วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน



อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 3 ตอน เป็นเรื่องราวว่าด้วยพฤติกรรมต่างๆ ของมุนาฟิก ที่เสแสร้งทำทีว่าเป็นผู้ศรัทธา แต่กลับซ่อนการปฏิเสธศรัทธาไว้ภายใน และคอยจ้องทำลายท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และชาวมุสลิม อัลลอฮฺได้ใช้บรรดาผู้ศรัทธาระแวดระวังพวกเขาและหลีกห่างพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าจะเป็นเยี่ยงเดียวกันกับพวกมุนาฟิก

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

**********

ตอนที่ 1
- ความหมายของมุนาฟิกูน
- ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องมุนาฟิก ? เพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นมุนาฟิกเสียเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เราเป็นเหยื่อมุนาฟิก
- เหตุใดที่สูเราะฮฺมุนาฟิกูนจึงอยู่ท่ามกลางสูเราะฮฺในญุซที่ 28
- เรื่องราวประวัติศาสตร์ได้บอกเล่าวิธีการที่ท่านนบีได้ปฏิบัติต่อพวกมุนาฟิกูนอย่างละเอียด
- พวกมุนาฟิกเสแสร้งในการปฏิญาณและประกาศศรัทธาต่อท่านนบี
- อัลลอฮฺตอบโต้พฤติกรรมของพวกมุนาฟิกด้วยการประกาศว่าพระองค์รู้ดีว่าท่านนบีเป็นใคร ไม่จำเป็นต้องให้มุนาฟิกมารับรอง
- คำพูดที่ไม่ตรงกับใจย่อมไม่มีความหมายในทัศนะของอัลลอฮฺ
- พวกมุนาฟิกใช้การสาบานเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์และการบรรลุตามแผนของตน
- สภาพชีวิตของพวกมุนาฟิก ตัวตนที่แท้จริงซึ่งซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพลักษณ์ภายนอก

ตอนที่ 2
- ความแตกต่างของลักษณะมนุษย์ที่อัลลอฮฺสร้าง ไม่ใช่แค่แตกต่างกันเฉพาะภายนอก แต่ภายในก็มีความแตกต่างให้เห็นด้วย
- แนะนำการเรียนตัฟซีรแบบรวมเฉพาะหัวข้อ อัต-ตัฟซีร อัล-เมาฎูอีย์
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นอัล-วะลาอ์ วัล-บะรออ์ กับสูเราะฮฺ อัล-มุนาฟิกูน
- บรรดาเศาะหาบะฮฺมีความกลัวและเป็นห่วงว่าตนจะเป็นมุนาฟิก เนื่องจากความอันตรายของมัน
- เหตุใดมุนาฟิกจึงน่ากลัวกว่าคนที่แสดงตนว่าเป็นศัตรู
- คุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของมุนาฟิก คือการเป็นคนจอมโกหก และกลัวว่าจะมีโองการอัลกุรอานมาประจานความโกหกของตัวเอง
- นิสัยอีกประการของมุนาฟิก คือ การหยิ่งยะโส ไม่ยอมรับสัจธรรม
- ท่านนบีพยายามอย่างมากที่จะเปิดโอกาสให้พวกมุนาฟิกกลับตัว
- อัลลอฮฺปิดโอกาสการยกโทษให้แก่พวกมุนาฟิก แม้ว่าจะได้รับการขออิสติฆฟารจากท่านนบีก็ตาม
- อัลลอฮฺจะไม่ให้ฮิดายะฮฺคนที่ฟาสิก คือคนที่ไม่ประสงค์จะเป็นคนดีแต่แรก
- การผัดวันในการรับฟังสัจธรรมจนเวลาล่วงเลยไป เป็นเหตุให้หัวใจแข็งกระด้างและกลายสภาพเป็นฟาสิก
- พวกมุนาฟิกประกาศและยั่วยุให้ตัดความช่วยเหลือแก่ผู้ศรัทธา อัลลอฮฺจึงตอบโต้พวกเขาว่าริสกีทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ
- พวกมุนาฟิกยังประกาศที่จะขับไล่ท่านนบีและบรรดาเศาะหาบะฮฺออกจากมะดีนะฮฺ
- เรื่องราวในสงครามบนีอัล-มุสเฏาะลิกอันยาวเหยียดที่เป็นเหตุของการที่พวกมุนาฟิกประกาศจะขับไล่ท่านนบี
- จุดยืนของลูกชายหัวหน้ามุนาฟิก ที่มาขอกับท่านนบีว่าจะเป็นผู้จัดการกับบิดาของตัวเองหากท่านนบีต้องการประหารเขา
- ท่านนบีห้ามไม่ให้ประหารมุนาฟิกด้วยเหตุผลเพื่อต้องการรักษาความสงบและไม่ต้องการให้เกิดปัจจัยความปั่นป่วนขึ้นมาระหว่างมุสลิม
- บทเรียนจากจุดยืนของท่านนบีในการคลุกคลีกับมุนาฟิก
- เราดีกว่าท่านนบีไหม คนที่ทะเลาะกับเราเลวกว่าหัวหน้ามุนาฟิกไหม ทำไมเราจึงปฏิบัติต่อคนที่เราทะเลาะด้วยแย่กว่าที่ท่านนบีปฏิบัติต่อมุนาฟิกเสียอีก
- แม้จะมีปัญหาภายในมากมาย แต่เราก็ต้องรักษาสภาพความปึกแผ่นของสังคมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้

ตอนที่ 3
- คุณลักษณะบางอย่างของมุนาฟิกที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์สิน
- คำสั่งแก่บรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้มีนิสัยเหมือนมุนาฟิก
- สองอย่างที่มนุษย์ละไม่ลง ทรัพย์สินและลูกหลาน
- อิสลามมีมุมมองอย่างไรกับการสะสมสมบัติและการมีลูกหลานเยอะ
- หากการหาริสกีและมีลูกหลานไม่ได้เป็นเหตุให้หลงลืมอัลลอฮฺ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
- การสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมาย(อาคิเราะฮฺ)และเครื่องมือ(ดุนยา)
- อย่ายุ่งอยู่กับเครื่องมือจนลืมเป้าหมาย
- ต้องให้บาลานซ์ระหว่างการดูแลตัวเองและครอบครัว กับการบริหารอาคิเราะฮฺ
- ระหว่างการบริหารดุนยาและบริหารอาคิเราะฮฺ
- ความท้าทายของมุสลิมคือการบริหารทั้งสองอย่าง บริหารดุนยาเพื่อไปอาคิเราะฮฺ
- ใครที่ปล่อยให้ดุนยาเป็นเหตุให้เขาละเลยอาคิเราะฮฺคือคนที่ขาดทุนในวันอาคิเราะฮฺ
- เมื่อห้ามเสร็จแล้ว ก็แนะนำหนทางที่จะช่วยให้รอดพ้นจากความขาดทุน
- อินฟาก การใช้จ่ายภาควาญิบและไม่วาญิบ
- เหตุใดที่คนใกล้ตายจึงขอที่จะบริจาคมากกว่าที่จะทำออย่างอื่น
- บริหารจัดการการบริจาคให้มีคุณภาพ
- มุอ์มินเองก็บอกว่าถ้ามีโอกาสก็จะอยากกลับมาบริจาคให้มากขึ้น
- ต้องบริจาคให้เป็นนิสัย จะช่วงมีหรือไม่มีก็เหมือนกัน
- บริจาคแค่สวนหนึ่งจากสิ่งที่ตนมี มิใช่บริจาคทั้งหมดที่มี
- ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามที่มีคำสอนครบรอบด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น