พี่น้องผู้ร่วมละหมาดญุมุอะฮ์ที่อัลลอฮ์เมตตาทุกท่าน
เรามีโอกาสได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เราะห์มัต/ความเมตตาจากอัลลอฮ์
สุบหานะฮูวะตะอาลา ที่ครอบคลุมชีวิตในทุกๆ ด้าน เราะห์มัตจากอัลลอฮ์ในหลายๆ รูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นความเมตตาโดยตรงจากพระองค์ ผู้ทรงมีพระนามว่า
อัร-เราะห์มาน/ผู้ทรงเมตตา อัร-เราะฮีม/ผู้ทรงปรานียิ่ง หรือความเมตตาที่พระองค์ประทานอัลกุรอานลงมาเป็นเราะห์มัตกับพวกเรา
หรือความเมตตาจากอัลลอฮ์ที่พระองค์ทำให้เรามีเราะซูล/ศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่ ท่านนบี
มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้รับการกล่าวขานได้ชื่อว่าเป็น
เราะห์มะตัน ลิล อาละมีน ความเมตตาแห่งสากลโลก
เมื่อถึงเดือนเราะบีอุลเอาวัล
พี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่มักจะพูดถึงเมาลิดหรือการเกิดของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งอันที่จริงแล้วเดือนเราะบีอุลเอาวัลนี้ไม่ใช่เดือนที่มีเหตุการณ์การเกิดเพียงเหตุการณ์เดียวเท่านั้น
ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือชีวประวัติ/ซีเราะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเดือนนี้อีกด้วย
ท่านอิบนุ
กะษีร ได้อ้างถึงคำพูดของท่านอิบนุ อับบาส และท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
ทั้งสองได้กล่าวว่า
عن جابر وابن عباس أنهما قالا : ولد رسول الله صلى
الله عليه وسلم عام الفيل يوم الاثنين الثاني عشر من شهر ربيع الأول ، وفيه بعث
، وفيه عرج به إلى السماء ، وفيه هاجر ، وفيه مات .وهذا هو المشهور عند الجمهور ، والله
أعلم ." السيرة النبوية
" ( 1 / 199 ) .
ความว่า
จากอิบนุ อับบาส และญาบิร ได้กล่าวว่า ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือกำเนิดในปีช้าง
วันจันทร์ที่สิบสองของเดือนเราะบีอุลเอาวัล เดือนนี้เป็นวันที่ท่านถูกแต่งตั้งเป็นเราะซูล
เดือนที่ท่านขึ้นไปยังฟากฟ้า(เพื่อรับบัญญัติการละหมาด) เป็นเดือนที่ท่านอพยพ
และเป็นเดือนที่ท่านเสียชีวิต และนี่คือทัศนะที่รู้กันในหมู่นักวิชาการส่วนใหญ่
วัลลอฮุอะอฺลัม (ตัฟซีร อิบนุ กะษีร 1/199)
พี่น้องครับ
การได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์วันเกิด วันเสียชีวิต
วันแต่งตั้งเป็นเราะซูล หรือเหตุการณ์อื่นๆ ในชีวประวัติของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ของเรา ย่อมมีความสำคัญระดับหนึ่งที่มุสลิมทุกคนจะต้องรู้
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การที่เราจะต้องรู้ว่าก่อนที่ท่านนบีจะเสียชีวิตไปท่านได้สั่งเสียอะไรเอาไว้บ้าง?
ลองพิจารณาและเปรียบเทียบดู ถ้าสมมติว่ามีคนที่เรารักมากๆ คนหนึ่ง
อาจจะเป็นพ่อแม่เราหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีบุญคุณกับเรา ก่อนที่คนคนนั้นจะเสียชีวิต
เขาเรียกเรามา แล้วพูดกับเราว่า ถ้าฉันตายไปแล้วก็ขอให้เราทำสิ่งนั้นทำสิ่งนี้ เราจะมีความรู้สึกอย่างไร
เราจะปฏิบัติตามคำสั่งเสียของผู้มีพระคุณคนนั้นหรือเปล่า ลองเปรียบเทียบดู
เช่นเดียวกัน เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะเสียชีวิต มีรายงานจากอัล-อิรบาฎ
บิน สาริยะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮ์ ว่าท่านนบีได้ให้คำสั่งเสียเอาไว้อย่างเข้มข้นแก่ประชาชาติของท่าน
عَنْ العِرْبَاضِ بْنِ
سَارِيَةَ، قَالَ: "وَعَظَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ يَوْمًا بَعْدَ صَلَاةِ الغَدَاةِ مَوْعِظَةً بَلِيغَةً ذَرَفَتْ
مِنْهَا العُيُونُ وَوَجِلَتْ مِنْهَا القُلُوبُ، فَقَالَ رَجُلٌ: إِنَّ هَذِهِ
مَوْعِظَةُ مُوَدِّعٍ فَمَاذَا تَعْهَدُ إِلَيْنَا يَا رَسُولَ اللَّهِ؟ قَالَ: «أُوصِيكُمْ
بِتَقْوَى اللَّهِ وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، وَإِنْ عَبْدٌ حَبَشِيٌّ، فَإِنَّهُ
مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ يَرَى اخْتِلَافًا كَثِيرًا، وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ
الأُمُورِ فَإِنَّهَا ضَلَالَةٌ، فَمَنْ أَدْرَكَ ذَلِكَ مِنْكُمْ فَعَلَيْهِ
بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ المَهْدِيِّينَ، عَضُّوا
عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ» رواه أبو داود (4607)، والترمذي (2676)
وقال " هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ ".
ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ได้ให้โอวาทแก่พวกเราในเช้าวันหนึ่งหลังจากละหมาดศุบห์เสร็จแล้ว
เป็นการให้โอวาทที่เข้มข้นยิ่งนัก ผู้ฟังต่างก็หลั่งน้ำตาและหัวใจทั้งหลายต่างก็สะทกสะท้าน
จนมีคนผู้หนึ่งรำพึงออกมาว่า แท้จริง นี่เป็นโอวาทคำสั่งเสียของผู้ที่จะร่ำลาชีวิตนี้
ดังนั้นท่านต้องการฝากฝังสิ่งใดกับพวกเราโอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ์? ท่านนบีตอบว่า
“ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ จงเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำแม้ว่าเขาจะมาจากเชื้อสายทาสอบิสสิเนียผิวดำก็ตาม
เพราะแท้จริงแล้ว ใครก็ตามที่มีชีวิตหลังจากฉัน เขาจะได้เห็นการแตกแยกอย่างมากมาย
พวกท่านทั้งหลายจงระวังการทำอุตริกรรมในศาสนา เพราะมันคือความหลงทางหลงผิด ใครที่ทันได้เจอกับเหตุการณ์เหล่านั้นก็จงยึดมั่นกับสุนนะฮ์/แนวทางของฉัน
และแนวทางของบรรดาเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมที่ได้รับการชี้นำ
จงยึดมั่นให้แน่นเสมือนว่าได้กัดมันไว้ด้วยฟันกราม” (อบู ดาวูด 4607 อัต-ติรมิซีย์ 2676 ท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษ
หะสัน เศาะฮีห์)
แน่นอนว่า คำสั่งเสียของคนใกล้ตาย
ย่อมต้องกลั่นกรองมาจากประสบการณ์และมุมมองของท่านทั้งชีวิต
ให้ประชาชาติจดจำและยึดปฏิบัติอย่างมั่นคง
ท่านนบีเปรียบเทียบว่าให้ยึดมั่นเหมือนกัดไว้ด้วยฟันกราม
เพราะลำพังการกัดด้วยฟันหน้าอาจจะไม่แข็งแรงพอ ต้องกัดให้แน่นด้วยฟันกราม
สุบหานัลลอฮ์
พี่น้องครับ
สุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็คือวิถีชีวิตของท่าน
ทั้งหลักความเชื่อ อิบาดะฮ์ มารยาท ความสัมพันธ์ต่างๆ และอื่นๆ
เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม การศรัทธาของใครก็ตามถ้ายังไม่ยอมรับวิถีทางตามแบบอย่างสุนนะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็แสดงว่ายังไม่ใช่การศรัทธาที่แท้จริง
อัลลอฮ์ตรัสไว้ว่า
﴿ فَلا وَرَبِّكَ لا يُؤْمِنُونَ حَتَّى يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ
بَيْنَهُمْ ﴾ (النساء: 65)
ความว่า “ขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้า พวกเขาจะยังไม่ศรัทธา
จนกว่าพวกเขาจะใช้การตัดสินชี้ขาดของเจ้าในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน” (อัน-นิสาอ์
65)
สุนนะฮ์/แบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
คือทางรอดจากความสับสนอลหม่านท่ามกลางความขัดแย้งและอุตริกรรมต่างๆ
ที่เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นในสังคม
การปฏิบัติตามสุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
คือหลักฐานชี้ชัดว่าเรารักอัลลอฮ์ สุบหานะฮูวะตะอาลา
﴿قُلْ إِن كُنتُمْ
تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ
ذُنُوبَكُمْ ۗ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ﴾ (آل عمران: 31)
ความว่า “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) หากพวกเจ้ารักอัลลอฮ์
ก็จงปฏิบัติตามฉัน แล้วอัลลอฮ์ก็จะรักพวกเจ้า และอภัยโทษให้กับบาปพวกเจ้า อัลลอฮ์ทรงอภัยยิ่ง
ทรงเมตตายิ่ง” (อาล อิมรอน 31)
เพราะฉะนั้น ขอให้เราได้ตระหนักอยู่เสมอว่า ในชีวิตของเรา
สุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือมันฮัจญ์ คือแนวทางการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
คือเส้นทางที่เราจะใช้เป็นระบบและเป็นทางเดินกลับไปหาอัลลอฮ์ สุบหานะฮูวะตะอาลา
ให้จำเอาไว้ว่า อะไรก็ตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ได้สั่งใช้ให้เราทำ เราต้องพยายามให้มากที่สุดที่จะปฏิบัติตามให้ได้
มากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้ได้พยายามและตั้งใจจริงด้วยความอิคลาศที่จะปฏิบัติสุนนะฮ์ของท่าน
และอะไรก็ตามที่ท่านห้ามและเตือนไม่ให้เราทำ ก็จะต้องละทิ้งและหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุดโดยทันที
อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า
﴿وَمَا آتَاكُمُ
الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانتَهُوا ۚ وَاتَّقُوا اللَّهَ ۖ
إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ﴾ (الحسر:7) أي: مهما أمركم به فافعلوه، ومهما
نهاكم عنه فاجتنبوه، فإنه إنما يأمر بخير وإنما ينهى عن شر. [الطبري]
ความว่า “อะไรก็ตามที่เราะซูลได้นำมาให้พวกเจ้าทำก็จงตอบรับคำสั่งนั้น
และอะไรก็ตามที่เขาห้ามพวกเจ้าก็จงละทิ้งมันเสีย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ แท้จริง
อัลลอฮ์ทรงหนักหน่วงในการลงโทษ” (อัล-หัชร์ 7)
นี่คือวิถีของคนที่เป็นมุสลิมที่กล่าวอ้างว่าเป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
พี่น้องครับ
อันที่จริงแล้ว
เราจะเห็นว่าชีวิตของมุสลิมทุกกระเบียดนิ้วมีตัวอย่างจากท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยกันทั้งสิ้น ครั้งหนึ่งซัลมาน อัล-ฟาริสีย์
ได้เล่าว่า
عن سلمان
الفارسي: قالَ لنا المُشْرِكُونَ إنِّي أرَى صاحِبَكُمْ يُعَلِّمُكُمْ حتَّى
يُعَلِّمَكُمُ الخِراءَةَ، فقالَ: أجَلْ إنَّه نَهانا أنْ يَسْتَنْجِيَ أحَدُنا
بيَمِينِهِ، أوْ يَسْتَقْبِلَ القِبْلَةَ، ونَهَى عَنِ الرَّوْثِ والْعِظامِ
وقالَ: لا يَسْتَنْجِي أحَدُكُمْ بدُونِ ثَلاثَةِ أحْجارٍ. (رواه مسلم)
ความว่า พวกมุชริกีนได้พูดกับเราว่า
ฉันเห็นสหายของเจ้า(หมายถึงท่านนบี)สอนพวกเจ้าทุกอย่างเลยแม้กระทั่งการชำระเวลาขับถ่ายด้วย
ซัลมานจึงกล่าวตอบพวกเขาว่า ใช่ ท่านนบีห้ามไม่ให้พวกเราชำระการขับถ่ายด้วยมือขวา
หรือหันไปทางกิบละฮ์เวลาขับถ่าย ท่านห้ามไม่ให้เราใช้มูลสัตว์แห้งหรือกระดูกสัตว์ในการเช็ดถูชำระ
ท่านบอกว่า “พวกท่านแต่ละคนเวลาใช้หินเช็ดถูอย่าให้น้อยกว่าสามครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม)
ในอิสลามมีบัญญัติต่างๆ ที่มุสลิมสามารถปฏิบัติใช้ได้อย่างละเอียดแม้กระทั่งการเข้าออกห้องน้ำซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆ
น้อยๆ ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป นับประสาอะไรกับเรื่องอื่นๆ
ที่ใหญ่กว่าและสำคัญกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศรัทธา การทำอิบาดะฮ์
และมารยาทต่างๆ ก็มีอยู่อย่างพร้อมมูลในแบบอย่างที่เป็นสุนนะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
พี่น้องที่อัลลอฮ์รักและเมตตาทุกท่านครับ
นับเป็นความเมตตาอันยิ่งใหญ่จากอัลลอฮ์ สุบหานะฮูวะตะอาลา
ที่ให้เราเป็นอุมมะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างให้กับคนที่หวังจะได้รับผลบุญจากอัลลอฮ์และหวังจะมีชีวิตที่ดีในวันอาคิเราะฮ์
ดังที่อัลลอฮ์ สุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสว่า
{لَقَدْ كَانَ
لَكُمْ فِي رَسُولِ اللهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِمَنْ كَانَ يَرْجُو اللهَ وَاليَوْمَ
الآَخِرَ وَذَكَرَ اللهَ كَثِيرًا} [الأحزاب:21]
ความว่า “ขอสาบาน แท้จริงแล้ว
ในตัวท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์นั้นมีแบบอย่างที่ดียิ่ง สำหรับผู้ที่มีความหวังในอัลลอฮ์และวันปรโลก
และเขายังรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย” (อัล-อะห์ซาบ 21)
ดังนั้นเราจะเห็นบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พยายามอย่างมากที่จะศึกษาเรียนรู้สุนนะฮ์ของท่าน
พร้อมทั้งให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเท่าที่สามารถจะทำได้ มีตัวอย่างมากมายจากอดีตที่พูดถึงเรื่องเหล่านี้
ที่น่าสนใจมากตัวอย่างหนึ่งจากท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า
عن
جابر بن عبد الله رضي الله عنهما، قال: بلغني حديثٌ عن رجل سمعه من رسول الله صلى
الله عليه وسلم فاشتريتُ بعيرًا (جملاً)، ثم شَدَدْتُ عليه رَحْلي، فَسِرْتُ إليه
شهرا، حتَى قَدِمتُ عليه الشَّام فإذا عبد الله بن أُنيس، فقُلت للبوَّاب: قل له:
جابر على الباب، فقال: ابن عبد الله؟ قلت: نعم، فخرج يَطَأُ ثوبه فَاعْتَنَقَنِي،
وَاعْتَنَقْتُهُ، فقلت: حَدِيثًا بَلَغَنِي عَنْكَ أَنَّكَ سمعتَه من رسول الله
صلى الله عليه وسلم في القِصَاص، فخشيتُ أن تموت، أو أموت قبل أنْ أسْمَعَه، قال:
سمعتُ رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول: «يُحْشَرُ الناسُ يوم القيامة -أو قال:
العباد- عُراةً غُرْلًا بُهْمًا» (ليس معهم شيء) ... إلخ الحديث
ความว่า จากท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า
ฉันได้ยินว่ามีหะดีษหนึ่งจากเศาะหาบะฮ์คนหนึ่งของท่านเราะซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันจึงซื้ออูฐมาตัวหนึ่งแล้วเตรียมเสบียงไว้อย่างพร้อมสรรพ
จากนั้นออกเดินทางเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนจนกระทั่งถึงเมืองชาม
ปรากฏว่าชายคนนั้นที่ฉันตามหาคือ อับดุลลอฮ์ บิน อุนัยส์ เมื่อถึงประตูทางเข้าฉันก็บอกกับยามว่า
จงบอกเขาว่าญาบิรรออยู่ที่หน้าประตู เขาถามว่า (ญาบิร)บุตรของอับดุลลอฮ์หรือ? ฉันตอบว่าใช่
อับดุลลอฮ์ บิน อุนัยส์ จึงออกมาหาฉันในสภาพที่เร่งรีบจนเหยียบผ้านุ่งของตัวเอง
เขากอดฉันและฉันก็กอดเขา ฉันบอกกับเขาว่า ฉันได้ยินหะดีษหนึ่งจากท่านว่าท่านเคยได้ยินมาจากท่านเราะซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกิศอศ ฉันเลยกลัวว่าท่านหรือฉันจะตายก่อนที่ฉันจะได้รับฟังหะดีษนี้
ท่านอับดุลลอฮ์จึงเล่าหะดีษดังกล่าวให้ท่านญาบิรฟัง ต้นหะดีษมีว่า
“มนุษย์ทั้งหลายในวันกิยามะฮ์จะถูกต้อนชุมนุมในสภาพเปลือยเปล่ายังไม่ได้ขลิบเหมือนตอนแรกเกิดไม่มีสิ่งใดติดตัวไปเลย...”
จนจบหะดีษที่ยาวเหยียด (บันทึกโดยอะห์มัด เป็นหะดีษหะสัน)
https://hadeethenc.com/ar/browse/hadith/8319
สุบหานัลลอฮ์
แค่เพียงเพื่ออยากที่จะเรียนรู้แค่หะดีษเดียว แต่ยอมลงทุนซื้อพาหนะเพื่อใช้ในการเดินทางระยะเวลาเป็นเดือน
จนได้รับฟังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แค่บทเดียว มาชาอ์อัลลอฮ์
ในฐานะอุมมะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
เราได้พยายามมากแค่ไหนแล้วที่จะเรียนรู้และปฏิบัติตามสุนนะฮ์ของท่านให้ได้มากที่สุดและดีที่สุด
มีคำพูดของอุละมาอ์บางท่านที่กระตุ้นให้เราศึกษาและปฏิบัติตามสุนนะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เช่นท่าน ซุฟยาน อัษเษารีย์ ได้กล่าวว่า
قال
سفيان الثوري [ت 161هـ] رحمه الله : إن استطعت ألا تحكَ رأسك إلا بأثر فافعل.
ความว่า
ถ้าท่านทำได้เฉกเช่นว่า จะไม่เกาหัวนอกจากต้องมีแบบอย่างจากหลักฐาน ถ้าทำได้ถึงขนาดนั้นก็จงทำเสีย
เป็นการเปรียบเทียบว่า
ถ้าหากทุกๆ อย่างที่เราทำในชีวิตประจำวันสามารถอ้างอิงไปยังสุนนะฮ์ได้ก็ให้ทำเช่นนั้นเสีย
เพราะนี่คุณค่าที่แท้จริงและเป็นเครื่องหมายเราว่ารักท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จริงๆ เป็นความมุ่งมั่นที่มุสลิมทุกคนควรจะต้องมีว่าทุกกระเบียดนิ้วของเขาขอให้ดำเนินตามวิถีของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์ ยังได้กล่าวอีกว่า
ما بلغني عن رسول الله صلى الله عليه وسلم حديث قطّ إلا عملت
به ولو مرة. [تهذيب السير 696/2، حياة السلف 58 ]
ความว่า ไม่มีหะดีษใดที่ฉันได้ยินว่าเป็นของท่านเราะซูลุลลอฮ์
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เว้นแต่ฉันต้องปฏิบัติมันจริงๆ ให้ได้
ไม่ว่าอย่างน้อยแค่สักครั้งหนึ่งก็ตาม (ตะฮ์ซีบ
อัส-สิยัร 2/696, หะยาต
อัส-สะลัฟ 58)
ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้เราได้มาร่วมกันศึกษาสุนนะฮ์ของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ด้วยความตั้งใจที่อยากเอาแบบอย่างของท่านมาปฏิบัติใช้ในชีวิตของเรา
อัลหัมดุลิลลาฮ์
ปัจจุบันนี้มีตำราหะดีษมากมายที่เราสามารถใช้เป็นคู่มือในการศึกษาสุนนะฮ์ของท่าน เบื้องต้นอย่าง
40 หะดีษ หรือ ริยาฎ อัศ-ศอลิฮีน ของอิมามอัน-นะวะวีย์
ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้สุนนะฮ์แบบอย่างวิถีชีวิตของนบีผู้เป็นที่ของเรา
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อินชาอ์อัลลอฮ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น