วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

สรุปเนื้อหาตัฟซีร สูเราะฮ์ มุหัมมัด




ฟังทาง SoundCloud ที่นี่


ตอนที่ 1 
- อธิบายความหมายของชื่อสูเราะฮ์และชื่ออื่นๆ ของสูเราะฮ์ คือ สูเราะฮ์ อัล-กิตาล
- อิสลามกับสงคราม เหตุใดอิสลามจึงต้องพูดเกี่ยวกับสงคราม
- ทุกวันนี้มนุษย์ยังคงผลิตอาวุธสงคราม แต่อิสลามกลับกลายเป็นเหยื่อว่ากระหายสงคราม
- ทุกกิจกรรมของมนุษย์ทุกวันนี้ยังคงเวียนวนอยู่กับสงคราม เช่นในหนัง ในเกมส์ ของเล่น ฯลฯ
- สงครามในสมัยท่านนบีมีไม่กี่ครั้งและจำนวนเทียบไม่ได้เลยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง
- ต้องเข้าใจด้วยว่าเหตุใดถึงมีบทบัญญัติเหล่านี้อยู่ในคำสอนของอัลลอฮ์
- การสงครามเป็นเรื่องหนัก หากไม่มีความศรัทธาก็ย่อมไม่มีใครอยากลุกขึ้นมาสู่สมรภูมิสงคราม
- สูเราะฮ์นี้เป็นการปลุกใจให้เสียสละเพื่อลุกขึ้นต่อสู้แม้ว่าจะรู้สึกหนักก็ตาม
- ให้นึกถึงบริบทและบรรยากาศในช่วงที่สูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาด้วย 
- ระหว่างสงครามทางอาวุธ และสงครามทางจิตวิทยา 
- พวกมุชริกีนอาจจะทำดีในดุนยา แต่อาคิเราะฮ์พวกเขาจะไม่เหลือความดีอะไรเลย เพราะพวกเขาไม่ได้หวังแต่แรก
- ความดีที่ไม่มีศรัทธา แม้จะมากแค่ไหน ก็จะกลับไปหาอัลลอฮ์มือเปล่า
- ผู้ศรัทธาที่ทำความดีตามที่พวกเขาศรัทธา อัลลอฮ์จะปรับปรุงทุกเรื่องให้เเป็นเรื่องที่ดีหมดเลย
- กำชับในเรื่องของการศรัทธาต่อท่านนบีมุหัมมัด เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พวกมุชริกีนต่อต้านเป็นเรื่องหลัก
- การศรัทธาจะใช้ไม่ได้ถ้าหากไม่มีการศรัทธาต่อมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- ผู้ศรัทธา ข้างนอกอาจจะดูลำบาก แต่หัวใจจะสงบ เพราะอัลลอฮ์เป็นผู้ดูแลภายในพวกเขา
- ยิ่งเราออกห่างจากอัลลอฮ์ ยิ่งเราจะอยู่ไม่เป็นสุข 
- นิอฺมัตหัวใจที่สงบ เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานให้ผู้ศรัทธาเท่านั้น


ตอนที่ 2
- เมื่อมีสงครามเกิดขึ้น มุสลิมไม่สามารถจะเลี่ยงมันได้ ก็ต้องต้องสู้อย่างถึงที่สุด
- ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศัตรูที่เป็นกาฟิรคู่อาฆาตในศึกสงคราม ไม่ใช่กาฟิรที่มีพันธะสัญญาระหว่างกัน
- เมื่ออยู่ในสมรภูมิสงครามก็ให้รีบจัดการศัตรูให้จบชีวิต โดยห้ามไม่ให้มีการทรมานเชลยก่อนที่จะปลิดชีวิตพวกเขา
- อิสลามไม่ได้มีเป้าหมายในการสงครามเพื่อหวังที่จะจับเชลยเพื่อเอามาทำทาส สงครามในอิสลามมีเป้าหมายเพื่อการปราบปราม
- การจัดการเชลยในอิสลาม สามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการปล่อยแบบไม่มีค่าไถ่ หรือปล่อยแบบมีการแลกเปลี่ยนกับอะไรบางอย่าง
- ส่งเสริมให้มีการปล่อยเชลยแบบไม่มีการแลกเปลี่ยนดีกว่า ดูเผินๆ เหมือนไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่หิกมะฮ์เบ้ืองหลังนั้นมีมากกว่า
- มารยาทในการสงครามทำให้ศัตรูหันกลับมารับอิสลาม และเชิญชวนคนอื่นมาสู่อิสลามด้วย
- โองการอัลกุรอานที่พูดถึงสงครามมีความดุดันโดยธรรมชาติของสงคราม แต่วิธีปฏิบัตินั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป มีเงื่อนไขที่รัดกุมไม่ได้ปล่อยให้ทำตามใจง่ายๆ 
- ในอิสลามเชลยสงครามหลายคนที่หันกลับมารับอิสลาม
- ต้องรู้เรื่องราวสงครามในอิสลามเพื่อให้สามารถอธิบายได้ถูกต้อง
- เป้าหมายที่อัลลอฮ์บัญญัติสงครามเพื่อทดสอบผู้ศรัทธาเป็นกลุ่มแรก
- บททดสอบในการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์
- ผู้ที่เสียชีวิตในสมรภูมิญิฮาด อัลลอฮ์จะทรงเตรียมผลบุญของพวกเขาไว้อย่างเพียบพร้อมแล้ว
- ชาวสวรรค์จะรู้จักสถานที่ของตนในสวรรค์ดีกว่าที่พวกเขารู้จักบ้านของพวกเขาในดุนยาเสียอีก
- การรู้คุณค่าของการเป็นชุฮาดาอ์ทำให้บรรดาเศาะหาบะฮ์ใฝ่หาที่จะตายชะฮีด


ตอนที่ 3
- ภารกิจการชุกูร  ที่เป็นครึ่งหนึ่งของอีมาน ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องขอดุอาอ์ให้อัลลอฮ์ประทานเตาฟิกให้เราขอบคุณต่อพระองค์
- วิธีการนำเสนอในสูเราะฮ์มุหัมมัดแบบ อัล-มุกอบะละฮ์ คือการนำเสนอแบบหมัดต่อหมัด เสนอและตอบสนองในทันทีทันใด
- สาเหตุแห่งการได้รับชัยชนะตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ คือ เราต้องช่วยอัลลอฮ์ก่อน
- อะไรคือการช่วยอัลลอฮ์? คือการช่วยศาสนาของพระองค์ ด้วยการดำรงมั่นอยู่ในศาสนาของพระองค์
- ถ้าเราต้องการชัยชนะ เราต้องถามว่าเราต่อสู้เพื่อใคร? เราสู้เพื่ออัลลอฮ์หรือไม่? เราทำอะไรเพื่ออัลลอฮ์บ้างแล้วหรือยัง เพื่อให้ได้รับชัยชนะที่เราต้องการ
- เราช่วยศาสนาให้โดดเด่นตรงไหน ตรงกันข้ามเรากลับทำให้ศาสนาของพระองค์ตกต่ำ
- ในฝั่งของผู้ปฏิเสธศรัทธา อัลลอฮ์เตรียมความหายนะให้กับพวกเขาไว้แล้ว 
- ความดีที่ไม่มีความหมายในอาคิเราะฮ์ คือ ความดีของผุ้ปฏิเสธศรัทธา เพราะพวกเขาทำความดีเพื่อคนอื่น ไม่ได้ทำเพื่ออัลลอฮ์ จึงจะไปรับผลตอบแทนจากอัลลอฮ์ได้อย่างไร
- เรากลัวว่ามุสลิมเองก็มีบางคนที่เกลียดอิสลาม
- บทบัญญัติบางอย่างในอิสลามที่เรายังไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้เพราะอะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้เป็นเหตุให้เราต้องวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความรังเกียจมันออกมา เพราะนั่นคือสาเหตุแห่งการหลุดพ้นจากอิสลามได้
- สาเหตุที่ผู้คนรังเกียจอิสลาม อาจจะมาจากความไม่รู้ หรือ ความคลุมเครือและคลางแคลง
- อัลลอฮ์เรียกร้องให้พวกเขาเดินทางบนหน้าแผ่นดินเพื่อเรียนรู้และรับบทเรียนจากประชาชาติที่เคยถูกทำลายมาก่อน
- เดินทางแบบไหนให้อีมานเพิ่มขึ้น อย่าเป็นคนที่ยิ่งเดินทางยิ่งเพี้ยน และนำความเพี้ยนมาเผยแพร่ต่อกับคนอื่น 
- อัลลอฮ์จะคอยเป็นผู้ช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธา ในขณะที่ผู้ปฏิเสธจะไม่มีผู้ใดคอยให้ความช่วยเหลือ
- แม้ว่าจะแพ้ทางกายภาพ แต่ในมิติทางหัวใจจะต้องไม่แพ้ เพราะมีอัลลอฮ์อยู่ฝ่ายผู้ศรัทธาเสมอ


ตอนที่ 4
- อธิบายเรื่องความแตกต่างระหว่างผู้ศรัทธาและบรรดาคนที่ปฏิเสธแบบหมัดต่อหมัด
- ชีวิตผู้ศรัทธาเปรียบเทียบเหมือนกับอยู่ในคุก หมายถึงมีขอบเขตที่ต้องอยู่ในเกณฑ์
- คนไม่ศรัทธาใช้ชีวิตในดุนยาแบบไม่มีขอบเขต เหมือนมุอ์มินที่อยู่ในสวรรค์ก็ไม่มีขอบเขต
- คนที่ไม่มีอาคิเราะฮ์ใช้ชีวิตในดุนยาจนเกินขอบเขตจนกลายเป็นอบายมุขที่แพร่หลาย
- อายะฮ์นี้เป็นการตำหนิบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์
- อัลลอฮ์ยกอุทาหรณ์กับประชาชาติที่ถูกทำลายก่อนหน้ายุคมุชริกีน ที่มีอำนาจมากกว่าชาวมักกะฮ์ แต่สุดท้ายก็โดนทำลายจนหมดสิ้น
- อัลลอฮ์ทรงปรามบรรดามุชรีกีนที่เหิมเกริมกับท่านนบีและผู้ศรัทธา 
- ระหว่างคนที่เดินบนเส้นทางของอัลลอฮ์กับคนที่ทำชั่วย่อมมีความแตกต่างกัน
- คุณลักษณะของสวรรค์ที่มีแม่น้ำสี่ประเภทไหลผ่าน
- แม่น้ำจากน้ำใส
- แม่น้ำจากน้ำนม
- แม่น้ำจากเหล้า
- แม่น้ำจากน้ำผึ้ง
- แม่น้ำในสวรรค์จะมีลักษณะไหลตื้นบนพื้นสวรรค์
- มีผลไม้ในสวรรค์มากมายให้ชาวสวรรค์
- ชาวสวรรค์จะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮ์ หมายถึงการปกปิดไม่ให้เห็นข้อตำหนิของพวกเขา
- ในขณะที่ชาวนรก จะต้องกินน้ำร้อนที่ทำให้ลำไส้ของพวกเขาเปื่อยย่อย


ตอนที่ 5
- อายะฮ์ที่ 16 เริ่มต้นเล่าเรื่องราวของพวกมุนาฟิกูนในเมืองมะดีนะฮ์
- พฤติกรรมแบบมุนาฟิก เข้าไปนั่งฟังท่านนบีสอน ทำทีทำท่าว่าตั้งใจฟังท่าน แต่เมื่อออกไปลับหลังก็จะถามว่าเมื่อกี้ท่านนบีพูดอะไร เป็นการแสดงออกว่าก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ได้ตั้งใจเลย และไม่ได้ให้เกียรติท่านนบี
- หรืออาจจะเป็นการสร้างความคลางแคลงสงสัยด้วยการลดทอนความน่าเชื่อถือของท่านนบี ด้วยการออกมาพูดลับหลัง เพื่อสร้างความปั่นป่วน
- หรืออาจจะพูดเพื่อกลบเกลื่อนความเป็นนิฟากกลับกลอกของตัวเอง
- พฤติกรรมนี้เกี่ยวข้องกับหัวใจ ไม่ใช่แค่การฟัง แต่ต้องพิจารณาว่าฟังแล้วหัวใจเป็นอย่างไรบ้าง 
- พวกมุนาฟิกหัวใจถูกปิดตรึงและตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ หัวใจจึงไม่เข้าใจสิ่งที่อัลลอฮ์บอก
- เนื่องจากตามอารมณ์ใฝ่ต่ำแสดงว่าความตั้งใจแต่แรกไม่ได้มีจุดประสงค์ที่ดีอยู่แล้ว
- ต้องปรับเนียตให้ถูก โดยเฉพาะเวลาเรียนศาสนา
- สำหรับคนที่มีความประสงค์ที่ถูกต้อง อัลลอฮ์ก็จะประทานฮิดายะฮ์ให้ คือเพิ่มความรู้และเพิ่มความตักวาให้แก่เขา
- อัลลอฮ์จะเพิ่มความรู้และอะมัลศอลิห์ให้กับคนที่ตั้งใจดีในการรับฟังคำสอนของศาสนา
- เราจะกลับไปหาอัลลอฮ์ด้วยความรู้และอะมัลศอลิห์
- เมื่อชัดเจนแล้วว่าบรรดาผู้ปฏิเสธไม่เชื่อต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์ สุดท้ายบทสรุปก็คือพวกเขาไม่รออะไรอีกแล้วนอกจากความวินาศแห่งวันกิยามะฮ์ หรือรอแค่ความตายอย่างเดียวแล้วเท่านั้น
- อายะฮ์นี้กระตุ้นให้เราต้องเตรียมตัวพร้อมสำหรับความตาย
- ความตายมาโดยฉับพล้น อย่าอยู่เฉยแค่รอความตาย แต่ต้องหาความรู้และทำอะมัลศอลิห์
- เมื่อสัญญาณกิยามะฮ์และความตายมาถึง ก็จะไม่มีโอกาสกลับตัวอีกต่อไป 


ตอนที่ 6
- สูเราะฮ์นี้กำลังพูดถึงวิธีการรับมือกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับอิสลามทั้งจากภายนอกและภายใน
- ต้นเหตุของการปฏิเสธศรัทธาเกิดมาจากไม่รู้ข้อเท็จจริงของ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ 
- ในขณะที่เราต้องต่อสู้กับศัตรูทั้งภายในและภายนอก เราเองก็มีความจำเป็นต้องทบทวนแก่นแท้ของหลักความเชื่อเราเองด้วย มิฉะนั้นเราเองก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากพวกเขา
- ต้องรู้จักเนื้อหาที่จำเป็นของ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ไม่ใช่รู้แค่ความหมายเบื้องต้นอย่างเดียว
- ต้องรู้จัก ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ด้วยหัวใจ อะไรที่จำเป็นต้องรู้ ต้องแสวงหาให้รู้ด้วยหัวใจ
- เมื่อรู้แล้วต้องปฏิบัติตามเนื้อหาตามที่รู้ด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับเตาฮีด เป็นภารกิจฟัรฎูอัยน์ (ความจำเป็นส่วนตัว) ที่ต้องเรียนรู้ให้ชัดเจน
- ภาคปฏิบัติเรื่องเตาฮีดยังเป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้และพยายามทุ่มเทอีกมาก เพราะในประชาชาติมุสลิมยังคงมีเรื่องชิริกอยู่มากมาย
- วิธีการรู้จักอัลลอฮ์ ประการแรกเรียนรู้พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์
- ประการที่สอง รู้จักรุบูบียะฮ์ของอัลลอฮ์ คือ ทรงเป็นผู้สร้าง ทรงจัดการ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้
- ประการที่สาม รู้จักว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้นิอมัตกับเรา ทั้งที่เปิดเผยและมองไม่เห็น
- ประการที่สี่ รู้จักอัลลอฮ์ผ่านบทเรียนในอดีตของประชาชาติต่างๆ เช่น การที่อัลลอฮ์ให้ชัยชนะแก่ผู้ศรัทธาและการที่อัลลอฮ์ทรงทำลายผู้ปฏิเสธอย่างไร
- ประการที่ห้า การที่เรารู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปเคารพมีความบกพร่องอย่างไร
- ประการที่หก การที่เรารู้ว่าคัมภีร์ทุกเล่มที่ถูกประทานลงมาล้วนยืนยันใน ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์
- ประการที่เจ็ด คนที่มีสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุด ล้วนมีหลักความเชื่อใน ลาอิลลัลลอฮ์ เหมือนกันหมด
- ประการที่แปด เครื่องหมายแห่งความยิ่งใหญ่ที่ปรากฏอยู่บนการสรรค์สร้างของพระองค์ในจักรวาลนี้
- เครื่องหมายความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ปรากฏอยู่ในทุกสิ่งที่เราเห็น
- ต้องเรียนรู้ด้วยสติปัญญาบวกกับหัวใจ
- คำสั่งให้อิสติฆฟาร เป็นภาคปฏิบัติของการปฏิญาณตน ลาอิลาฮะอัลลัลลอฮ์ 
- ไม่ใช่แค่อิสติฆฟารให้กับตัวเอง แต่ยังต้องอิสติฆฟารให้กับคนอื่นด้วย


ตอนที่ 7
- ปรากฏการณ์การเยาะเย้ยล้อเลียนท่านนบีที่มีในยุคปัจจุบัน
- มุสลิมจะไม่เยาะเย้ยนบี ไม่ว่าจะเป็นนบีคนใดก็ตาม
- ปรากฏการณ์นี้ถูกระบุเอาไว้ในอัลกุรอาน และยังคงปรากฏให้เห็นตลอด
- แม้ว่าสูเราะฮ์นี้กำลังพูดถึงสงครามกับมุชริกีนมักกะฮ์แต่ก็มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพวกมุนาฟิกีนในมะดีนะฮ์ด้วย
- ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด เพิ่มเสริมด้วยการอิสติฆฟาร
- อิสติฆฟารให้กับตัวเองและคนอื่นๆ ด้วย
- ต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการช่วยเหลือให้คนที่ติดตามเราได้รับสิ่งดีๆ และพ้นจากความทุกข์ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม
- ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ เป็นอะกีดะฮ์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันก็มีอิสติฆฟารอยู่ใกล้ๆ เป็นการชี้ว่ามันสำคัญจึงไม่ควรดูแคลนการอิสติฆฟาร
- บรรดาเศาะหาบะฮ์ได้เปรยว่าน่าจะมีสูเราะฮ์หนึ่งลงมาอธิบายว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในสมรภูมิสงคราม
- สูเราะฮ์ดังกล่าวคือสูเราะฮ์มุหัมมัด ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากสงครามบะดัร ซึ่งเป็นสงครามแรกในอิสลาม
- เมื่อมีการประทานสูเราะฮ์มุหัมมัดลงมาที่พูดถึงการสงคราม พวกมุนาฟิกก็ไม่พอใจ จ้องมองไปที่ท่านนบีเหมือนพวกเขาจะหายนะและกำลังใกล้ตาย
- อัลลอฮ์ตอบโต้มุนาฟิกว่า เหมาะแล้วที่พวกเขาต้องเจอกับความหายนะ 
- พวกมุนาฟิกไม่อยากจะรับสูเราะฮ์นี้ ไม่ต้องการทำสงคราม ไม่อยากจะลำบาก กลัวว่าตัวเองจะตายและหายนะ 
- จริงๆ แล้ว ความหายนะย่อมต้องมาหาพวกที่ไม่ยอมออกไปทำสงครามนี่แหละ 
- การไม่ออกไปทำสงครามเป็นหายนะมากกว่า เพราะจะโดนศัตรูทำลายสิ้น
- สิ่งที่พวกมุนาฟิกควรจะทำ คือ การพูดด้วยดีกับท่านนบี ไม่ใช่การบ่นและแสดงอาการรังเกียจคำสั่งของอัลลอฮ์
- สุดท้ายพวกมุนาฟิกไม่ได้ออกไปร่วมสงครามกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม 
- การหันหลังของพวกมุนาฟิกเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวง คือการสร้างความหายนะในแผ่นดิน
- การที่มุนาฟิกไม่ออกไปช่วยท่านนบีในสงครามอุหุด แสดงว่ากำลังช่วยมุชริกีนทางอ้อม และเป็นการทรยศและตัดความสัมพันธ์ต่อญาติพี่น้องของตัวเองในเมืองมะดีนะฮ์
- คำสั่งให้ตะดับบุรอัลกุรอาน เพราะมันเป็นการเยียวยาหัวใจที่หนวกและบอด
- ไม่ใช่เฉพาะมุสลิมเท่านั้นที่ต้องตะดับบุร ยิ่งหัวใจมืดบอดยิ่งต้องตะดับบุร
- ตะดับบุรเป็นการเปิดหัวใจไม่ให้บอด ไม่ให้เป็นเหมือนมุนาฟิก
- ขอดุอาอ์อย่าให้หัวใจของเราถูกปิด เพราะไม่ได้ตะดับบุรอัลกุรอานของอัลลอฮ์


ตอนที่ 8
- ท่ามกลางโลกที่มองว่าอิสลามเป็นศาสนาแห่งความรุนแรง ในความเป็นจริงอิสลามมีทางนำที่จะแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยซ้ำ
- อิสลามคือศาสนาแห่งสันติภาพ การพูดถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสงครามในอิสลาม เป็นการเล่าความเป็นจริงว่าอิสลามจัดการกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไร
- การที่พวกมุนาฟิกไม่ช่วยในการทำสงครามอุหุด เหมือนกับว่าพวกเขากำลังทำลายบ้านเมืองตัวเองและตัดญาติขาดมิตรกับพี่น้องของพวกเขาในมะดีนะฮ์
- นิสัยแย่ๆ เหล่านี้ของพวกมุนาฟิกถ้าพวกเขาตั้งใจฟังคำสั่งของอัลลอฮ์ในอัลกุรอานก็จะไม่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้
- ถ้ามนุษย์เปิดใจตะดับบุรอัลกุรอาน พวกเขาจะได้รับฮิดายะฮ์ ปัญหาคือพวกเราไม่ยอดเปิดใจฟัง
- การตะดับบุรต้องอาศัยหัวใจ
- ท่านนบีสร้างคนด้วยอัลกุรอานที่ส่งต่อผ่านหัวใจ
- ความแตกต่างระหว่างการให้ด้วยหัวใจและการให้ด้วยวัตถุ
- คนที่อ่านอัลกุรอานแบบมุนาฟิกจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
- มุนาฟิกที่ฟังอัลกุรอานแล้วไม่ยอมรับ แสดงว่ามีชัยฏอนอยู่เบื้องหลังคอยยุยงอยู่
- ข้อสังเกตคือ คนที่อยู่ในสมัยแห่งการประทานอัลกุรอานยังถูกชัยฏอนหลอกได้ แล้วนับประสาอะไรกับคนในยุคที่ห่างไกลจากยุคแรกเริ่มที่วะห์ยูถูกประทานลงมา
- นิสัยของมุนาฟิกแต่ประการ เช่น เชื่อฟังชัยฏอน เชื่อฟังบรรดามุชริกีนและช่วยหาความลับให้
- อัลกุรอานกล่าวถึงมุนาฟิกอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่ามุนาฟิกีนจะเลวร้ายแค่ไหนแต่เราก็จะเห็นว่าท่านนบีไม่ได้ทำสงครามกับพวกเขาแต่อย่างใด
- นิสัยของมุนาฟิกทั้งหมดกลายเป็นเหตุแห่งการสูญเปล่าในทุกสิ่งที่พวกเขาทำ
- ข้อคิดจากเรื่องราวมุนาฟิก คือ ต้องไม่ชอบสิ่งที่ผิด แม้ว่าเราจะเลี่ยงมันไม่ได้ก็ตาม
- ระวังหัวใจของเราอย่าให้เหมือนมุนาฟิก 
- อัลลอฮ์จะทรงนำความลับอันสกปรกในหัวใจของพวกเขาออกมา


ตอนที่ 9
- ทุกอย่างในชีวิตต้องได้มาด้วยการต่อสู้ฝ่าฟัน
- เหนื่อยอย่างไร ไม่ไหวอย่างไร ก็ต้องรำลึกถึงอัลลอฮ์ ยืนหยัดในศาสนาของพระองค์
- การรำลึกถึงอัลลอฮ์คือการฟื้นฟูพลังเพื่อกลับไปต่อสู้ฝ่าฟันชีวิตในดีขึ้นต่อไป
- ขอบคุณที่เรายังไม่ลืมอัลลอฮ์ แม้ว่าจะยุ่งกับดุนยาแค่ไหนก็ตาม
- คำสั่งที่อัลลอฮ์ใช้ให้ผู้ศรัทธาออกไปญิฮาดมีเหตุผลอะไร? ทำไมที่ต้องญิฮาดด้วย? นี่อาจจะเป็นคำถามที่พวกมุนาฟิกตั้งข้อสงสัย คำตอบก็คือญิฮาดคือการทดสอบ
- อัลลอฮ์ทดสอบผู้ศรัทธาด้วยคำสั่งให้ทำ และคำสั่งห้าม แต่ละคำสั่งมีระดับการทดสอบที่เข้มข้มแตกต่างกัน
- บททดสอบเรื่องญิฮาด มีความเข้มข้นอีกระดับหนึ่งมากกว่าการทดสอบอื่นๆ
- ผู้ศรัทธาที่ผ่านบททดสอบหนึ่ง เขาก็ได้ยกระดับสูงขึ้นอีก เพื่อที่จะรับบททดสอบที่เข้มข้นขึ้นอีกขั้นหนึ่ง เพื่อยกระดับไปเรื่อยๆ
- ต้องขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์และสู้เพื่อให้ชนะบททดสอบทุกครั้งที่ต้องเจอ
- วิถีของผู้ศรัทธาต้องได้รับการทดสอบจากอัลลอฮ์ ด้วยวิธีการที่อัลลอฮ์ได้แนะนำให้เราสามารถรับชัยชนะได้
- ถ้ามุอ์มินไม่ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความจริง คนที่นำความเท็จก็ไม่เคยหยุดที่จะเผยแพร่ในฝั่งของตัวเอง
- ตราบใดที่ยังมีชีวิต ผู้ศรัทธาก็ต้องไม่ท้อแท้ในการต่อสู้เพื่อให้ผ่านบททดสอบของอัลลอฮ์
- แม้เวลาจะผ่านไปกี่ยุคสมัย บรรดาคนที่ก่อเรื่องเป็นปฏิปักษ์กับอิสลามก็ยังคงมีอยู่เรื่อยไป
- คนที่เป็นปฏิปักษ์กับอัลลอฮ์ไม่มีทางดับแสงสว่างของสัจธรรม ความดีที่พวกเขาทำในดุนยาจะไม่มีประโยชน์ต่อหน้าอัลลอฮ์ในอาคิเราะฮ์
- อัลลอฮ์สั่งไม่ให้ผู้ศรัทธาเป็นเหมือนกับบรรดาผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับอัลลอฮ์
- ผู้ศรัทธาต้องเชื่อฟังอัลลอฮ์ รอซูล และหลีกห่างสาเหตุที่ทำลายความดีของผู้ศรัทธา


ตอนที่ 10 
- บาปต่างๆ ที่ทำให้หลุดจากศาสนา คือ บาปชิริก
- บาปใหญ่ เมื่อตายจะอยู่ที่การชี้ขาดของอัลลอฮ์ 
- ต้องเป็นห่วงคนทำบาป ไม่ต้องไปชี้ขาดคนทำบาปแต่ให้เป็นห่วงเขา
- บาปเล็ก จะได้รับการอภัยโทษด้วยการทำความดีลบล้าง
- สรุปแล้ว บาปชิริกทำให้ตกศาสนาและตกนรกถาวร บาปใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินของอัลลอฮ์ บาปเล็กลบล้างได้ด้วยการทำความดีทดแทน
- อัลลอฮ์สั่งไม่ให้อ่อนแอในขณะที่กำลังมีชัยในสงครามหรือกำลังได้เปรียบในการต่อสู้อยู่
- อัลลอฮ์ให้กำลังใจผู้ที่ต่อสู้ในสงครามว่าพระองค์อยู่กับพวกเขา และเตรียมผลบุญไว้ให้กับพวกเขาอย่างมากมาย
- อย่าให้หัวใจพ่ายแพ้ เพราะถ้าใจสู้ศัตรูเยอะแค่ไหนก็ยังสู้ไหว
- ในกรณีที่หัวใจยังยึดติดกับดุนยาอยู่ พระองค์อัลลอฮ์ก็บอกว่าดุนยานั้นเป็นเรื่องละเล่นชั่วครู่เท่านั้น 
- ดุนยาเปรียบเหมือนเรื่องไร้สาระ แม้ว่าจะขวยขวายมากมายแค่ไหน สุดท้ายดุนยาก็สรุปได้แค่ว่าเป็นเหมือนของเล่นหรือเรื่องไร้สาระ
- ระหว่างชีวิตที่มีอาคิเราะฮ์กับชีวิตที่ไม่มีอาคิเราะฮ์ ผู้ศรัทธาต้องสอบถามตัวเองว่ามีความคิดแบบไหนเกี่ยวกับเรื่องนี้
- การเป็นผู้ศรัทธาและปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ จะทำให้เราหลุดพ้นจากสภาพไร้สาระแล้ว 
- อัลลอฮ์จะให้ผลบุญแก่เราและไม่ต้องการทรัพย์สินใดๆ ของเราเลย
- อิบาดะฮ์บางอย่างที่ดูผิวเผินว่าเป็นการเสีย เช่นการบริจาคและเศาะดะเกาะฮ์ แท้จริงแล้วคือการเก็บไว้ให้ตัวเองในวันอาคิเราะฮ์ เป็นการได้ไม่ใช่การเสีย
- ถ้าอัลลอฮ์บังคับให้ออกทรัพย์สินมากกว่าที่กำหนดซะกาต มนุษย์ย่อมที่จะตระหนี่ถี่เหนียวและแสดงอาการไม่พอใจออกมา
- ในขณะที่อัลลอฮ์เรียกร้องให้ใช้จ่ายทรัพย์สิน บางคนก็ขี้เหนียว การขี้เหนียวนั้นมีผลเสียต่อตัวเอง
- อัลลอฮ์เรียกร้องให้เราพิสูจน์ตัวเองในการทำงานเพื่ออัลลอฮ์ เพื่อเช็คว่าเราสำคัญในสายตาของพระองค์หรือไม่
- ผู้ศรัทธาต้องรู้เรียนรู้การพิสูจน์ตัวเองด้วยการเชื่อฟังอัลลอฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริจาคทรัพย์สิน ซึ่งต้องฝึกให้ใจคุ้นชินและทำได้ง่ายดายในยามที่อัลลอฮ์เรียกร้องเรื่องเหล่านี้
- สรุป สูเราะฮ์นี้คือสูเราะฮ์แห่งการต่อสู้ที่ต้องใช้แรงกายแรงทรัพย์และแรงใจอย่างมากมายที่ต้องทุ่มเท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น