะออกไปเมตตาจากอัลลอฮฺอย่างไกลสุดกู่เลย
- ลืมอัลลอฮฺ ทำให้เราลืมจะทบทวนสิ่งที่ต้องเตรียมตัวไปพบกับอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ
- การรำลึกถึงอัลลอฮฺและคิดถึงตัวเอง สองคล้องกับแนวคิดทางจิตวิทยาปัจจุบันอย่างไร
- อยู่กับตัวเองได้ ในเมื่อเรารู้จักที่จะอยู่กับอัลลอฮฺ
- การไม่ได้ผูกตัวเองกับอัลลอฮฺ ชีวิตเราจะมีคุณค่าได้อย่างไร
- ความแตกต่างระหว่างชาวนรกกับชาวสวรรค์ ในทุกๆ ด้าน ทั้งในดุนยาและในวันอาคิเราะฮฺ
- เราลืมว่านรกกำลังร้องหาเราอยู่ เราลืมว่าในสวรรค์มีสิ่งที่เตรียมเอาไว้ให้เราอยู่ 
- สุดท้ายอัลกุรอานคือข้อสรุปรวบยอดของกระบวนการทบทวนตัวเองและไม่ลืมอัลลอฮฺ 
- อุทาหรณ์ว่าด้วยอิทธิพลของอัลกุรอานต่อหัวใจ เหมือนดังที่มันมีอิทธิพลต่อภูเขาที่แข็งกระด้างและสามารถแตกกระจุยได้
- หากหัวใจของเราไม่ได้อ่อนลงเพราะอัลกุรอาน ก็คงต้องเยียวยาในนรกแล้ว วัลอิยาซุบิลลาฮฺ
- ตำหนิมนุษย์ที่มีหัวใจแข็งกระด้าง และไม่ยอมอ่อนลง เมื่อเราอ่านอัลกุรอาน 
- ต้องหาคำตอบว่า ครั้งสุดท้ายที่เบ้าตาของเราแตกด้วยน้ำตาเกิดขึ้นเมื่อไร 


ตอนที่ 10 
- ตอนจบอันสวยงามของสูเราะฮฺอัล-หัชร์ 
- ขึ้นต้นด้วยการตัสบีห์ และจบด้วยการตัสบีห์
- สรุปเนื้อหาตั้งแต่เริ่มต้นในสูเราะฮฺอัล-หัชร์
- คำสั่งและการชีแนะให้ตัสบีห์ เป็นการสอนให้เรามองบวกต่ออัลลอฮฺ-
- หากท่านนบีและเศาะหาบะฮฺได้รับชัยชนะเพราะอาศัยอัลกุรอาน แล้วเหตุใดเราจึงจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะอัลกุรอานได้ด้วยเล่า
- เรื่องของเราหนักกว่าความทุกข์ของคนรุ่นเก่ากระนั้นหรือ
- เมื่อเรารู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอานแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้ความยิ่งใหญ่ของเจ้าของอัลกุรอานด้วย
- ท้ายสูเราะฮฺอัลหัชร์มีเตาฮีดอัสมาอ์วัศศิฟาตให้เราได้เรียนรู้อย่างเต็มอิ่ม
- แม้แต่คนทีทรยศต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็ยังทรงเมตตา หากไม่มีความเมตตาของพระองค์ คนชั่วก็คงไม่มีลมหายใจได้ทำชั่ว
- ความทุกข์ของเราจะมากขนาดไหน ความเมตตาของพระองค์ย่อมมากกว่านั้นแน่นอน
- อธิบายความหมายพระนามของอัลลอฮฺในท้ายสูเราะฮฺอัลหัชร์
- อัสสลาม คือพระนามของอัลลอฮฺ สันติภาพมาจากอัลลอฮฺ เราเป็นผู้รับฝากสันติภาพมาแจกจ่ายให้กับมนุษยชาติ 
- ความหวังและความกลัว ในพระนามของอัลลอฮฺ
- อัล-อัสมาอ์ อัล-หุสนา หมายถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺจะเป็นไปตามพระนามของพระองค์จริงๆ
- ต้นสูเราะฮฺและท้ายสูเราะฮฺ มีความเหมือนกันอย่างน่าอัศจรรย์