วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุรสะลาต



อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุรสะลาต และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดสี่ตอน เป็นอีกหนึ่งสูเราะฮฺที่นำเสนอหลักความเชื่อเกี่ยวกับวันอาคิเราะฮฺ โดยยกอุทาหรณ์จากหลักฐานต่างๆ มากมายให้มนุษย์ได้สำนึกและหวนกลับมาทบทวนสิ่งที่พวกเขาต้องพบอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เป็นสูเราะฮฺสั้นๆ ที่เน้นประเด็นเรื่องการศรัทธาต่อโลกหน้าอย่างกระชับ รวมทั้งเรียกร้องให้ไตร่ตรองคำสอนของอัลกุรอานอย่างตรงไปตรงมา

รับฟังและดาวน์โหลดได้จากเว็บอิสลามเฮ้าส์ 

หรือฟังผ่านแอปพลิเคชั่น SoundCloud บนมือถือของคุณ
https://soundcloud.com/e-daiyah/sets/th_sufum_tafseer_surah_almursalat


สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 1
  • บทนำว่าด้วยสูเราะฮฺ อัล-มุรสะลาตที่อัลลอฮฺได้ใช้สำนวนการสาบานในการเริ่มต้นสูเราะฮฺ
  • อะไรคือการสาบานทั้งห้าประการที่อัลลอฮฺใช้สาบาน
  • ความเห็นหรือทัศนะที่ต่างกันในการอธิบายการสาบานทั้งห้า
  • หน้าที่ของอัลกุรอานที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในสูเราะฮฺ อัล-มุรสะลาต 
  • อัลกุรอานคือหลักฐานที่จะลบล้างข้ออ้างของมนุษย์ในวันอาคิเราะฮฺ
  • อัลกุรอานคือการเตือนสำทับให้มนุษย์ระวังตนในการใช้ชีวิต และหลีกห่างจากสาเหตุที่จะทำให้เขาถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ
  • อัลกุรอานเตือนมนุษย์เพราะอะไร ? เพราะเกลียดหรือเพราะรัก (นาที 33 เป็นต้นไป)
  • อัลลอฮฺได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันสิ้นโลก หลังจาก
  • ปัญหาเรื่องความเห็นต่างและความไม่ลงรอยกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องสนุก แต่เป็นเรื่องที่ควรเลี่ยง (นาที 42.30)
  • ทุกปัญหาความขัดแย้ง อัลลอฮฺจะทรงพิพากษาอย่างยุติธรรมแม้กระทั่งสัตว์เองก็ตาม 
  • ดุอาอ์อิสติฟตาห์เพื่อใช้ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้ง 

ตอนที่ 2
  • ไม่มีบทบัญญัติในอิสลามเกี่ยวกับการต้อนรับปีใหม่ แต่มุสลิมสามารถใช้ปีใหม่เพื่อเป็นบทเรียนในการวางแผนต่างๆ ได้
  • มุสลิมได้รับบทเรียนจากบทบัญญัติต่างๆ ในศาสนาเพื่อเอามาใช้บริหารจัดการชีวิตในโลกดุนยาได้
  • ความแตกต่างระหว่างคนผู้โกหกเอง(กัซซาบ) กับคนที่อ้างว่าคนอื่นผู้โกหก(มุกัซซิบ)
  • พวกมุชริกีนคือพวกที่กล่าวหาว่าท่านนบีผู้โกหก
  • อัลลอฮฺยกอุทาหรณ์เกี่ยวกับชนที่ถูกทำลายก่อนหน้านี้ เพื่อให้พวกเขาสำนึกจากพฤติกรรมชั่วร้ายที่ปฏิบัติต่อท่านนบีและไม่ศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ
  • หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้สะกิดให้มนุษย์ระลึกถึงการกำเนิดของตัวเอง ถ้าหากเขายังดื้อด้านที่จะปฏิเสธวันอาคิเราะฮฺ
  • พระองค์ยังเรียกร้องให้มนุษย์ที่ปฏิเสธวันอาคิเราะฮฺได้คิดและมองดูความมหัศจรรย์ต่างๆ รอบตัว เพราะจะทำให้เกิดการยอมรับในความสามารถของพระองค์ได้
ตอนที่ 3
  • ทบทวนการใช้ชีวิตแบบมีความตระหนักและมีสติ
  • วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมีเหตุผลของมัน แม้ว่าเราจะมองว่ามันเลวร้ายแต่ก็ย่อมมีเรื่องดีๆ แฝงอยู่ เพียงแต่เราอาจจะไม่รู้
  • เรื่องไม่ดีในทัศนะของเรา แต่มันมีสิ่งดีในมุมมองของอัลลอฮฺ เพียงแต่เรามองไม่เห็นเพราะไม่ผ่านบททดสอบของพระองค์
  • ชีวิตคนที่มีอัลลอฮฺ จะมองวิกฤตมีแต่สิ่งดีๆ ให้เราเสมอ หนำซ้ำเรื่องดีๆ เรายังกลับมองว่าเป็นสิ่งไม่ไดีอยู่เลย
  • แนะนำหนังสือเชค สะอฺดีย์ 21 วิธีทำชีวิตให้มีความสุข (นาที 12.45)
  • เพิ่มความรู้เกี่ยวกับอิสลามด้วยการโดดออกจากโหลแก้วไปสู่สระ หรือจะให้ดีก็ออกไปว่ายในมหาสมุทร
  • กลุ่มอายะฮฺที่กล่าวถึงการตอบแทนบรรดาผู้ปฏิเสธวันอาคิเราะฮฺ
  • การลงโทษในนรกที่เจ็บปวดใต้กลุ่มควันของไฟนรก
  • เปลวไฟในนรถใหญ่โตเสมือนอาคารสูงหลายชั้น
  • เปรียบลักษณะของไฟนรกเหมือนอูฐ 
  • ชาวนรกจะไม่ได้รับอนุญาตให้พูดใดๆ และไม่สามารถจะกล่าวอ้างใดๆ ได้อีก
  • ไม่มีข้ออ้างในวันอาคิเราะฮฺ ถ้าจะอ้างให้อ้างในดุนยาและรีบจัดการข้ออ้างให้จบก่อนตาย
  • วันอาคิเราะฮฺคือวันแห่งการจำแนกระหว่างบ่าวที่เลือกทางถูกหรือเลือกทางผิด
  • ในดุนยาเราไม่อาจจะคาดคั้นว่าใครถูกผิด คำตอบที่สุดของที่สุดจะมีในวันอาคิเราะฮฺวันเดียวเท่านั้น
  • อย่าให้ตัวเราข้ามไปสู่ฝั่งการลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ เพราะเมื่ออัลลอฮฺลงโทษก็จะลงโทษจริงๆ ไม่มีการผ่อนปรนอีกต่อไป
  • ทุกคนต่างต้องรับผิดชอบตัวเองต่อหน้าอัลลอฮฺ เรามีความสามารถแค่บอกให้รู้เท่านั้น ท้ายที่สุดแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบต่อตัวเอง

ตอนที่ 4
  • ภาพสะท้อนอันงดงามที่เกิดจากวิกฤตในบางครั้ง
  • ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ แต่จะจัดการอย่างไรไม่เราอยู่กับที่เพราะมัน
  • อย่าฉุดรั้งอุมมะฮฺให้นิ่งหยุด และหยุดการพัฒนาในระดับมหภาค เพราะความขัดแย้งของพวกเรา
  • สิ่งที่ต้องทบทวนเร่งด่วนที่สุด คือ ตักวาในตัวเราเอง คอมเม้นท์ตัวเองก่อนที่จะคอมเม้นท์คนอื่น
  • ทุกคนตรวจสอบตักวาของตัวเอง นั่นแหละคือพลัง 
  • กล่าวถึงผลตอบแทนของชาวสวรรค์ที่อัลลอฮฺเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ตักวา
  • นิอฺมัตในสวรรค์หลากหลายทุกประสาทสัมผัส ทั้งการลิ้มลอง การมองเห็น การได้ยิน 
  • ผู้ที่ได้รับการลงโทษในนรกจะถูกประชดประชัดให้กินดื่มอาหารและเครื่องดื่มในโลกดุนยา เพราะพวกเขาจะไม่ได้กินดื่มอย่างมีความสุขในวันอาคิเราะฮฺอีก
  • เตือนสติให้อดทนและระงับใจ ไม่หลงตามกระแสการบริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นนิสัยที่ค้านกับคุณลักษณะของผู้ที่จะได้เข้าสวรรค์
  • อดทนกับสิ่งล่อลวงของชัยฏอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งล่อลวงขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม
  • หนึ่งในลักษณะของผู้ที่ต้องรับโทษในนรกคือผู้ที่ไม่ละหมาด
  • สุดท้ายอัลลอฮฺตั้งคำถามกับผู้ปฏิเสธศรัทธากับอัลกุรอานว่า ถ้าพวกเขาไม่ยอมศรัทธาต่ออัลกุรอาน ยังมีหนังสือเล่มอื่นที่ดีกว่าอัลกุรอานอีกหรือ
  • ถ้าอัลกุรอานยังไม่สามารถทำให้พวกเขาศรัทธาได้ นึกหรือว่าจะมีอย่างอื่นทำให้พวกศรัทธาได้
  • สิ่งที่เรากลัว คือการที่เขาไม่ยอมฟังอัลกุรอานต่างหาก ถ้าเขาฟังอัลกุรอานอย่างจริงใจหัวใจย่อมต้องเปิดรับศรัทธาแน่นอน
  • ทำอย่างไรดี เพื่อลดพฤติกรรมชาวนรกและเพิ่มคุณลักษณะแห่งชาวสรรค์ในตัวเองให้คุกรุ่นอยู่เสมอ
  • เมื่อไรก็ตามที่หัวใจอ่อนแอที่จะครองตนเป็นชาวสวรรค์ ให้รีบกลับไปหาอัลกุรอานเพื่อเพิ่มพลังอีมานให้กลับคืนมาอีกครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น