วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา ตัฟซีร สูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ


อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 6 ตอน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นอัล-วะลาอ์ วัล-บะรออ์ หรือความรักและความเกลียด การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับศัตรูที่คอยทำร้ายอิสลาม รวมถึงขอบเขตที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ปฏิสัมพันธ์ ตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้เป็นบทบัญญัติซึ่งสามารถรักษาแก่นรากอันแข็งแกร่งแต่ก็มีความยืดหยุ่นผ่อนปรนอย่างสมดุล

รับฟังทาง SoundCloud ที่นี่

ติดตามและดาวน์โหลดอีกช่องทางผ่านเว็บ IslamHouse



ตอนที่ 1 

- ชื่อสูเราะฮฺและที่มาที่ไปของสูเราะฮฺนี้ 
- สูเราะฮฺที่มีความเกี่ยวข้องกับการอพยพหรือการฮิจญ์เราะฮฺ 
- เนื้อหาสูเราะฮฺจะเน้นไปทางประเด็นอัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เหมือนกับสูเราะฮฺอื่นๆ ในญุซที่ 28
- เรื่องวะลาอ์และบะรออ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน ไม่ผลีผลาม 
- การเรียนหลักการต่างๆ เวลาไปใช้จริงต้องดูบริบทแวดล้อมประกอบในการกำหนดจุดยืนแต่ละกรณีอีกต่างหากด้วย
- ความสัมพันธ์ระหว่างสูเราะฮฺต่างๆ ในญุซที่ 28 เช่น สูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ กับ สูเราะฮฺ อัศ-ศ็อฟ และ สูเราะฮฺ อัล-ญุมุอะฮฺ
- อัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว จะเห็นได้จากเนื้อหาที่แตะเรื่องครอบครัวเกือบทุกสูเราะฮฺในญุซนี้ (นาที 22.00+)
- การเข้าใจอัลกุรอานแบบภาพรวมและผูกโยงความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางที่จำเป็นสำหรับการศึกษาคัมภีร์ของอัลลอฮฺ
- อายะฮฺแรกเป็นคำสั่งห้ามมิให้เอาศัตรูมาเป็นคนใกล้ชิด ศัตรูในที่นี้หมายถึงผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามอย่างแม่นมั่น
- เป็นไปไม่ได้แม้กระทั่งในทางตรรกะและปัญญาที่เราจะทำดีกับคนที่ต้องการทำลายอิสลาม บัญญัติห้ามข้อนี้จึงสอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างที่สุดแล้ว
- อัลลอฮฺยกตัวอย่างสาเหตุที่มุสลิมจะต้องไม่วะลาอ์ต่อบรรดาศัตรูของตน
- การรู้สาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้ จะทำให้เราเข้าใจประเด็นนี้ได้ดียิ่งขึ้น
- เรื่องราวของหาฏิบ บิน อบี บัลตะอะฮฺ หนึ่งในเศาะหาบะฮฺที่เข้าร่วมสงครามบะดัร คือต้นตอของการประทานอายะฮฺในต้นสูเราะฮฺนี้ 
- ความผิดพลาดที่ดูหนักหนาเข้าขั้นพฤติกรรมมุนาฟิกของหาฏิบ บิน อบี บัลตะอะฮฺ ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าท่านเป็นมุนาฟิกจริงๆ 
- เรื่องราวของหาฏิบเป็นบทเรียนที่เราจะต้องเอามาสำรวจตัวเอง เวลาที่เราผลีผลามไปตัดสินคนอื่น

ตอนที่ 2 
- ประเด็นอัล-วะลาอ์ วัลบะรออ์ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจที่ละเอียดอ่อนไม่รีบร้อน
- เท้าความเรื่องราวของหาฏิบ จากสาเหตุของการประทานอายะฮฺในตอนต้นสูเราะฮฺ
- ข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกิดขึ้นกับคนดี ไม่ได้หมายถึงว่ามันถึงขั้นทำลายตัวตนของเขา
- ต้องระวังศัตรูของอิสลาม ถึงแม้ว่าบางครั้งเราจำเป็นต้องร่วมมือกับเขาในบางเรื่อง
- อัลลอฮฺยกสาเหตุหลักๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาจะต้องไม่วะลาอ์ต่อศัตรู
- สำหรับผู้ศรัทธา อีมานมีค่าต่อตัวเขามากกว่าชีวิต ศัตรูของอิสลามจึงพยายามที่จะทำลายศรัทธาของพวกเขา
- คนที่ศรัทธาถ้าไม่ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจะมีชีวิตอยู่ทำไม
- การฆ่าให้ตายอาจจะดูโหดร้ายทารุณในสายตาของชาวโลก แต่การฆ่าให้ตายทั้งเป็นไม่มีใครสนใจ 
- เยาวชนมุสลิมกำลังถูกฆ่าทางอะกีดะฮฺ ถูกฆ่าทางอุดมการณ์ทางศาสนา
- อัลลอฮฺเรียกจิตสำนึกคนที่หวังผลในโลกดุนยาจากบรรดาศัตรู ให้สำนึกถึงวันอาคิเราะฮฺพวกเขาจะเป็นอย่างไร
- บางคนอาจจะยอมแลกสิ่งมีค่าในชีวิตกับความสบายของครอบครัว แต่ไม่ใช่สามารถให้ครอบครัวอยู่เหนืออะกีดะฮฺได้
- ข้อเท็จจริงที่สำคัญซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ เราจะถูกแยกออกจากคนที่รักในวันอาคิเราะฮฺอย่างแน่นอน
- ในดุนยาเราช่วยเหลือครอบครัวของเรา แต่ทำให้อัลลอฮฺโกรธเรา ถามว่าครอบครัวของเราจะมาช่วยเราในวันอาคิเราะฮฺไหม
- วิธีเดียวที่จะทำให้เราสามารถได้อยู่กับคนที่เรารักในวันอาคิเราะฮฺคือต่างฝ่ายต่างก็ต้องเป็นผู้ศรัทธา

ตอนที่ 3
- บอกเล่าเรื่องราวการไปเยี่ยมพี่น้องมุสลิมอีสาน
- ความรักความเกลียดเป็นสิ่งที่อยู่เป็นปกติในตัวมนุษย์ สำคัญที่ว่าจะรักอะไรให้ถูก จะเกลียดอะไรให้ถูก
- บทบัญญัติของอัลลอฮฺบางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจมนุษย์ นั่นไม่ใช่ประเด็น ให้เรียนรู้ทำความเข้าใจให้ดีก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์
- การเรียนรู้บทบัญญัติ กับการปฏิบัติใช้บทบัญญัติ มีปัจจัยที่เป็นบริบทแวดล้อมเกี่ยวข้องอีกหลายประการที่จำเป็นต้องคำนึงถึง
- เวลาที่ใจเรารู้สึกค้านกับบทบัญญัติต่างๆ ให้กลับไปดูมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ หลักฐานอื่นๆ ที่เชื่อมโยง การนำไปใช้ สาเหตุการประทาน ฯลฯ
- เรื่องราวของนบีอิบรอฮีมที่อัลลอฮฺยกเป็นตัวอย่างในประเด็นบะรออ์
- แยกประเด็นให้เข้าใจชัดเจน เช่น การบะรออ์ในด้านอะกีดะฮฺ ไม่ได้หมายถึงว่าต้องบะรออ์ในด้านอื่นๆ ถ้าหากไม่ได้ขัดกับประเด็นอะกีดะฮฺ
- บทบัญญัติของอิสลามมีหลักรากฐานที่หนักแน่นมั่นคงไม่สั่นคลอน แต่มีความยืดหยุ่นในสาขาปลีกย่อยที่จะไม่ทำลายรากฐานอันหนักแน่นมั่นคงของอิสลาม
- อันไหนที่ต้องตึงก็ต้องตึง อะไรที่ต้องหย่อนเราก็ต้องหย่อน
- อัลลอฮฺใช้ให้เอาตัวอย่างของอิบรอฮีมมาใช้ ยกเว้นในข้อที่อิบรอฮีมบอกว่าจะขออภัยโทษให้กับพ่อของตัวเองที่เป็นกาฟิร
- ดุอาอ์ที่อัลลอฮฺสอนเราเวลาที่เราประกาศบะรออ์กับศัตรูของอิสลาม เพื่อเป็นการดูแลหัวใจให้เข้มแข็งและอดทนฝ่าฟันต่อแรงกระเพื่อมที่จะเกิดขึ้น

ตอนที่ 4
- ความรักและความเกลียด บนมาตรฐานบทบัญญัติของอัลลอฮฺ ถือเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับความศรัทธาอย่างแนบแน่น
- ทั้งความรักและความเกลียด อาจจะนำไปสู่การกุฟรได้ด้วย
- แนะนำหนังสือของอิบนุลก็อยยิม ที่พูดถึงความรักซึ่งอาจจะเป็นโรคทางใจประการหนึ่ง
- เรากำลังเรียนเรื่องรักและเรื่องเกลียด ซึ่งเกี่ยวโยงทั้งด้านอะกีดะฮฺและบทบัญญัติไปพร้อมกัน
- ทบทวนย้อนหลังเรื่องราวของอิบรอฮีมกับพ่อของท่าน
- เปรียบเทียบสภาพในสมัยอดีต กับตัวอย่างต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ว่าด้วยเรื่องการตัดสัมพันธ์กับคนที่มีอะกีดะฮฺต่างกัน
- อัลลอฮฺได้กำหนดบทบัญญัติให้เกิดความผ่อนคลายแก่ผู้ศรัทธา ด้วยการอนุญาตให้ทำดีกับญาติที่ไม่ใช่มุสลิมได้
- ความรักที่แท้จริงคือการที่คนทั้งสองฝ่ายได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ดังนั้น ผู้ที่เป็นมุสลิมจึงควรต้องหวังให้ญาติที่ไม่ใช่มุสลิมได้ศรัทธาเหมือนเขาด้วย
- รักใครเกลียดใคร อย่ารักหรือเกลียดแบบสุดโต่ง (นาที27.30   -30.30)
- การเปลี่ยนความรักให้เป็นความเกลียด หรือเปลี่ยนความเกลียดให้เป็นความรัก เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสามารถให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
- เรื่องราวของอัสมาอ์ บินตุ อบีบักร์ กับแม่ของนาง ที่เป็นสาเหตุแห่งการประทานอายะฮฺซึ่งระบุบทบัญญัติอนุญาตให้ทำดีต่อญาติที่ไม่ใช่มุสลิม
- คำอธิบายของอัฏ-เฏาะบะรีย์ เกี่ยวกับอายะฮฺที่อนุญาตให้ทำดีต่อญาติที่ไม่ใช่มุสลิม
- คำสั่งห้ามไม่ให้ทำดีนั้น เป็นคำสั่งเฉพาะกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่เป็นศัตรูและทำร้ายเรา และเฉพาะพฤติกรรมกล่าวคือห้ามในเรื่องของการรักและช่วยเหลือเป็นฝ่ายเดียวกัน
- นอกจากกลุ่มและพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ก็นับว่าการทำดีกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องรู้สึกลำบากใจแต่ประการใด
- ต้องพยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและแยกแยะให้ได้ระหว่าง ประเด็นที่เราต้องตัดขาดและสิ่งที่เราสามารถทำดีต่อคนที่เราตัดขาดเขาด้วย
- โดยพื้นฐาน เราต้องไม่เหยาะแหยะในประเด็นที่ต้องเข้มงวด และต้องไม่แตกหักในประเด็นที่ผ่อนปรนได้ อย่าให้การปฏิบัติของเราสวนทางกับข้อนี้

ตอนที่ 5
- โองการที่เป็นสาเหตุแห่งการชื่อสูเราะฮฺอัล-มุมตะหะนะฮฺ
- บทบัญญัติอิสลามว่าด้วยการทดสอบผู้หญิงที่อพยพมาหาท่านนบีที่มะดีนะฮฺ
- หุก่มที่เป็นทางออกสำหรับสามีภรรยาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับอิสลาม
- เรื่องราวจากสนธิสัญญาหุดัยบิยะฮฺที่กำหนดว่าต้องคืนคนที่หลบหนีจากมักกะฮฺกลับไปยังพวกกุร็อยช์
- สาเหตุของการประทานอายะฮฺนี้ จากการอธิบายของนักตัฟซีร
- เหตุผลที่ต้องมีการทดสอบผู้หญิงที่อพยพมาก่อนจะอนุญาตให้อยู่กับชาวมุสลิม
- ทำไมห้ามส่งผู้หญิงกลับไปยังพวกกุร็อยช์?
- ประเด็นเรื่องความรักระหว่างชายหญิงต่างศาสนา
- ความรักระหว่างมุสลิมเป็นความรักอมตะ
- บทบัญญัติว่าด้วยการคืนค่าสินสอดแก่สามีเดิมที่เป็นกาฟิร และการแต่งงานกับหญิงที่อพยพมา
- บทบัญญัติของอัลลอฮฺดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเสมอ ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบอย่างแน่นอน
- ถ้าหากฝ่ายกาฟิรไม่ยอมคืนค่าสินสอดแก่ชาวมุสลิม ก็ให้เอาค่าสินสอดนั้นคืนจากทรัพย์เชลยมาทดแทน
- คำสั่งตักวาปิดท้ายบทบัญญัติทางฟิกฮฺในประเด็นที่ละเอียดอ่อน 
- ตักวาในอายะฮฺนี้เป็นการกำชับให้มุสลิมรักษาสัญญา แม้กระทั่งกับคนที่ไม่รักษาสัญญา
- มุสลิมจะต้องไม่ซอลิม/อยุติธรรม เพราะความอธรรมจะเป็นความมืดมิดในวันอาคิเราะฮฺ

ตอนที่ 6 
- ข้อคิดว่าด้วยปีใหม่และวันใหม่
- สุนนะฮฺของท่านนบีในแต่ละวันได้ตอบโจทย์ชีวิตของเราอย่างสวยงามอยู่แล้ว
- ของเล็กๆ ที่ต้องทำทุกวัน บางครั้งรู้สึกหนักมากกว่าของใหญ่ที่ทำแค่ครั้งเดียว
- การอิสติกอมะฮฺเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ผลบุญของมันก็ยิ่งใหญ่เช่นกัน
- ปัญหาการอิสติกอมะฮฺเป็นปัญหาใหญ่ของเรา จึงจำเป็นต้องมีการตักเตือนหรือสะกิดเตือนตลอดเวลา
- ต้องมีเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดการอิสติกอมะฮฺ ต้องร่วมมือระหว่างกัน
- เป็นเรื่องน่ากลัวมากที่คนเราจะทำดีแค่ครั้งเดียว หรือแป๊บเดียว
- เมื่อไรหัวใจตายจงปลุกมันขึ้นมาอีกครั้งด้วยอะมัลฟัรฎู และเมื่อมันมีชีวิตจงดัดมันด้วยอะมัลสุนัต
- อายะฮฺที่อธิบายถึงบทบัญญัติการให้สัตยาบันของผู้หญิงที่ศรัทธากับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
- มุบายะฮฺ หรือ บัยอะฮฺ มีรากศัพท์เดียวกันมาจากคำว่า บัยอฺ ที่หมายถึงการแลกเปลี่ยน
- ประเภทต่างๆ ของการบัยอะฮฺ
- เนื้อหาต่างๆ ในการให้สัญญา ที่เริ่มประการแรกด้วยการไม่ชิริกต่ออัลลอฮฺ
- เกร็ดบางอย่างจากเนื้อหาต่างๆ ในการบัยอะฮฺต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม 
- เนื้อหาในการบัยอะฮฺอาจจะแตกต่างกัน ตามแต่ละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- คำสั่งให้ท่านนบีขออภัยโทษต่ออุมมะฮฺของท่าน 
- อายะฮฺแรกและอายะฮฺสุดท้ายในสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ มีนัยอันเดียวกัน 
- ถ้ามุสลิมต้องการจะไปอาคิเราะฮฺ ก็จงอย่าพึ่งคนที่ไม่ต้องการจะไปอาคิเราะฮฺ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

- สงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่พิจารณาว่าไม่เหมาะควร -

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น